รู้จัก ‘หนังสือมนต์พิธี’ จาก ‘พระราชวัชรรังษี’ คือตำราสำหรับพระภิกษุ และฆราวาส
เปิดประวัติ “หนังสือมนต์พิธี” คือ ตำราเพื่อประกอบกิจการนั่งสมาธิเพื่อให้เกิดแนวทางของการหลุดพ้น สำหรับพระภิกษุและพุทธศาสนิกชนทั่วไป เรียบเรียงโดย พระครูอรุณธรรมรังษี (พระครูสมุห์เอี่ยม สิริวณฺโณ) หรือ หลวงปู่เอี่ยม “พระราชวัชรรังษี”
มรดกตกทอดอันมีค่าภายใต้ร่มกาสาวพัสตร์แห่งพุทธศาสนา กับประวัติความเป็นมาของ “หนังสือมนต์พิธี” คือ คัมภีร์ที่ได้รวบรวมบทสวดมนต์ในพุทธศาสนา สำหรับการตั้งจิตนั่งสมาธิเพื่อให้เกิดการหลุดพ้นจากอาสวะตามแนวทางปฏิบัติ สำหรับพุทธศาสนิกชน และพระภิกษุ แต่งโดย โดย พระครูอรุณธรรมรังษี (พระครูสมุห์เอี่ยม สิริวณฺโณ) หรือ หลวงปู่เอี่ยม “พระราชวัชรรังษี”
ปัจจุบัน “หนังสือมนต์พิธี” ได้รับความนิยมในกลุ่มพุทธศาสนิกชน พระภิกษุ และผู้สนใจแนวทางการศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนาของประเทศไทย อีกทั้งยังใช้เป็นหลักการวิธีปฏิบัติต่อบทสวดมนต์ในวิถีชีวิตประจำวันนั่นเอง
อีกทั้งจากกรณีข่าวเศร้า เมื่อหลวงปู่เอี่ยม “พระราชวัชรรังษี” (พระครูอรุณธรรมรังษี) หรือนามเดิมว่า “เอี่ยม สุภราช” ได้มรณภาพอย่างสงบ ณ โรงพยาบาลกรุงเทพ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน 2566 เวลา 21.00 น. สิริอายุ 89 ปี พรรษา 69 ส่งผลให้ผู้ศรัทธาและสานุศิษย์เป็นจำนวนมากร่วมไว้อาลัยต่อการสูญเสียบุคลากรสำคัญในวงการพุทธศาสนาอีกด้วย
ทีมงาน Thaiger จึงจะขอพาผู้อ่านทุกท่านไปทำความรู้จักกับประวัติความเป็นมาของ “หนังสือมนต์พิธี” ตำรา คัมภีร์ บทสวดมนต์ที่ชาวพุทธและผู้ศรัทธาควรมีติดบ้านไว้
“หนังสือมนต์พิธี” คืออะไร แนะนำเนื้อหา
สำหรับ “หนังสือมนต์พิธี” (Blessing Chanting Book for Buddhist Monk and Buddhist) คือ ตำราสำหรับพระภิกษุสามเณร และพุทธศาสนิกชนทั่วไป ที่รวบรวมและเรียบเรียงโดย พระครูอรุณธรรมรังสี (เอี่ยม สิริวณฺโณ) มีจำนวน 352 หน้า
ทั้งนี้ หนังสือมนต์พิธี เป็นหนังสือที่รวบรวมมนต์และหลักการสำคัญ เพื่อใช้ในงานพุทธศาสนพิธีกรรมได้อย่างครบถ้วน ซึ่งอาจแบ่งเป็นเนื้อหา 4 ส่วน ดังนี้
- ส่วนที่ 1 ว่าด้วยเรื่องบทสวดสรรเสริญ “พระพุทธเจ้า”
- ส่วนที่ 2 ว่าด้วยเรื่องบทเจริญพระพุทธมนต์ในงานมงคล และบทสวดในงานอวมงคล
- ส่วนที่ 3 ว่าด้วยเรื่องพิธีสังฆกรรมต่างๆสำหรับพระภิกษุสงฆ์
- ส่วนที่ 4 ว่าด้วยเรื่องบทกล่าวทำพิธีต่าง ๆ สำหรับฆราวาส เป็นส่วนที่มีคำกล่าวต่างๆ ที่คฤหัสถ์ ต้องท่องจำให้ได
ประวัติการตีพิมพ์ “หนังสือมนต์พิธี”
ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2513 พระเอี่ยม (หลวงปู่เอี่ยม พระราชวัชรรังษี) ได้ถูกชักชวนให้เรียบเรียงหนังสือรวมบทสวดมนต์ร่วมกับ พระเสวย พุทฺธเทโว พร้อมตีพิมพ์จำหน่าย จำนวนทั้งหมด 1,000 เล่ม เพื่อถวายภายในจังหวัดชลบุรี ต่อมาท่านได้เรียบเรียงหนังสือบทสวดมนต์ และพระคาถา สำหรับประกอบพิธีกรรมชื่อว่า “สวดมนต์และศาสนพิธี” พร้อมตีพิมพ์อีก 1,000 เล่ม
กระทั่งในปี พ.ศ. 2515 ก็ได้เปลี่ยนชื่อจากหนังสือ “สวดมนต์และศาสนพิธี” เป็นหนังสือ “มนต์พิธี” โดยมีพระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี) เป็นผู้เขียนคำนำ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 พระเอี่ยม ในเวลานั้น ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าคณะตำบลหนองเหียง และผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราษฎร์บำรุง ก่อนจะย้ายกลับไปพำนักที่ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เมื่อปี พ.ศ. 2523 และเป็นรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดประดู่ในทรงธรรม เมื่อปี พ.ศ. 2529
ภายหลัง “พระเอี่ยม” ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในราชทินนามว่า พระครูอรุณธรรมรังษี มื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2534
จนเวลาล่วงเลยผ่านไปจนถึงวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2564 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการพระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์เป็น พระราชวัชรรังษี เป็นพระราชาคณะชั้นราช สถิตวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร มีฐานานุศักดิ์ตั้งฐานานุกรมได้ 4 รูป ได้แก่
- พระครูปลัด
- พระครูสังฆรักษ์
- พระครูสมุห์
- พระครูใบฎีกา
ปัจจุบัน หนังสือมนต์พิธี สามารถหาซื้อได้ตามร้านหนังสือทั่วไป อาทิ ซีเอ็ดบุ๊ค หรือ ร้านหนังสือ บีทูเอส และสามารถหาอ่านได้ในรูปแบบ e-book ได้อีกด้วยครับ