หมอยง อธิบาย ทำไมวัคซีนมีประสิทธิภาพแต่ละที่ไม่เท่ากัน
หมอยง ได้โพสต์อธิบายสาเหตุว่า ทำไมวัคซีนมีประสิทธิภาพแต่ละที่ไม่เท่ากัน หลังจากที่วัคซีนจากบริษัท ซิโนแวค มีประสิทธิภาพในแต่ละพื้นที่ไม่เท่ากัน
นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ หรือ หมอยง หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก อธิบายถึงสาเหตุที่ประสิทธิของวัคซีนต้านโควิด-19 ในแต่ละที่มีประสิทธิภาพไม่เท่ากัน
โดย หมอยงระบุว่าสาเหตุหลักคือ แต่ละที่ประเมินสิทธิภาพในการป้องกันต่างกัน เช่นบางที่เน้น การป้องกันการเกิดโรค บางที่ เน้นการป้องกันการติดเชื้อ
หมอยงกล่าวว่า “โควิด-19 วัคซีน ผลการศึกษาประสิทธิภาพจึงต่างกัน ผลของประสิทธิภาพวัคซีนในการศึกษา ต่างสถานที่ ต่างกลุ่ม ประสิทธิผลทำไม ไม่เท่ากันเพราะ การประเมินประสิทธิภาพ จะประเมินอะไร
ป้องกันการติดเชื้อ หรือ ป้องกันการเกิดโรค (ติดเชื้อได้แต่ไม่เป็นโรค) เป็นโรคแต่ไม่รุนแรง เช่นไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ไม่เสียชีวิต ประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด-19 จะประเมินตรงไหน ต้องชี้แจงให้ละเอียด ไม่ใช่บอกแต่ตัวเลข
ประเด็นที่ 2 ที่มีการประเมินผลวัคซีนเดียวกัน ทำในสถานที่และประชากรต่างกัน ขึ้นอยู่กับกลุ่มประชากรที่ศึกษา ทำให้ผลต่างกัน เช่น การศึกษาวัคซีน HIV ในประเทศไทย ได้ประสิทธิภาพป้องกันกันโรคได้ 30% ศึกษาที่แอฟริกา ได้ 0% เพราะ แอฟริกา มีความเสี่ยงสูงกว่าไทย
ในทำนองเดียวกัน การศึกษาวัคซีนท้องเสียโรตา ในแอฟริกา ประเทศเมารี ได้ประสิทธิภาพ ร้อยละ 50 แต่ใช้วัคซีนเดียวกัน ทำในยุโรปได้ประสิทธิภาพสูง 83-90% เพราะแอฟริกาเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรค และการติดโรคได้สูงกว่าในยุโรป
ทำนองเดียวกันการศึกษาโควิดวัคซีน ถ้าทำในกลุ่มเสี่ยงสูง เช่น บุคลากรทางการแพทย์ ย่อมมีประสิทธิภาพป้องกันในการศึกษาต่ำกว่า การศึกษาในประชากรทั่วไป ที่มีความเสี่ยงต่ำ การศึกษาของวัคซีนของจีนประสิทธิภาพที่จีนประกาศ 79% โดยรวม ตุรกี ประกาศผลประชากรทั่วไปได้ 91% และอินโดนีเซียได้ 65% ตัวเลขต่างกัน คือ บราซิลในบุคลากรทางการแพทย์ ได้ 50.4%
ดังนั้นประสิทธิภาพของวัคซีนในแต่ละตัว การแปลผลจะต้องดูองค์ประกอบหลายอย่าง ไม่ใช่เพียงตัวเลข”