รถไฟฟ้าสายสีเหลือง นั่งฟรี 1 เดือน เส้นลาดพร้าว-สำโรง ราคาเริ่มต้นเท่าไหร่ สูงสุดกี่บาท
อัปเดต รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ราคาเท่าไหร่ มีสถานีอะไรบ้าง เริ่มตั้งแต่สถานีอะไร เปิดให้ทดลองวิ่งตั้งแต่วันไหน ใครได้ใช้บริการฟรีในช่วงทดลองวิ่งบ้าง เช็กเลยที่นี่
การไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เผย ผลตรวจสอบและประเมินความพร้อมของงานโยธาตลอดจนงานระบบไฟฟ้าทั้งหมดของรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว – สำโรง เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว เบื้องต้นจะเปิดให้บริการประชาชนทดลองใช้บริการฟรีตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน 2566
รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว – สำโรง มีสถานีอะไรบ้าง
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว – สำโรง มีระยะทางทั้งสิ้น 30.4 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร เริ่มต้นที่สถานีรัชดา ซึ่งเป็นสถานีที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร (MRT) สถานีลาดพร้าว และไปสิ้นสุดที่สำโรง จำนวนทั้งสิ้น 23 สถานี ดังนี้
- สถานีลาดพร้าว
- สถานีภาวนา
- สถานีโชคชัย 4
- สถานีลาดพร้าว 71
- สถานีลาดพร้าว 83
- สถานีมหาดไทย
- สถานีลาดพร้าว 101
- สถานีบางกะปิ
- สถานีแยกสำลี
- สถานีศรีกรีฑา
- สถานีหัวหมาก
- สถานีกลันตัน
- สถานีศรีนุช
- สถานีศรีนครินทร์ 38
- สถานีสวนหลวง ร.9
- สถานีศรีอุดม
- สถานีศรีเอี่ยม
- สถานีศรีลาซาล
- สถานีศรีแบริ่ง
- สถานีศรีด่าน
- สถานีศรีเทพา
- สถานีทิพวัล
- สถานีสำโรง
นอกจากนี รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ยังมีส่วนต่อขยายอีก 2 สถานีที่จะทำหน้าที่เชื่อมการเดินทางระหว่างแยกรัชโยธินและสถานีรัชดา เพื่อตอบโจทย์การเดินทางในหลากหลายเส้นทาง และสามารถเชื่อมต่อการเดินทางในเมืองให้สะดวกสบายยิ่งขึ้น
รถไฟฟ้าสายสีเหลืองทดลองนั่งฟรีเมื่อไหร่ ใครได้นั่งบ้าง
รถไฟฟ้าสายสีเหลือง จะเตรียมความพร้อมเปิดให้บริการในวันที่ 3 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไป โดยจะเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการฟรี เป็นระยะเวลา 1 เดือน แต่ในช่วงทดลองเปิดให้บริการฟรี อาจมีงานบางอย่างที่ยังไม่สมบูรณ์ แต่จะไม่ส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร เช่น รถอาจเคลื่อนจอดไม่ตรงประตู โดยเปิดให้ประชาชนทุกคนทดลองใช้ฟรี ไม่ว่าจะเป็นเด็ก นักเรียนนักศึกษา ผู้ใหญ่ สตรีมีครรภ์ ผู้พิการ วัยชรา และพระสงฆ์
อัตราค่าบริการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ราคาเท่าไหร่
สำหรับอัตราค่าบริการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง เมื่อเปิดให้บริการแบบเก็บค่าโดยสาร จะต้องพิจารณาจากดัชนีผู้บริโภค (CPI) โดยเปรียบเทียบกีบวิธีการของรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง อัตราค่าโดยสายจะอยู่ที่ 15 – 45 บาท เพิ่มขึ้นจากการคำนวณเบื้องต้นจากข้อมูลปี 2559 ที่ 14 – 42 บาท
ทั้งนี้ การคิดอัตราค่าโดยสารจะต้องมีการคำนวณใหม่อีกครั้งก่อนเปิดให้บริการเต็มรูปแบบประมาณ 30 วัน เบื้องต้นอาจจะมีการคำนวณอัตราค่าโดยสารใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับดัชนีผู้บริโภคตามความจริง ก่อนจะเคาะราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเหลืองอย่างเป็นทางการ
รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ใช้บัตรโดยสารแบบไหนบ้าง
ในส่วนของบัตรโดยสาร แบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ บัตรโดยสารเที่ยวเดียว (Single Journey Card), บัตร EMV Contactless และบัตรแรบบิท, บัตรโดยสารในการเดินทางร่วม โดยมีรายละเอียดดังนี้
- บัตรโดยสารเที่ยวเดียว (Single Journey Card) คิดอัตราค่าโดยสารตามระยะทาง ออกบัตรที่เครื่องจำหน่ายบัตรโดยสารอัตโนมัติ และที่ห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร รองรับการออกบัตรโดยสารเที่ยวเดียวสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งจะออกบัตรที่ห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร
- บัตร EMV Contactless ซึ่งในขณะนี้ อยู่ระหว่างการปรับปรุงระบบ และพัฒนาระบบ Software ให้รองรับมาตรฐานบัตร EMV และมีแผนติดตั้งระบบที่รองรับบัตรแรบบิทด้วย
- บัตรโดยสารในการเดินทางร่วม ซึ่งในอนาคตจะสามารถใช้ร่วมกับรถไฟสายสีแดง โดยสามารถใช้ร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และสายสีม่วงได้โดยเสียค่าแรกเข้าแค่ครั้งเดียวเพราะเป็นระบบเดียวกัน รวมถึงอาจจัดให้มีบัตรโดยสารรายเดือนจำหน่ายในอนาคต
ขอบคุณข้อมูลจาก – 1