เช็กสิทธิ ‘ประกันสังคม ม.33’ ปรับเพดานค่าจ้างขั้นสูงใหม่ มีอะไรบ้าง
สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเงื่อนไขสิทธิประกันสังคม สำหรับผู้ประกันตน มาตรา 33 หลังเตรียมปรับเพดานค่าจ้างขั้นสูงแบบใหม่ พร้อมวิธีคำนวณจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมใหม่ มีสิทธิประโยชน์และขั้นตอนอย่างไรบ้าง
อัปเดตความคืบหน้าล่าสุดหลังจากที่ กระทรวงแรงงาน สำนักงานประกันสังคม เตรียมวางแผนปรับฐานการจ่ายเงินสมทบประกันสังคมสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 ขึ้นเป็น 1,000 บาท จากเดิม 750 บาท ตามการขึ้นเพดานค่าจ้างองค์กรแรงงานฯ และเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 ผ่านทางเว็บไซต์ระบบกลางกฎหมาย law.go.th
ทั้งนี้ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ได้ออกมาตอบคำถาม ไขข้อสงสัยประเด็นเกี่ยวกับการคำนวณฐานการปรับเพดานค่าจ้าง รวมไปถึงสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน มาตรา 33 หากมีการปรับเพดานค่าจ้างเพิ่ม โดยมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
สิทธิประโชน์ที่เพิ่มขึ้นเมื่อปรับเพิ่มเพดานค่าจ้าง ม.33
ในส่วนของสิทธิประโชน์ที่เพิ่มขึ้นเมื่อปรับเพิ่มเพดานค่าจ้าง มาตรา 33 แบ่งออกเป็น การเจ็บป่วย, ว่างงาน, บำนาญ(ส่งเงินสมทบ 15 ปี) และ บำนาญ(ส่งเงินสมทบ 25 ปี) ตามนี้ครับ
เจ็บป่วย (วงเงินรักษาพยาบาล)
- ปัจจุบัน(15,000 บาท) 250 บาทต่อวัน
- ปี 2567-2569(17,500 บาท) 292 บาทต่อวัน
- ปี 2570-2572(20,000 บาท)333 บาทต่อวัน
- ปี 2573 เป็นต้นไป(23,000 บาท) 383 บาทต่อวัน
ว่างงาน
- ปัจจุบัน(15,000 บาท) 7,500 บาทต่อเดือน
- ปี 2567-2569(17,500 บาท) 8,750 บาทต่อเดือน
- ปี 2570-2572(20,000 บาท) 10,000 บาทต่อเดือน
- ปี 2573 เป็นต้นไป(23,000 บาท) 11,500 บาทต่อเดือน
บำนาญ(ส่งเงินสมทบ 15 ปี)*
- ปัจจุบัน(15,000 บาท) 3,000 บาทต่อเดือน
- ปี 2567-2569(17,500 บาท)3,500 บาทต่อเดือน
- ปี 2570-2572(20,000 บาท) 4,000 บาทต่อเดือน
- ปี 2573 เป็นต้นไป(23,000 บาท 4,600 บาทต่อเดือน
บำนาญ(ส่งเงินสมทบ 25 ปี)*
- ปัจจุบัน(15,000 บาท) 5,250 บาทต่อเดือน
- ปี 2567-2569(17,500 บาท) 6,125 บาทต่อเดือน
- ปี 2570-2572(20,000 บาท)7,000 บาทต่อเดือน
- ปี 2573 เป็นต้นไป(23,000 บาท)8,050 บาทต่อเดือน
*ให้คำนวณจากสมมติฐานค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายก่อนเกษียณอายุเท่ากับเพดานค่าจ้างตามตาราง
การปรับเพดานค่าจ้างเป็น 17,500 – 23,000 บาท มาจากไหน ?
