นักวิจัยเผย การเสพติดข่าวร้าย ส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตมากกว่าที่หลายคนคิด
นักวิจัยออสเตรเลียเผย การเสพติดข่าวร้าย บนโลกอินเตอร์เน็ต (doomscrolling) ส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตและความเป็นอยู่มากกว่าที่หลายคนคิด
นับตั้งแต่มีโซเชียลมีเดีย การไถ่ฟีดดูข่าวร้ายหรือเรื่องราวแย่ๆ (doomscrolling) ได้กลายเป็นเรื่องธรรมดาปกติในสังคมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ติ๊กต๊อก (TikTok), อินตราแกรม (Instagram), เฟซบุ๊ก (Facebook) หรือ เอ็กซ์ ทวิตเตอร์เดิม (X)
ล่าสุด นักวิจัยได้ออกมาเปิดเผยว่า นี่คืออีกหนึ่งสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพจิตของคุณได้เป็นอย่างดี โดยนักวิจัยได้อธิบายเพิ่มเติมว่า คนที่มักจะชอบดูข่าวร้ายหรือเนื้อหาแง่ลบ สามารถทำให้คนเกิดความสงสัยในผู้อื่น และเพิ่มความวิตกกังวลเกี่ยวกับการมีชีวิตอยู่ได้
Reza Shabahang จาก Flinders University ประเทศออสเตรเลีย ได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับผลการวิจัยไว้ว่า “Doomscrolling สามารถส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ของเรา ทำให้เรารู้สึกเครียด วิตกกังวล สิ้นหวัง และตั้งคำถามกับความหมายของชีวิต”
“การดูข่าวเชิงลบในโซเชียลมีเดียได้กลายเป็นแหล่งที่มาของบาดแผลทางอ้อม ซึ่งบางคนได้รับผลกระทบทางจิตใจในเชิงลบแม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้ประสบกับเหตุการณ์นั้นโดยตรงก็ตาม”
โดยนักวิจัยรายนี้ได้สำรวจนักศึกษา 800 คนจากสหรัฐอเมริกาและอิหร่าน เพื่อหาคำตอบว่าพวกเขารู้สึกวิตกกังวลต่อการดำรงอยู่ของตนเองอย่างไร พวกเขารู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับมนุษยชาติและความยุติธรรมในโลก และจบลงด้วยการถามว่าพวกเขา doomscroll มากแค่ไหน
จนผลการสำรวจพบว่ากลุ่มที่มีการเสพติดข่าวร้ายบนโลกอินเตอร์เน็ต จะมีความวิตกกังวลในการใช้ชีวิตมากกว่าคนทั่วไปอยู่มาก
“เมื่อเราได้รับข่าวสารและข้อมูลเชิงลบทางออนไลน์อย่างต่อเนื่อง มันสามารถคุกคามความเชื่อของเราเมื่อพูดถึงความตายของเราเองและการควบคุมที่เรามีต่อชีวิตของเราเอง ยิ่งไปกว่านั้น doomscrolling สามารถส่งผลเสียต่อวิธีที่เรามองผู้คนและโลกรอบตัวเรา”
“เราขอแนะนำให้ผู้คนใส่ใจกับเวลาที่พวกเขาใช้บนโซเชียลมีเดียและตระหนักถึงผลกระทบที่มีต่ออารมณ์ ความคิด และความรู้สึกของพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพูดถึงข่าวและเหตุการณ์เชิงลบ
“เป็นความคิดที่ดีที่จะติดตามว่าคุณใช้เวลา doomscrolling มากแค่ไหนและเริ่มทำการเปลี่ยนแปลงเพื่อลดเวลานั้นหากเป็นปัญหา โดยการตระหนักถึงพฤติกรรมออนไลน์ของเรามากขึ้น เช่น doomscrolling และดำเนินการเล็กๆ น้อยๆ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว อาจช่วยปรับปรุงสุขภาพจิตโดยรวมของเราได้”
อ้างอิงข้อมูลจาก : 1
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- โนริโกะ โอบาระ ผู้พากย์เสียง โนบิตะ จาก โดราเอมอน เสียชีวิตแล้ว ด้วยวัย 88 ปี
- บรรจง สมบัติ อดีตโค้ชทีมวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย เสียชีวิตแล้ว
- หนุ่มจีนเข่าทรุด หลังรู้อายุจริงภรรยา แถมลูกชายเธออายุมากกว่าอีก