ศร.ชล.เขต 3 เตรียมพร้อมรับมือปัญญาภัยคุกคามทางทะเล ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 ย้ำการบูรณาการความร่วมมือเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องประสานให้การทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันเพื่อร่วมกันรักษาผลประโยชน์ทางทะเลของประเทศไทย
เมื่อเวลา 10.30 น. วันนี้ ( 19 เม.ย.) พลเรือโท สมนึก เปรมปราโมทย์ ผบ.ทรภ.3 ในฐานะผอ.ศรชล.เขต 3 เป็นประธานเปิดโครงการฝึกปฏิบัติการร่วม ศรชล.เขต 3 ประจำปี 2561 “ การตรวจเยี่ยมและตรวจค้นเรือต้องสงสัย ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 – 25 เม.ย.2561 เพื่อทดสอบการประสานการปฏิบัติในการรักษากฎหมาย (LAW ENFORCEMENT)แนวทางการปฏิบัติในการตรวจค้นเรือต้องสงสัยในพื้นที่ ศรชล.เขต 3 การจัดชุดสหวิชาชีพ ขึ้นทำการตรวจสอบวัตถุอันตราย ขีดความสามารถของหน่วยงานใน ศรชล.เขต 3 การอำนวยการ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และการติดตามภาพสถานการณ์ เพื่อกำหนดแนวทางในการปฏิบัติงานระหว่างหน่วยงานใน ศรชล.เขต 3 ให้มีประสิทธิภาพ
เนื่องจากปัจจุบันภัยคุกคามด้านความมั่นคงทางทะเล ที่เผชิญอยู่มีหลากหลายรูปแบบที่เกิดขึ้น ดังนั้น จึงจำเป็นที่หน่วยงานความมั่นคงทางทะเลต้องมีการบูรณาการและ ประสานการปฏิบัติระหว่างกันอย่างใกล้ชิด จะดำเนินการโดยหน่วยใดหน่วยหนึ่งเพียงลำพังไม่ได้ แม้ว่าการรักษาความมั่นคงด้านฝั่งทะเลอันดามัน โดยผ่านกลไกของศรชล.เขต 3 ที่ผ่านมา นั้น ทุกหน่วยงานได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย หรือ IUU Fishing ที่สามารถทำได้อย่างดีและเห็นผล ซึ่งเป็นไปตามนโยบายรัฐบาล
แต่เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในการสนธิกำลังของหน่วยงานใน ศรชล.เขต 3. เพื่อทำการ ตรวจเยี่ยม/ตรวจค้นเรือต้องสงสัย หรือมีแนวโน้มว่าจะกระทำผิดกฎหมาย นั้น มีความจำเป็นที่ผู้ปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆจะต้องมีความรู้และความเข้าใจขั้นตอนการปฏิบัติที่เป็นแนวทางเดียวกัน ดังนั้น ได้ตระหนักและเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ จึงจัดการฝึกปฏิบัติการร่วมการฝึกปฏิบัติการร่วม ศรชล.เขต 3
พลเรือโท สมนึก กล่าวต่อไปว่า การทำงาน ของ ศรชล.เป็นการทำงานร่วมกันของ 6 หน่วยงาน ที่จะต้องบูรณาการการทำงานกันเพราะแต่ละหน่วยงานถือกฎหมายไม่เหมือนกัน จึงจะต้องมีการฝึกร่วมกันเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพในการรักษาผลประโยชน์ทางทะเล เพราะปัจจุบันปัญหาเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางทะเลก็มีหลายรูปแบบจึงจำเป็นที่จะต้องมีการซักซ้อมให้การปฎิบัติเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งภัยคุกคามในทะเลก็เริ่มที่จะมีภัยรูปแบบใหม่ ทั้งเรื่องยาเสพติด และอื่นๆ ต่อไปนอกจากจะต้องเฝ้าระวังเรือประมงแล้วเรื่องของเรือยอร์ชก็เป็นอีกเป้าหมายที่จะต้องตรวจสอบเพื่อป้องกันการทำความผิด
ขณะที่ปัญหาชาวโรฮิงญา พลเรือโทสมนึก กล่าวว่า ไม่น่าเป็นห่วงเพราะประเทศไทยไม่ใช่เป้าหมายการเดินทางของคนกลุ่มนี้ เป้าหมายของเค้าต้องการที่จะเดินทางไปประเทศที่ 3 ถ้าเจอก็ช่วยเหลือเพื่อให้เขาสามารถเดินทางต่อไปได้
- ติดตามเราได้ที่ :