สำหรับการปรับเพดานค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ประกอบด้วยรายละเอียดทั้งหมด 3 ข้อ ได้แก่ หลักการสากลในการกำหนดเพดานค่าจ้าง, ปี 2565 ค่าจ้างเฉลี่ยผู้ประกันตน ม.33 = 18,400 บาท และการปรับเพดานค่าจ้าง 1.25 เท่า ในทันทีอาจส่งผลกระทบ ตามข้อมูลและวิธีการคำนวณข้างล่างนี้
1. หลักการสากลในการกำหนดเพดานค่าจ้าง
ค่าจ้างเฉลี่ยของผู้ประกันตนทุกคน X 1.25 และควรปรับทุกปี
2. ปี 2565 ค่าจ้างเฉลี่ยผู้ประกันตน ม.33 = 18,400 บาท
ดังนั้นควรปรับเพดานค่าจ้างเป็น 23,000 บาท
3. การปรับเพดานค่าจ้าง 1.25 เท่า ในทันทีอาจส่งผลกระทบ
เนื่องจากสำนักงานประกันสังคมไม่ได้มีการปรับเพดานค่าจ้างขั้นสูงมากว่า 30 ปี จึงปรับแบบขั้นบันได
- ปี พ.ศ. 2567-2569 = 17,500 บาท (เปอร์เซ็นไทล์ที่ 75 ของ 23,000 บาท)
- ปี พ.ศ. 2570-2572 = 20,000 บาท
- ปี พ.ศ. 2573 เป็นต้นไป = 23,000 บาท
สาเหตุที่ต้องปรับเพดานค่าจ้าง
เหตุผลที่ต้องการปรับเพดานค่าจ้าง เพราะเป็นการทำเพื่อให้สิทธิประโยชน์ (เงินทดแทนการขาดรายได้) เพียงพอสำหรับการครองชีพในปัจจุบันของผู้ประกันตน เพื่อกระจายรายได้ จากผู้มีรายได้สูง ไปสู่ผู้มีรายได้น้อย และเป็นการเพิ่มโอกาสในการปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์
เงินสมทบ “กรณีเพดานขั้นสูง”
- เพดานค่าจ้าง 15,000 บาท(ปัจจุบัน) ลูกจ้าง 5 เปอร์เซ็นต์ (750 บาท) นายจ้าง 5 เปอร์เซ็นต์ (750 บาท) รัฐบาล 2.75 เปอร์เซ็นต์ (413 บาท)
- เพดานค่าจ้าง 17,500 บาท(2567-2572) ลูกจ้าง 5 เปอร์เซ็นต์ (875 บาท) นายจ้าง 5 เปอร์เซ็นต์ (875 บาท) รัฐบาล 2.75 เปอร์เซ็นต์ (481 บาท)
- เพดานค่าจ้าง 20,000 บาท(2569-2572) ลูกจ้าง 5เปอร์เซ็นต์ (10,000 บาท) นายจ้าง 5 เปอร์เซ็นต์ (10,000 บาท) รัฐบาล 2.75 เปอร์เซ็นต์ (550 บาท)
- เพดานค่าจ้าง 23,000 บาท(2573 เป็นต้นไป) ลูกจ้าง 5 เปอร์เซ็นต์ (1,150 บาท) นายจ้าง 5 เปอร์เซ็นต์ (1,150 บาท) รัฐบาล 2.75 เปอร์เซ็นต์ (633 บาท)
ผลกระทบของ ผู้ประกันที่ค่าจ้างต่ำกว่า 15,000 บาท
หลายคนอาจมีข้อสงสัยว่า ผู้ประกันตน มาตรา 33 ประกันสังคม จะได้รับผลกระทบจากการปรับเพดานค่าจ้างด้วยหรือไม่ คำตอบคือ ผู้ประกันตนที่รายได้ค่าจ้างต่ำกว่า 15,000 บาท จะไม่ได้รับผลกระทบ โดยผู้ประกันตนจะนำส่งเงินสมทบ 5 เปอร์เซ็นต์ ของค่าจ้างตามจริงที่นายจ้างรายงงานต่อสำนักงานประกันสังคม เช่น
ทั้งนี้ กรณีค่าจ้างเดือนละ 10,000 บาท ผู้ประกันตนจะนำส่งเงินสมทบเดือนละ 500 บาท(10,000 x 5 เปอร์เซ็นต์ = 500)
*อย่างไรก็ตาม ผู้ประกันตนที่มีค่าจ้าง 15,000 ขึ้นไป มีประมาณ 37% ซึ่งเป็นกลุ่มที่จะต้องส่งเงินสมทบเพิ่มจากการปรับเพดาฯค่าจ้าง แต่จ่ายอัตราเงินสมทบ 5% เท่าเดิม
อ้างอิง : สำนักงานประกันสังคม