ข่าว

ประวัติ ‘พระราชวัชรรังษี’ พระราชาคณะชั้นราช ผู้แต่งหนังสือมนต์พิธี

ประวัติ “พระราชวัชรรังษี” หรือ “เอี่ยม สุภราช” ตำแหน่งสมณศักดิ์ พระราชาคณะชั้นราช สิริอายุรวม 89 ปี พรรษา 69 เป็นเจ้าของตำรับความขลัง “หนังสือมนต์พิธี”

อ่านประวัติ หลวงปู่เอี่ยม “พระราชวัชรรังษี” (พระครูอรุณธรรมรังษี) หรือนามเดิมว่า “เอี่ยม สุภราช” คือ ผู้เรียบเรียง “หนังสือมนต์พิธี” อันเป็นคัมภีร์รวบรวมบทสวดมนต์เพื่อให้สามารถตั้งสมาธินำไปสู่แนวทางของการหลุดพ้นตามหลักพุทธศาสนา ปัจจุบัน พระราชวัชรรังษี ได้ดำรงตำแหน่งสมณศักดิ์เป็น “พระราชาคณะชั้นราช” ก่อนที่ท่านจะมรณภาพด้วยอาการสงบ สิริอายุ 89 ปี พรรษา 69 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 มิ.ย. 66 เวลา 21.00 น. ณ โรงพยาบาลกรุงเทพ ตามการปะกาศข่าวจาก เฟสบุ๊ค ข่าวสารงานพระพุทธศาสนา

อย่างไรก็ตาม “หลวงปู่เอี่ยม พระราชวัชรรังษี” (เอี่ยม สุภราช) มีสานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนที่เคารพนับถือและศรัทธาต่อพระธรรมการสั่งสอนของท่านเป็นจำนวนมาก ทีมงาน Thaiger จึงได้รวบรวมข้อมูลประวัติชีวิตของ “หลวงปู่เอี่ยม พระราชวัชรรังษี” (เอี่ยม สุภราช) ในฐานะพระราชาคณะชั้นราช และผู้เขียนตำรา หนังสือมนต์พิธี มรดกตกทอดในแวดวงพุทธศาสนาไทยที่สำคัญนั่นเอง

ประวัติ พระราชวัชรรังษี (เอี่ยม สุภราช)

พระราชวัชรรังษี (หลวงปู่เอี่ยม พระราชวัชรรังษี) มีชื่อเดิมว่า “เอี่ยม สุภราช” เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 1 กันยายน พุทธศักราช 2476 ณ บ้านพังตรุ หมู่ที่ 1 ตำบลพังตรุ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี มีบิดาชื่อว่า “นายกรุย สุภราช” ส่วนมารดาชื่อ “นางแคล้ว สุภราช” (ศรีสุข) ครอบครัวประกอบอาชีพทำนาข้าวเป็นหลัก

ในช่วงชีวิตการบรรพชา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พุทธศักราช 2493 หลวงปู่เอี่ยม พระราชวัชรรังษี ได้ถูกร้องขอจากยายให้ท่านทำการ บวชแก้บน จนครบ 14 วัน ที่วัดสาลวนาราม (ดอนตาเพชร) อ.พนมทวน โดยฝากฝังไว้กับหลวงพ่อซ้ง หรือ พระอุปัชฌาย์ เจ้าอาวาส และเจ้าคณะตำบลพนมทวน ณ ขณะนั้น ภายใต้ความอุปถัมภ์ของครอบครัว นายเปลี่ยน และนางละเอียด สืบนาค ทว่าหลังจากนั้นท่านไม่ขอศึกและขอบวชต่อในเวลาต่อมา

จากนั้นเมื่อวันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 พระราชวัชรรังษี ได้อุปสมบทที่วัดเบญพาด (ใกล้ญาติพังตรุ) อ.พนมทวน ภายใต้การอุปัชฌาย์ของ “พระปลัดซ้ง” วัดสาลวนาราม และ “พระอธิการเพิ่ม” วัดดอนงิ้ว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ส่วนพระอนุสาวนาจารย์ คือ “พระอาจารย์เหลือ” วัดสาลวนาราม

ประวัติการแต่งหนังสือ มนต์พิธี

เมื่อปี พุทธศักราช 2513 พระเอี่ยม สุภราช (พระราชวัชรรังษี) ได้ถูกชักชวนให้ร่วมทำ หนังสือมนต์พิธี จาก พระเสวย พุทฺธเทโว ซึ่งเป็นภิกษุบวชใหม่ในเวลานั้น ได้ทำการตีพิมพ์ครั้งแรกเพื่อ ถวายภิกษุภายในจังหวัดชลบุรี จำนวน 1,000 เล่ม

จากนั้น พระเอี่ยม ได้รวบรวมรายละเอียดของ พระพุทธมนต์ พระคาถา และคำที่ใช้ในพิธีกรรม และเรียบเรียงหนังสือชื่อว่า สวดมนต์และศาสนพิธี ได้ถูกตีพิมพ์ทั้งหมด 1,000 เล่มเช่นกัน กระทั้งในปี พุทธศักราช 2515 จึงเปลี่ยนชื่อหนังสือว่า มนต์พิธี โดยมีพระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี) เป็นผู้เขียนคำนำ

ประวัติ พระวัชรราชรังษี มนต์พิธี
ภาพจาก Facebook ข่าวสารงานพระพุทธศาสนา

ตำแหน่งของ “พระราชวัชรรังษี”

พระราชวัชรรังษี มีตำบทบาทหน้าที่จากทางฝ่ายปกครอง ทั้งหมด 4 ตำแหน่ง และยศสมณศักดิ์ทั้งหมด 5 ตำแหน่ง ดังต่อไปนี้

ตำแหน่ง : ฝ่ายปกครอง

  • พุทธศักราช 2511 เป็น เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดชลบุรี
  • พุทธศักราช 2520 เป็น เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดชลบุรี
  • พุทธศักราช 2528 เป็น ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
  • พุทธศักราช 2529 เป็น รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดประดู่ในทรงธรรม

ตำแหน่ง : สมณศักดิ์

  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2534 เป็น พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นโท ที่ พระครูอรุณธรรมรังษี
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2549 เป็น พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก ในราชทินนามเดิม
  • 20 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เป็น พระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชวัชรรังษี พุทธมนต์พิธีธุราทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

อ้างอิง : 1

ประวัติ พระวัชรราชรังษี
ภาพจาก Facebook ข่าวสารงานพระพุทธศาสนา

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button