ข่าว

หมอหมู เตือนฆาตกรเงียบช่วงปีใหม่ เสี่ยงโรคร้าย แนะเช็กอาการ-วิธีดูแลตัวเอง

‘หมอหมู’ เตือนภัยฆาตกรเงียบช่วงเทศกาลปีใหม่ ดื่มหนัก เสี่ยงเป็นโรคหัวใจช่วงวันหยุดเทศกาล แนะวิธีสังเกตอาการ และการดูแลตัวเอง

เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2567 ‘หมอหมู’ หรือ นายวีระศักดิ์ จรัสชัยศรี อาจารย์แพทย์นิติเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ออกมาเตือนประชาชนให้เฝ้าระวังฆาตกรเงียบที่ระบาดหนักในช่วงเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ ซึ่งหลายคนอาจละเลยการดูแลสุขภาพ หากมีการดื่มแอลกอฮอล์อาจส่งผลให้เกิด ‘โรคหัวใจช่วงวันหยุดเทศกาล’ หรือ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เกิดขึ้นหลังจากดื่มหนักติดต่อกันในช่วงเทศกาล

Advertisements

สำหรับ ‘โรคหัวใจช่วงวันหยุดเทศกาล’ (Holiday heart syndrome) เกิดจากการดื่มสุราอย่างหนักในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์และวันหยุดนักขัตฤกษ์อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Atrial Fibrillation) อาจส่งผลให้เกิดเส้นเลือดในสมองอุดตัน และหัวใจล้มเหลว

หมอหมู วีระศักดิ์เตือนโรคที่ระบาดในช่วงปีใหม่
ภาพจาก Facebook : หมอหมู วีระศักดิ์

โรคหัวใจช่วงวันหยุดเทศกาล ภัยเงียบที่ควรระวัง

โรคหัวใจช่วงวันหยุดเทศกาลมักเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยร่วมกัน ได้แก่ การดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก หรือ การดื่มไวน์ 13% มากกว่า 1 ขวดครึ่ง หรือ ดื่มเบียร์ 5% มากกว่า 9 กระป๋อง หรือ ดื่มเหล้า 40% มากกว่า 12 แก้วช็อต ภายในหนึ่งวัน รวมทั้งยังสามารถเกิดได้กับผู้ที่ชอบอดนอนในช่วงเทศกาลวันหยุด และความเครียดจากการสังสรรค์ อีกทั้งทานอาหารที่มีไขมันและเกลือมากเกินไป

อย่างไรก็ตาม หมอหมูเผยว่าความเชื่อมโยงระหว่างการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปกับปัญหาหัวใจนี้ได้รับการระบุครั้งแรกโดย ดร. ฟิลิป เอตทิงเกอร์ และทีมงานของเขาในปี 1978 หลังจากที่พวกเขาสังเกตเห็นผู้ป่วย 24 รายเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (atrial fibrillation) หลังจากดื่มหนักมาตลอดทั้งสุดสัปดาห์

โรคหัวใจช่วงวันหยุดเทศกาลระบาดในช่วงปลายปี
ภาพจาก Facebook : หมอหมู วีระศักดิ์

เช็กด่วน โรคหัวใจช่วงวันหยุดเทศกาล มีอาการอย่างไร?

หมอหมูได้ออกมาแชร์วิธีการตรวจสอบอาการเบื้องต้นของโรคหัวใจช่วงวันหยุดเทศกาล มีอาการใดบ้างไปเช็กกันเลย

1. ใจสั่น

Advertisements

2. อ่อนเพลีย อ่อนแรง

3. เวียนศีรษะ สับสน

4. หายใจลำบาก เจ็บแน่นหน้าอก

วิธีการดูแลตัวเอง หากมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สำหรับวิธีการดูแลตนเองเบื้องต้นสำหรับผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหลังดื่มแอลกอฮอล์ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ โดยแพทย์อาจรักษาโดยการให้ยารักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ควรดูสุขภาพตนเองเบื้องต้นตามขั้นตอนนี้

1. ดื่มแอลกอฮอล์อย่างมีลิมิต

2. หาเวลาพักผ่อนหรือไปทำกิจกรรมอื่นแทนการดื่ม

3. ดื่มน้ำ เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ

3. ไม่ทานอาหารประเภทที่มีไขมันสูงหรือมีรสเค็มจัด

ข้อมูลจาก : หมอหมู วีระศักดิ์

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

sukanlaya s.

นักเขียนบทความ SEO ประจำเว็บไซต์ The Thaiger จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชี่ยวชาญงานเขียนประเภท ข่าวกระแสสังคม และบทความไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็น รีวิวที่เที่ยว เทรนด์แฟชั่นและความงาม พร้อมแนะนำกระแสมาแรง ทันเหตุการณ์ ช่องทางติดต่อ ying@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button