ชมวินาทีประวัติศาสตร์ “จันทรายาน-3” ยานสำรวจลำแรกโลก ลงจอดขั้วใต้ดวงจันทร์
จันทรายาน-3 สร้างประวัติศาสตร์เป็นยานสำรวจลำแรกของโลกลงจอดใกล้ขั้วใต้ดวงจันทร์ พร้อมเผยแพร่ภาพถ่ายชุดแรก ย้อนดูวินาทีประวัติศาตร์ ส่ง อินเดีย แซงหน้าชาติมหาอำนาจอวกาศอื่น
วันที่ 24 สิงหาคม 2566 รายงานจากกรุงนิวเดลีของอินเดีย ระบุ องค์การวิจัยอวกาศอินเดีย หรือ ไอเอสอาร์โอ (ISRO) ได้ทำการเผยแพร่ชุดภาพถ่ายพื้นผิวบริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์ บันทึกโดยยานสำรวจจันทรายาน-3 (Chandrayaan-3) ซึ่งลงจอดใกล้กับขั้วใต้ของดวงจันทร์ ตามกำหนดการ เมื่อเวลา 18.04 น. ตามเวลาท้องถิ่นของวันพุธที่ผ่านมา หรือตรงกับ 19.34 น. ตามเวลาในประเทศไทย
ทั้งนี้ ยานสำรวจลำดังกล่าวเข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์ได้สำเร็จ วันที่ 5 ส.ค.66 ที่ผ่านมา หลังเดินทางออกไปจากโลก เมื่อวันที่ 14 ก.ค.2566 ความสำเร็จดังกล่าวทำให้อินเดียเป็นประเทศที่ 4 ในประวัติศาสตร์โลกที่ประสบความสำเร็จกับการส่งยานสำรวจลงจอดบนพื้นผิวของดวงจันทร์ ต่อจาก สหรัฐ , สหภาพโซเวียตหรือ “รัสเซีย” ในปัจจุบัน และจีน
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของภารกิจจันทรายาน-3 นั้น ก็ส่งอินเดียเป็นประเทศแรกของโลกที่สามารถส่งยานสำรวจลงจอด บริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์ได้สำเร็จ.
ขอบคุณคลิป : ISRO – Indian Space Research Organisation (@ISRO).
ขอบคุณคลิป : Indian spacecraft lands on the moon (@SkyNews).
สำนักข่าวบีบีซีของอังกฤษ เผยแพร่แถลงของนายนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย หลังยานจันทรายานลงจอดสำเร็จ โดยเป็นการกล่าวถึงภารกิจดวงจันทร์ที่ประสบความสำเร็จของอินเดีย ไม่ใช่เพียงของอินเดียประเทศเดียว
“แนวทางที่มีมนุษยชาติเป็นศูนย์กลางนี้ คือ โลกหนึ่งใบ หนึ่งครอบครัว อนาคตหนึ่งเดียวที่กำลังก้องกังวานไปทั่วโลก” นเรนทรา นายกรัฐมนตรีอินเดีย ระบุ.
- ฮือฮา ยานสำรวจจีน จับภาพวัตถุปริศนาบนดวงจันทร์
- นาซาเผยภาพ รังสีดวงอาทิตย์
- NASA ปล่อยคลิปสุริยุปราคาบนดาวอังคาร