ข่าวข่าวการเมือง

รู้จัก ‘มาตรา 272’ กฎหมายค้ำอำนาจ ส.ว. ประตูสู่อนาคต นายก คนต่อไปของไทย

ไขข้อข้องใจ มาตรา 272 คืออะไร มีไว้เพื่อใคร กฎหมายค้ำ สมาชิกวุฒิสภา ที่หลายพรรคการเมืองหนุนแก้ นายกลากตั้ง งดออกเสียงกันพรึบ

กำลังเป็นประเด็นร้อนทั้งประเทศ หลังในวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา ในการโหวตเลือกนายกคนที่ 30 ของประเทศไทยที่มาการเสนอชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ นั้นต้องได้คะแนนเสียงเกิน 376 เสียงจากทั้ง 750 เสียง แบ่งเป็นสมาชิกวุฒิสภา 250 คน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 500 คน

งานนี้หลังจากการโหวตรอบแรก หลายคนต่างตั้งข้อสงสัยถึง สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 159 คนจาก 250 คนที่โหวต งดออกเสียง คราวนี้ Thaiger จึงขอพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ มาตรา 272 (ม.272) กฎมหายค้ำ ส.ว. ที่อาจเป็นเหตุผลของการงดออกเสียงในครั้งนี้ก็เป็นได้

มาตรา 272 คืออะไร กฎหมายค้ำ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)

“ในระหว่างห้าปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ (รัฐบาลของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) การให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้ดำเนินการตาม มาตรา 159 เว้นแต่การพิจารณาให้ความเห็นชอบตามมาตรา 159 วรรคหนึ่ง ให้กระทำในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา และมติที่เห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 159 วรรคสาม ต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่ง (376 : 750 คะแนน) ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา”

“ในระหว่างเวลาตามวรรคหนึ่ง หากมีกรณีที่ไม่อาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88 ไม่ว่าด้วยเหตุใด และสมาชิกของทั้งสองสภา (ส.ส./ส.ว.) รวมกันจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา เข้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภาขอให้รัฐสภามีมติยกเว้นเพื่อไม่ต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88 ในกรณีเช่นนั้น ให้ประธานรัฐสภาจัดให้มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาโดยพลัน และในกรณีที่รัฐสภามีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า สองในสาม ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาให้ยกเว้นได้ ให้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งต่อไป โดยจะเสนอชื่อผู้อยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88 หรือไม่ก็ได้” – รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 20 พุทธศักราช 2560 กล่าว

จากข้อความข้างต้น มาตรา 272 หรือ ม.272 เริ่มต้นครั้งแรกมาจาก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 20 พุทธศักราช 2560 สรุปได้ว่า “นายกฯคนนอก” โดยกำหนดว่า กรณีที่ไม่อาจตั้งนายกรัฐมนตรีจากรายชื่อที่พรรคการเมืองเสนอไว้ได้ (นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์) สมาชิกของสภาทั้ง ส.ส. และ ส.ว. อาจรวมกันไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง หรือ 376 คน จาก 750 คน เพื่อเสนอให้มีนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งได้

หากรัฐสภาซึ่งประกอบไปด้วย ส.ส. และ ส.ว. ลงมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 หรือ 500 คน จาก 750 คน ก็จะสามารถ เชิญใครมาเป็นนายกรัฐมนตรีก็ได้

ทำไมหลายพรรคถึงอยากแก้ มาตรา 272 ?

เมื่อปี พ.ศ. 2564 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นำรายชื่อประชาชนผู้ริเริ่มลงนามขอแก้ไขกฎหมาย 45 รายชื่อ ยื่นต่อเลขานุการประธานรัฐสภา เพื่อขอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 272 ตัดอำนาจ ส.ว. ในการโหวตเลือกนายกฯ สาเหตุจากจุดมุ่งหมายทางความเห็นชอบของฝ่าย ส.ว. ชุดปัจจุบันมาจากการแต่งตั้งโดย คสช. ต่างจาก ส.ส. ที่ได้รับเลือกมาจากประชาชน

ใจความคืออำนาจของ ส.ว. ในมาตรา 272 ที่ระบุถึงการให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีว่า ให้กระทำในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา จากเดิมที่ใช้เพียง ส.ส. เพียงอย่างเดียว

มีผู้วิเคราะถึงความเป็นได้ หากมีมาตาร 272 นี้อยู่ว่า “การมีมาตรา 272 ไม่มีประโยชน์ต่อหลักปฏิบัตินิยม เสี่ยงทำลายประชาธิปไตย เพราะหากมีพรรคการเมืองรวมตัวกันได้แค่ 200 เสียง และมีพรรคการเมืองอีกฝั่งหนึ่งรวมตัวกันได้ 300 เสียง แล้ว 200 เสียงร่วมกับ 250 เสียงของ ส.ว. ดันทุรังตั้งรัฐบาล”.

ที่มา 1 2

baesittichot

นักเขียนสายฮาอารมณ์ดี ไลฟ์สไตล์ เรื่องน่ารู้ทั่วไป ตามติดเทรนด์ฮิตที่ห้ามพลาด อัปเดตข่าวเศรษฐกิจ การเงิน ประสบการณ์งานเขียนมากกว่า 1 ปี ชอบเม้าท์มอย ส่งต่อเรื่องราวน่าสนใจผ่านตัวอักษร ผลงานทุกชิ้นจึงเป็นเหมือน 'เพื่อน' ที่อยากเล่าสิ่ง ๆ ต่างให้คุณได้รู้เป็นคนแรกเสมอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button