ข่าวภูมิภาค

เรื่องควรรู้ เจอวัตถุต้องสงสัยจะเป็นระเบิด ต้องทำอย่างไร แจ้งใครได้บ้าง

หลังกรณีระเบิดป่วนกรุงถึง 9 จุด เมื่อสองวันที่ผ่านมา ทำให้ชาวกรุงหวั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวันไม่น้อย คงจะดีหากรู้ไว้ก่อนว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อเจอวัตถุต้องสงสัย หรือสิ่งที่แน่ใจว่าเป็นระเบิดแน่ๆ เพื่อให้ทั้งตัวเราเอง และคนรอบๆ ตัวในบริเวณนั้นปลอดภัย

 

ภาพจาก Kapook

 

วิธีสังเกต ‘วัตถุต้องสงสัย’ ว่าเป็นระเบิดหรือไม่

 

วัตถุต้องสงสัยนั้น อาจมาในรูปแบบหีบห่อ กล่องพัสดุ กล่องกระดาษ กระเป๋าเดินทาง กระเป๋าเป้ ฯลฯ ที่สามารถนำระเบิดบรรจุมาได้ และจุดต่างๆ ที่ใช้สังเกตว่าเป็นระเบิดหรือไม่นั้น มีดังนี้

 

  1. เป็นสิ่งที่ไม่มีเจ้าของ
  2. ไม่เคยอยู่บริเวณนั้นมาก่อน
  3. วางในที่ที่ไม่ควรอยู่
  4. ลักษณะน้ำหนักมากเกินขนาด
  5. หากเป็นซอง จะมีลักษณะแข็ง พับงอไม่ได้
  6. มีสายไฟเล็กๆ ยื่นออกมาจากวัตถุชิ้นนั้น
  7. หีบห่อหนาแน่นเกินจำเป็น
  8. มีคราบน้ำมันหรือกระดาษของหีบห่อมีลักษณะซีดจาง
  9. มีการเขียนข้อความหรือติดภาพเรียกร้องความสนใจ
  10. มีแสตมป์ติดบนพัสดุมากเกินไป
  11. มีการทำเครื่องหมายพิเศษต่างๆ บนซองหรือหีบห่อ
  12. กรณีที่เป็นจดหมาย ลายมือที่จ่าหน้ามักจะสะกดผิดๆ ถูกๆ เขียนไม่เป็นระเบียบ บางครั้งก็เขียนตำแหน่งและยศของผู้รับผิด
  13. หากเรามีศัตรูหรือขัดแย้งกับใคร ควรตั้งข้อสงสัย และระมัดระวังวัตถุต้องสงสัยมากเป็นพิเศษ

 

ภาพจาก สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)

 

สิ่งที่ควรทำ

 

  1. เมื่อพบวัตถุต้องสงสัย ตั้งสติและรีบออกจากพื้นที่เสี่ยงทันที ห้ามแตะต้องวัตถุต้องสงสัยเด็ดขาด
  2. รีบโทรแจ้ง 191 ทันที หรือแจ้ง EOD (กลุ่มงานเก็บกู้และตรวจพิสูจน์วัตถุระเบิด) 02-296-1946
  3. พยายามอยู่ห่างจากจุดที่พบวัตถุต้องสงสัยอย่างน้อย 300 เมตรขึ้นไป โดยอยู่เหนือลม และยิ่งไกลยิ่งดี
  4. หากวัตถุต้องสงสัยเกิดประกายไฟหรือระเบิด รีบหากำบังที่หลบที่แข็งแรง
  5. หากอยู่ในบ้าน ปิดเครื่องปรับอากาศและสวมเสื้อผ้าที่มิดชิด
  6. หากติดอยู่ในอาคาร ให้ใช้ผ้าชุบน้ำอุดช่องประตูเพื่อป้องกันแก๊สพิษ
  7. หากเคลื่อนย้ายวัตถุดังกล่าวได้แล้ว ให้นำไปไว้ในที่โล่ง เช่น สนามหญ้า หรือในร่ม ระวังอย่าให้วัตถุต้องสงสัยหรือหีบห่อสัมผัสแสงแดดหรือความร้อนจัดโดยตรง จากนั้นนำยางรถยนต์มาครอบไว้หรือล้อมไว้ด้วยกระสอบทราย

 

ที่มา

กลุ่มงานเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด (EOD) กก.ตชด.14
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)
เฟซบุ๊กอาจารย์เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button