สุขภาพและการแพทย์

หายสงสัยคนสมัยก่อน “ปลูกฝี” เพื่ออะไร ป้องกัน “โรคฝีดาษลิง” ได้หรือไม่?

ไขข้อสงสัย ทำไมคนสมัยก่อนถึงต้อง ‘ปลูกฝี’ แล้วทำไมคนรุ่นหลังถึงไม่มี และปลูกฝี ช่วยป้องกัน ‘โรคฝีดาษลิง’ หรือ ไข้ทรพิษ ได้จริงไหม ?

เป็นอีกหนึ่งโรคระบาดที่ทั่วโลกกำำลังจับตามองกกับโรค ไข้ทรพิษลิง หรือ ฝีดาษลิง (Monkeypox) หลังล่าสุดองค์การอนามัยโลก (WHO) จัดการประชุมฉุกเฉิน โดยยืนยันว่าเบื้องต้นพบผู้ป่วยแล้วอย่างน้อย 80 ราย กระจายอยู่ใน 15 ประเทศทั่วบุโรป และประเทศอังกฤษ

Advertisements

เมื่อพูดถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค ฝีดาษลิง แล้วนั้น รู้หรือไม่? ประเทศไทยนั้นก็เคยเจอกับสถานการณ์นี้เช่นกัน โดยรัฐบาลไทยสมัยก่อน ได้ออกกฎหมายบังคับให้ประชาชนทุกคน ปลูกฝี ป้องกัน โรคไข้ทรพิษ ก่อนที่จะยกเลิกไปในปีพ.ศ.2523 แล้ว ปลูกฝี ทำไม สามารถป้องกัน ฝีดาษลิง ได้หรือไม่ ? วันนี้ The Thaiger มีคำตอบมาให้ทุกคนทราบกัน

เปิดที่มา ทำไมคนสมัยก่อน ปลูกฝี เพื่ออะไร และสามารถป้องกัน ฝีดาษลิง ได้หรือไม่ ?

| ปลูกฝี คืออะไร ?

เมื่อตอนเกิดมา ทารกแรกเกิดทุกคนจะได้รับการฉีด วัคซีนป้องกันวัณโรค (Bacillus Calmette-Guérin: BCG) เพื่อช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย เป็นการป้องกันไม่ให้เป็นวัณโรค โดยการฉีดวัคซีน BCG เข้าที่บริเวณต้นแขนของเด็ก ซึ่ง หลังจากการฉีดวัคซีนมักจะทิ้งแผลเป็นไว้ จึงกลายเป็นที่มาของคำว่า ปลูกฝี

Advertisements

หลังจากการปลูกฝี ผิวตรงต้นแขนของทารกจะเกิดเป็น ตุ่มนูน จากนั้นจะแตกออกเป็นแผลเล็ก ๆ มีหนองบ้าง ประมาณ 6 สัปดาห์ จึงจะหายเป็นปกติ โดยทั่วไปแล้วนั้นจะทิ้งรอยแผลเป็นไว้จนโน แต่มีเด็กเพียง 1 ใน 10 เท่านั้นที่ ไม่มีรอย หลังการปลูกฝี

ปลูกฝี โรคฝีดาษลิง

| การปลูกฝี ในไทย สมัยก่อน

ประเทศไทยเริ่มให้บริการปลูกฝีกับคนไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2378 โดยหมอบลัดเลย์ (Dr. Dan Beach Bradley) กระทั่งในปี พ.ศ. 2456 เมื่อรัฐบาลไทยออกกฎหมายบังคับให้ประชาชนทุกคน ปลูกฝีป้องกันโรคไข้ทรพิษ แต่ในเวลาต่อมาโรคนี้สามารถควบคุมได้ และหมดไปจึง เลิกการปลูกฝีในประเทศไทย ในปีพ.ศ. 2517 เป็นต้นมา และองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศว่า ฝีดาษหมดไปในปี 2523 และทั่วโลกยกเลิกปลูกฝีตั้งแต่นั้นมา

ในปี พ.ศ. 2540 กระทรวงสาธารณสุข เริ่มโครงการกวาดล้างไข้ทรพิษ ด้วยวิธี “ปลูกฝี” หรือฉีด “วัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษ” ซึ่งสามารถป้องกันไข้ทรพิษได้ รวมยังสามารถป้องกัน “โรคฝีดาษลิง” ได้ราว 85% อีกด้วย

ดังนั้นแล้ว คนไทยส่วนใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 48 ปีขึ้นไป จะมีวัคซีนป้องกันโรคไข้ทรตพิษอยู่ในตัวอยู่แล้วนั่นเอง ส่วนเด็กที่เกิดหลังปี 2523 ส่วนใหญ่จะไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนไข้ทรพิษ หรือ ถูกปลูกฝี จึงนับเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อโรคฝีดาษลิงมากกว่าประชากรกลุ่มอื่น ๆ นั่นเอง

ปลูกฝี โรคฝีดาษลิง

| การปลูกฝี ปัจจุบัน

ในปัจจุบันนั้น การปลูกฝี ถูกใช้ในแง่ของการ ฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค หรือ BCG ด้วยลักษณะของแผลหลังฉีดวัคซีนที่คล้ายเป็นฝี หลายคนจึงเรียกว่าเป็นการปลูกฝีนั่นเองแต่ ไม่ใช่การปลูกฝีเพื่อป้องกันโรคฝีดาษ หรือ ไข้ทรพิษ เหมือนสมัยก่อน โดยสังเกตุได้จากแผลเป็นของวัคซีนป้องกันวัณโรค จะค่อนข้างนูนกว่า

 

| วิธีป้องกันตนเอง จากโรคฝีดาษลิง (Monkeypox)

ล่าสุด กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้ออกมาแนะนำ วิธีป้องกันตนเอง โรคฝีดาษลิง (monkeypox) โดยมีวิธีดังนี้

  1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อหรือสัตว์ป่า
  2. หลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ
  3. หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์เมื่อสัมผัสกับสัตว์หรือคนที่ติดเชื้อ หรือเดินทางเข้าไปในป่า
  4. ไม่นำสัตว์ป่ามาเลี้ยงหรือนำเข้าสัตว์จากต่างประเทศโดยไม่มีการ คัดกรองโรค
  5. กรณีมีการเดินทางกลับจากประเทศที่เป็นเขตติดโรค ต้องทำการคัดกรองและเฝ้าระวังอาการจนครบ 21 วัน หากมีอาการเจ็บป่วยให้รีบไปพบแพทย์ทันที และทำการแยกกักเพื่อมิให้ผู้ป่วยมีการแพร่กระจายเชื้อ

ขอบคุณข้อมูลจาก 1 2 3

? ติดตามข่าวสารต่าง ๆ เพิ่มเติมได้ ที่นี่


baesittichot

นักเขียนสายฮาอารมณ์ดี ไลฟ์สไตล์ เรื่องน่ารู้ทั่วไป ตามติดเทรนด์ฮิตที่ห้ามพลาด อัปเดตข่าวเศรษฐกิจ การเงิน ประสบการณ์งานเขียนมากกว่า 1 ปี ชอบเม้าท์มอย ส่งต่อเรื่องราวน่าสนใจผ่านตัวอักษร ผลงานทุกชิ้นจึงเป็นเหมือน 'เพื่อน' ที่อยากเล่าสิ่ง ๆ ต่างให้คุณได้รู้เป็นคนแรกเสมอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button