ข่าวภูมิภาค

UWC ภูเก็ต จัดสัมมนาโดยนักปรัชญาศาสนาพุทธ Dr. B. Alan Wallace

โรงเรียนนานาชาติยูดับเบิลยูซี ประเทศไทย (UWCT) และธัญญปุระ รีสอร์ทสุขภาพและกีฬาได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพต้อนรับ Dr. Wallace ในการสัมมนาระยะเวลา 2 วันในภูเก็ต ในวันที่ 17 และ 18 พฤศจิกายนนี้ การสัมมนานี้ไม่มีค่าใช้จ่าย ภายใต้การสนับสนุนของยูดับเบิลยูซี ประเทศไทยและธัญญปุระ แต่มีที่นั่งจำกัด การมาเยือนของ Dr. Wallace นั้นเป็นการตอกย้ำถึงวิสัยทัศน์ของโรงเรียนว่าการมีสตินั้นเป็นส่วนสำคัญในการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21

นับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ยี่สิบ จิตวิทยาคลินิกได้เน้นที่การวินิจฉัยและการรักษาโรคทางจิตเป็นหลัก พร้อมทั้งให้นิยามสุขภาวะทางจิตว่าหมายถึงการไม่มีความป่วยทางจิตเท่านั้น ในช่วงเวลาสิบห้าปีที่ผ่านมา กระแสความเปลี่ยนแปลงใหม่ในด้านจิตวิทยาเชิงบวกได้ใช้องค์ประกอบที่เป็นเชิงบวกมากยิ่งขึ้นมาเสริมแนวคิดเกี่ยวกั
บสุขภาพจิตและสุขภาวะ ในการสัมมนานี้จะกล่าวถึงความฉลาดสี่ด้านที่สำคัญยิ่งสำหรับการสร้างเสริมสุขภาพจิตและสมดุลในระดับที่เหมาะสมที่ สุด ได้แก่ ความฉลาดเชิงพฤติกรรม สมาธิ การรู้คิด และอารมณ์
ปัญหาทางจิตจะเกิดขึ้นเมื่อความสามารถด้านใดด้านหนึ่งดังกล่าวนี้ทำงานมากเกินไป บกพร่อง หรือทำงานผิดปกติ ในทางกลับกัน สุขภาพจิตและสุขภาวะที่ดีเยี่ยมนั้นสามารถพัฒนาขึ้นได้ด้วยการปลูกฝัง บ่มเพาะความฉลาดทั้งสี่ด้านนี้ ทั้งที่พัฒนาเป็นเอกเทศและผสมผสาน เสริมสร้างกันและกัน เช่นเดียวกับที่ตารางธาตุที่เป็นแนวทางการทำความเข้าใจเกี่ยวกับธาตุทางเคมีที่รู้จักกันทั้งหมด แนวปฏิบัติแบบจัตุรภาคนี้จะเป็นบริบทในการอธิบายถึงปัญหาทางจิตและสุขภาพในระดับต่างๆ ตั้งแต่โรคจิตขั้นรุนแรงไปจนถึงการตื่นรู้ทางจิตวิญญาณระดับสูงสุด

Advertisements

Dr. Wallace เป็นนักปรัชญาและพุทธศาสนิกชนนับตั้งแต่ พ.ศ. 2513 สอนทฤษฎีศาสนาพุทธและการทำสมาธิในที่ต่างๆ ทั่วโลกนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 เขาทุ่มเทเวลา 14 ปี ในการปฏิบัติศาสนกิจในฐานะนักบวชของศาสนาพุทธแบบทิเบต โดยได้รับการบวชโดยทะไล ลามะ และจากนั้นได้ศึกษาและจบปริญญาตรีสาขาฟิสิกส์ ปรัชญาวิทยาศาสตร์ที่ Amherst College และปริญญาเอกด้านศาสนศึกษาที่ Stanford University
Alan มีภูมิหลังที่น่าสนใจและโดดเด่นไม่เหมือนใคร จึงสามารถนำประสบการณ์ในเชิงลึกและทักษะประยุกต์มาใช้ในการบูรณาการพุทธศาสนาแบบอินโดทิเบตเข้ากับชีวิตใ นโลกสมัยใหม่ เขาเขียนหนังสือยอดนิยมในหัวข้อนี้เป็นจำนวนแปดเล่ม และมีผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการจำนวนมาก

