เปิดรายได้ ร้านดารุมะ เจ้าของขายคูปองทิพย์ 199 บาท สคบ. เชื่อเจตนาโกง
เปิดรายได้ ร้านดารุมะ ซูชิ หลังเจ้าของเปิดขายคูปองทิพย์ ก่อนปิดร้านล่องหน บอนหนีไปแต่างประเทศ สคบ. ตั้งข้อสงสัยพฤติกรรมมีเจตนาฉ้อโกง
ดารุมะ ซูชิ ร้านบุฟเฟ่ต์แซลมอนที่เจ้าของปิดกิจการหนีไปต่างประเทศ จนต่อมีผู้เสียหายในหลายกลุ่มรวมตัวกันเรียกร้องเอาผิดกับทาง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) โดยถึงตอนนี้ อ้างอิงข้อมูลจากรายการโหนกระแสล่าสุด มูลค่าคึวามเสียหายตีเป้นเลขกลม ๆ อยู่ที่ 100 ล้านบาท
แน่นอนว่า เมื่อเป็นประเด็นร้อนอยู่ ณ ชั่วโมงนี้ คนที่ถูกถามถึงมากที่สุด คงไม่พ้น นายเมธา ชลิงสุข เจ้าของซึ่งมีชื่อเป็นกรรมการบริษัท ตามรายงานข้อมูลจาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
เจ้าของดารุมะ ซูชิ คือใคร ?
ข้อมูลจาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ตรวจสอบแล้วพบว่า เจ้าของกิจการร้านบุฟเฟต์แซลมอน รายนี้ มีรายชื่อปรากฎเป็นกรรมการบริษัท 2 แห่ง ที่แรกได้แก่ บริษัท ดารุมะ ซูชิ จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 12 ม.ค.2559 ทุนปัจจุบัน 5,000,000 บาท
โดยมี นายเมธา ชลิงสุข เป็นกรรมการบริษัท ตั้งอยู่ที่ 87 โครงการ เดอะ แจส รามอินทรา ชั้นที่ 2 ห้อง เอ 217 ถนนลาดปลาเค้า แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร
ผลประกอบการย้อนหลัง บริษัท ดารุมะ ซูชิ จำกัด
- ปี 2559 รายได้ 11,333,477.93 บาท ขาดทุน 4,038,747.16 บาท
- ปี 2560 รายได้ 26,480,833.34 บาท กำไร 674,204.29 บาท
- ปี 2561 รายได้ 27,379,700.15 บาท กำไร 698,721.28 บาท
- ปี 2562 รายได้ 39,004,873.87 บาท กำไร 1,004,376.11 บาท
- ปี 2563 รายได้ 43,762,122.18 บาท กำไร 1,778,984.00 บาท
- ปี 2564 รายได้ 45,621,832.60 บาท กำไร 1,256,609.03 บาท
ขณะที่ บริษัทที่มีการจดทะเบียนแห่งที่สอง ทราบชื่อ คือ บริษัท ดารุมะ ซูชิ โก จำกัด จดทะเบียนเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2565 ปรากฎรายชื่อ นายเมธา ชลิงสุข เป็นกรรมการบริษัท แจ้งดำเนินธุรกิจประกอบกิจการร้านอาหาร เครื่องดื่ม และจำหน่าย รวมทั้งบริการจัดส่งอาหารและเครื่องดื่มทุกวัน ปัจจุบันทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ไม่มีแจ้งผลประกอบการแต่อย่างใด
เจ้าของร้านดารุมะ สคบ. ตั้งข้อสงสัยพฤติกรรมส่อเจตนาฉ้อโกง
ทั้งนี้ พันตำรวจเอก ประทีป เจริญกัลป์ รองเลขาธิการ สคบ. กล่าวถึงความคืบหน้าใมนการติดตามตัวเจ้าของร้านดารุมะมาดำเนินคดีนั้น ล่าสุด พบว่า นายเมธา เดินทางออกนอกประเทศไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ 17 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยข้อมูลของสคบ.ตรวจพบว่า ช่วงแรก เจ้าของร้าน ประกอบธุรกิจอาหารจริง แต่ประสบปัญหาหนี้สิน จึงจัดโปรโมชั่น แต่ราคาไม่สอดคล้องกับสถานการณ์จริง ต้นทุนสูงแต่ ขายถูก และยังมีหนี้สินจากซัพพลายเออร์ และค้างค่าเช่าที่ จึงระดมจัดโปร 199 กินไม่อั้น และพึ่งขายได้ไม่นาน การกระทำนี้ คือ เจตนาฉ้อโกง