ประวัติ “วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ” วันที่ 1 กรกฏาคม ของทุกปี
เปิดประวัติ วันลูกเสือ วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 สถาปนาวันลูกเสือไทยโดย รัชกาลที่ 6 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2454 ประวัติศาสตร์กว่า 100 ปี ของวันลูกเสือแห่งชาติ
ทำความรู้จัก ประวัติ วันลูกเสือ วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ ณ วันที่ 1 กรกฎาคม ของทุกปี ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงโปรดแต่งตั้งให้ ที่มีกิจกรรมมากมายในวันลูกเสือ ทั้งการเดินสวนสนามที่ สนามศุภชลาศัย สนามกีฬาแห่งชาติ และอื่น ๆ
เนื่องด้วยโอกาสนี้ Thaiger จึงขออนุญาตนำพาทุกท่านไปอ่านประวัติความเป็นมาของวันลูกเสือแห่งชาติ วันที่ 1 ก.ค. ของทุกปี และเหตุการณ์ที่นำพามาสู่การสถาปนาครับ เช็กข้อมูลประวัติได้ข้างล่างนี้เลย
รู้จักประวัติ “วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ” 1 ก.ค. ก่อตั้ง 2454
จุดเริ่มต้นของกิจการลูกเสือนั้นเกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ โดยลอร์ด เบเดน เพาเวลล์ หรือโรเบิร์ต สติเฟนสัน สไมธ์ เบเดน เพาเวลล์ หรือชื่อย่อสั้น ๆ คือ บี.พี. ที่ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2450 โดยมีจุดประสงค์เพื่อเตรียมคนไว้เป็นทหาร และฝึกให้คนบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม
จากนั้นกิจการลูกเสือได้แพร่กระจายไปทั่วประเทศฝั่งยุโรป ที่ซึ่งประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา ก็ได้รับการแพร่กระจายในเรื่องนี้ด้วย ซึ่งเลยได้เกิดการจัดกองกิจการลูกเสือในประเทศ ที่ซึ่งได้เป็นประเทศที่ 2 ของโลก
ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 บี.พี. ได้เริ่มต้นแต่งหนังสือคู่มือการฝึกอบรมลูกเสือขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า Scouting For Boys ซึ่ง ลอร์ด เบเดน เพาเวลล์ ได้มีการให้ใจความคำว่า “Scout” ว่าเป็นคำที่ใช้ในการเรียกลูกเสือ ที่แต่ละตัวอักษรนั้นย่ออย่างมีความหมายที่สื่อถึงองค์รวมหรือคุณสมบัติที่ลูกเสือพึงมี ตามดังนี้
- S ย่อมาจาก Sincerity มีความหมายว่า ความจริงใจ
- C ย่อมาจาก Courtesy มีความหมายว่า ความสุภาพอ่อนโยน
- O ย่อมาจาก Obedience มีความหมายว่า การเชื่อฟัง
- U ย่อมาจาก Unity มีความหมายว่า ความเป็นใจเดียวกัน
- T ย่อมาจาก Thrifty มีความหมายว่า ความประหยัด
การเกิดขึ้นของกิจการลูกเสือครั้งแรกในประเทศไทย โดย ร.6
ด้วยเหตุเช่นนี้จากข้างต้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงเห็นว่า ลูกเสือนั้นมีประโยชน์ต่อปวงชนชาวไทย ที่ซึ่งทำให้คนไทยเกิดความรู้สึกเสียสละ สามัคคี และเกิดความกตัญญูต่อประเทศชาติ จึงได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เกิดการสถาปนากองลูกเสือป่าขึ้นมา ก็เพื่อให้ทั้งข้าราชการและพลเรือนได้ฝึกฝนเรียนรู้ นำสู่การสร้างประฌยชน์แก่ประเทศชาติและสังคมนั่นเอง
หลังจากแต่นั้นมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่า กิจการลูกเสือป่านั้นดำเนินการไปได้ดี สร้างประโยชน์มากมาย จึงได้จัดพระบรมราชโองการจัดตั้งกิจการกองลูกเสือขึ้นมาในวันที่ 1 กรกฏาคม พ.ศ. 2454 นั่นเองครับ
กิจกรรมสำหรับวันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติของทุก ๆ ปี ในวันที่ 1 กรกฏาคม นั้นมีมากมายด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการจัดเดินสวนสนามของลูกเสือที่ สนามศุภชลาศัย สนามกีฬาแห่งชาติ เป็นประจำทุกปี
ซึ่งในแต่ละปีจะมีลูกเสือทั้งในส่วนกลางและปริมณฑลมาร่วมเดินสวนสนาม ประมาณ 10,000 คน เพื่อแสดงความเคารพและกล่าวทบทวนคำปฏิญาณ ต่อองค์พระประมุขคณะลูกเสือแห่งชาติ เพื่อประกาศความเป็นลูกเสืออย่างแท้จริง และที่ปฏิบัติกันตามชุมชนหรือโรงเรียนคือ ทำบุญใส่บาตร เพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์ท่านผู้ให้กำเนิดลูกเสือแห่งประเทศไทย
จัดนิทรรศการ เผยแผ่ ประวัติความเป็นมาของลูกเสือและผลงานต่างๆ นั่นเองครับ