โรงเรียนนานาชาติยูดับเบิลยูซี ประเทศไทย เป็นโรงเรียนที่ไม่แสวงหากำไรที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัยถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย ตั้งอยู่ที่เกาะภูเก็ตที่สวยงามในประเทศไทย โรงเรียนนานาชาติยูดับเบิลยูซี ประเทศไทยใช้หลักสูตร International Baccalaureate และเป็นชุมชนผู้เรียนรู้ที่ทำงานร่วมกันโดยใช้หลักการพัฒนาสติ เพื่อบรรลุพันธกิจของโรงเรียน นั่นคือการใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือสร้างความเป็นเอกภาพแก่ผู้คน ประชาชาติและวัฒนธรรม เพื่อสันติและอนาคตอันยั่งยืน เราผสานการเรียนรู้เชิงสังคม-อารมณ์และความมีสติในหลักสูตร
และให้ความสำคัญกับพัฒนาการด้านวิชาการ การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ และการให้บริการ
โรงเรียนนานาชาติยูดับเบิลยูซี ประเทศไทยตั้งอยู่ติดกับธัญญปุระ ซึ่งเป็นรีสอร์ทสุขภาพและกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาในอุทยานแห่งชาติ และมีนักเรียนจากกว่า 70 สัญชาติ เรามุ่งเสริมสร้างศักยภาพสูงสุดของมนุษย์ ปลูกฝังให้เกิดความสุขที่แท้จริง และกระทำสิ่งต่างๆ อย่างมีสติและมีความกรุณา ค่านิยมเหล่านี้ตั้งอยู่บนฐานความเชื่อของเราในความเกี่ยวเนื่องของ “หัวใจดี จิตใจสมดุล ร่างการแข็งแรง” เราใช้หลักสูตร International Baccalaureate เป็นรากฐานทางวิชาการของเรา และมีบุคลากรครูระดับชั้นนำของโลกที่มาสร้างสรรค์ชุมชนการเรียนรู้ที่เป็นเลิศ

ธัญญปุระเป็นรีสอร์ทสุขภาพและกีฬาชั้นนำของเอเชีย ตั้งอยู่ติดกับโรงเรียนนานาชาติยูดับเบิลยูซี ประเทศไทย
ที่นี่ประกอบด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬาชั้นเยี่ยม ตลอดจนศูนย์ดูแลสุขภาพแบบองค์รวม บริการพัฒนาการมีสติและโค้ชผู้เชียวชาญที่พร้อมให้บริการบนเกาะภูเก็ตที่สวยงาม ธัญญปุระจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการเข้าพักระหว่างร่วมการสัมมนาของ Dr. Wallace จากธัญญปุระ เดินเพียงห้านาทีก็จะถึงสถานที่จัดการสัมมนา และยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกระดับโลก พื้นที่เปิดกว้างและสภาพแวดล้อมแสนสงบ ศูนย์ดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของรึสอร์ทมีทรีตเมนต์และแพ็คเกจการดูแลสุขภาวะหลากหลายแบบที่จัดทำขึ้นสำหรับผู้
ที่ต้องการคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น จากโมเดลโค้ชชิงแบบสามมิติที่เป็นเอกลักษณ์ สำหรับการดูแลจิตใจ ร่างกาย และวิญญาณ ธัญญปุระภูเก็ตได้รับการรังสรรค์ขึ้นเพื่อช่วยให้ทุกคนปรับชีวิตของตนเองให้มีสภาวะดีที่สุด และดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข ด้วยการศึกษา จัดการจิตใจ สุขภาพ และกีฬา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button