ถึงคราวต้องแยกย้าย อวสานไปตามกาลเวลา ICQ โปรแกรมแชตยุคบุกเบิก ประกาศปิดตัวถาวร 26 มิถนายน นี้ หลังให้บริการมานานกว่า 27 ปี
เชื่อว่าหนุ่มสาวในช่วงยุคปลาย 90 จนถึง 2000 หลายคนคงจะรู้จักและคุ้นหน้าคุ้นตากันเป็นอย่างดีกับโปรแกรมแชต ICQ โปรแกรมที่ใช้สำหรับการติดต่อเพื่อนใหม่ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในยุคนั้น เมื่อเวลาผ่านไปโปรแกรมแชตในรูปแบบอื่น ๆ ก็เริ่มเกิดขึ้นมาตีตลาดอย่างต่อเนื่องจนทำให้ ICQ ถูกลบเลือนไป แต่ก็ยังคงเปิดให้บริการอยู่เรื่อย ๆ จนในช่วงปีพ.ศ. 2565 โปรแกรมแชตนี้ก็เพิ่งถูกอัปเดตเวอร์ชั่นใหม่ให้ดูทันสมัยเข้ากับยุคปัจจุบันมากยิ่งขึ้น
แต่ด้วยความที่ปัจจุบันมีช่องทางในการติดต่อสื่อสารเกิดขึ้นมาเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้คนที่ใช้บริการ ICQ เหลือน้อยลงไปทุกที ล่าสุดทางเว็บไซต์ icq ก็ได้ตัดสินใจออกมาประกาศยุติบทบาทผู้ให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 26 มิถุนายน นี้ โดยระบุข้อความว่า “ICQ will stop working from June 26 You can chat with friends in VK Messenger, and with colleagues in VK WorkSpace (ICQ จะยุติบทบาทการทำงานตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน นี้เป็นต้นไป คุณสามารถแชตกับเพ่ื่อนๆได้บน VK Messenger, และคุยกับเพื่อนร่วมงานผ่าน VK WorkSpace )”
ถือเป็นการสิ้นสุดอย่างไม่เป็นทางการสำหรับโปรแกรมซอฟต์แวร์สำหรับการส่งข้อความโต้ตอบแบบทันทีบนพีซีในยุค 90 เนื่องจากยังมีแพลตฟอร์มรองรับจาก VK ซึ่งเป็นบริษัทโซเชียลมีเดียของรัสเซียที่ซื้อกิจการ ICQ จาก AOL ในปี 2010 แต่อยู่ภายใต้ชื่อองค์กรอื่น
ความเป็นมาของโปรแกรมแชต ICQ
ICQ ย่อมาจาก “I Seek You” ได้รับการพัฒนาและเปิดตัวครั้งแรกในปีค.ศ. 1996 (พ.ศ. 2539) โดยบริษัท Mirabilis จากประเทศอิสราเอล ก่อนที่ AOL หรือ American Online จากสหรัฐอเมริกา จะซื้อกิจการไปในปีค.ศ. 1998 (พ.ศ. 2541) สนนราคา 407 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1 หมื่น 4 พันล้านบาท)
ต่อมาในปีค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) ทาง AOL ได้ขาย ICQ ให้กับบริษัท Digital Sky Technologies ของรัสเซีย ซึ่งก็คือ mail.ru Group หรือ VK Group ในปัจจุบันนั่นเอง จึงมีการโปรโมทว่าให้ย้ายไปใช้งาน “VK Messenger” และ “VK WorkSpace” แทน ส่วน “AIM” หรือ “AOL Instant Messenger” จากฝั่ง AOL ปัจจุบันยังคงให้บริการอยู่
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- 3 ธนาคารใหญ่เตือน อัปเดตแอปโมบายแบงก์กิ้งด่วน ก่อนใช้งานไม่ได้
- มุกใหม่มิจฉาชีพ หลอกเปิดวีดีโอคอล ขอรหัสเข้าแอปฯ ธนาคาร ด้วยการกดรหัส *131*
- อย่างฮา! แก๊งคอลเซ็นเตอร์ เอารูปผู้กำกับใส่แอปฯ แต่ผลปรากฏปากเบี้ยว
อ้างอิงจาก : pcmag