ข่าวข่าวอาชญากรรม

Emergency Alert ระบบเตือนภัยจากรัฐบาล ทำไมที่อื่นมีได้ สังคมโอดรู้ข่าวแจ้งเตือนกราดยิงจากแอปส่งอาหาร

ระบบแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉิน Emergency Alert System ข้อความแจ้งเตือนภัยพิบัติยันเหตุการณ์ร้ายแรงจากรัฐบาล ทำไมประเทศไทยยังไม่มี ทั้งที่ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ใช้กันทั่ว สังคมถามหน่วยงานไหนรับผิดชอบ หลังประชาชนที่พากันหนีตายทราบข่าวกราดยิพารากอนจากแอปส่งอาหาร เว็บไซต์แต่งนิยาย

วันที่ 4 ตุลาคม 2566 กำลังเป็นประเด็นที่สังคมกำลังวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก เกี่ยวกับ Emergency Alert หรือ Emergency Alert System (EAS) ระบบแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉินและข้อความแจ้งเตือนเหตุการณ์ร้ายแรงตลอดจนภัยพิบัติต่าง ๆ จากรัฐบาล โดยเฉพาะในยุคใหม่ที่เป็นการเตือนภัยผ่านโทรศัพท์มือถือหรือ “Cell Broadcast”

Advertisements

ประเด็นดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องจากข่าวกราดยิงที่ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน กทม. ซึ่งบนแฮชแท็ก #พารากอน ต่างออกมาให้ข้อมูลว่าพวกเขาไม่ทราบเลยว่ามีการก่อเหตุสลดขึ้นในใจกลางกรุงเทพฯ กระทั่งมีข้อความเอสเอ็มเอส (SMS) จากเว็บไซต์แต่งนิยายรี้ดอะไร้ต์ (Readawrite)

ข่าวยิงกันที่พารากอน

ดูข่าววันนี้
ภาพ @กรรมกรข่าวคุยนอกจอ

“สิ่งที่ควรมีคือ SMS Emergency Alert ค่ะ กระจ่ายข่าวถึงคนบริเวณนั้นเร็วสุดแล้วนะ เมืองไทยมีได้ยัง คนไม่มีทวิตไม่มีโซเชี่ยลไม่มีทางรู้ข่าวนี้ได้เลย อันตรายมาก ควรทำได้แล้วค่ะ เมืองไทยมีแจ้งเตือนแบบนี้กี่โมง #พารากอน” ตัวอย่างความเห็นจากผู้ใช้บัญชีโซเชียลท่านหนึ่งที่ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งมือให้มีระบบแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉินดังกล่าว พร้อมกับยกเหตุผล กรณีคนไม่เล่นโซเชียลจะไม่มีทรางทราบข่าวสะเทือนขวัญนี้ได้เลย

ทั้งนี้ หลายคนมีความเห็นตรงกัน หากมีระบบเอสเอ็มเอสอิเมอร์เจนซี่อเลิร์ท สิ่งสำคัญอันดับแรกเลย คือ จะช่วยลดความเสียหายหรือการสูญเสียได้อย่างมหาศาล

ยกตัวอย่างในต่างประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น ที่มีการใช้ระบบข้อความสั้นหรือ SMS แบบ Wireless Emergency Alerts (WEAs) ในการเข้ามาเตือนภัย ไม่ว่าจะเป็นภัยพิบัติธรรมชาติ แบบพายุเข้าหรือแผ่นดินไหว รวมไปถึงภัยจากการกระทำของมนุษย์ที่เป็นอุบัติเหตุ

Advertisements

ขณะที่ในประเทศเกาหลีใต้ ใช้ระบบแจ้งเตือน “ปริมาณฝุ่น PM 2.5” เป็นอันตรายก็มีเอสเอ็มเอสเป็น Emergency Alert ไว้คอยเตือนประชาชนในประเทศของตัวเอง

ไม่ใช่ครั้งแรกที่ประชาชนเรียกร้องระบบ SMS Emergency Alert จากรัฐบาล

ย้อนกลับไปวันที่ 22 ก.ย.2565 เว็บไซต์ change.org ได้มีการรรณรงค์แคมเปญ “น้ำท่วม สารเคมีรั่วนครปฐม และอีกหลายกรณี กสทช. ต้องทำระบบ SMS เตือนภัย” พร้อมกับระบุเนื้อหาไว้ว่าทำไมแคมเปญรณรงค์นี้ถึงมีความสำคัญ

เว็บไซต์ change o rg
ภาพจาก www.change.org

ขณะเดียวกันผู้ก่อตั้งแคมเปญดังกล่าวยังระบุไปถึง กสทช. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง ในฐานะองค์กรกำกับกิจการโทรคมนาคม การสื่อสารมวลชน และปกป้องสิทธิ์ของประชาชน ร่วมกับหน่วยงานที่มีระบบฐานข้อมูลภัยพิบัติ โดย กสทช. สามารถขอเชื่อมโยงข้อมูลกับเครือข่ายผู้ให้บริการมือถือ เพื่อทำข้อความสั้นหรือ SMS แบบ Wireless Emergency Alerts (WEAs) ในการเตือนภัย

สำหรับมือถือที่ลงทะเบียนในเขตเสาสัญญาณเครือข่ายบริเวณพื้นที่ที่เกิดภัยพิบัติได้ จึงควรต้องเป็นคนทำเรื่องดังกล่าว เพื่อพัฒนาระบบเตือนภัยพิบัติให้ประชาชนที่ได้รับผล กระทบในพื้นที่ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง และ ทันเวลา

ช่วงท้าย ผู้คิดค้นแคมเปญยังฝากข้อความทิ้งท้ายว่า “อย่ารอให้ใครต้องตายไป เพราะชีวิตของคนแพงกว่าค่าส่ง SMS และ เงินเดือน+เบี้ยประชุมของ กสทช. ได้รับในแต่ละเดือน” ก่อนที่นับจากวันที่แคมเปญดังกล่าวได้ออกมาเคลื่อนไหวนับถึงตอนนี้เวลาก็ผ่านมา 1 ปีเต็ม ๆ ปรากฏ ระบบแจ้งเตือนภัยผ่านข้อความทางโทรศัพท์มือถือในไทยก็ยังไม่มีทีท่าจะเป็นรูปเป้นร่าง

กระทั่งผู้คนต้องออกมาเรียกร้องในวันที่ 2 ชีวิต ยังไม่นับผู้บาดเจ็บ 5 ราย ต้องจากไป นี่จึงเป็นสิ่งที่สังคมและประชาชนจำนวนมากกำลังคาใจว่า ถ้าหากมีระบบแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉิน บางทีความสูญเสียอาจไม่ขยายวงกว้างเหมือนที่มีรายงานข่าวล่าสุด.

กราดยิงสยามพารากอน

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button