ข่าวภูมิภาค
เปิดศูนย์การแพทย์เขาหลักและศูนย์รับแจ้งเหตุ เพื่อผู้ประสบภัยในท้องทะเลอันดามันและทางบก
วันนี้ ( 11 พ.ค.) ที่ศูนย์การแพทย์เขาหลักและศู นย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวั ดพังงา (Andaman Hub Medical Network) ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์โสภณ เมฆธน ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่ าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดศูนย์การแพทย์เขาหลักและศู นย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวั ดพังงา (Andaman Hub Medical Network) การซ้อมระบบชายหาดปลอดภัย (Safety Beach) และซ้อมแผนบูรณาการช่วยเหลือผู้ บาดเจ็บและจมน้ำจากเรือชนกับหิ นใต้น้ำ
นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายในการพัฒนาระบบบริ การสาธารณสุขทางทะเลและเกาะ 23 จังหวัดชายทะเล ดูแลประชาชนและนักท่องเที่ยวที่ มีประมาณ 35 ล้านคนต่อปี ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน รักษา ฟื้นฟูสภาพ รวมทั้งจัดบริการพิเศษทางสุขภาพ หรือ พรีเมี่ยม เซอร์วิส ในพื้นที่ท่องเที่ยวทางทะเล เพื่อสร้างงานสร้างรายได้เข้ าประเทศเพิ่มขึ้น และจัดระบบการแพทย์ฉุกเฉิ นทางทะเล (Maritime ECS : Maritime Emergency Care System) พัฒนาศักยภาพหน่วยบริการให้ สามารถดูแลผู้บาดเจ็บ/ป่วยฉุ กเฉินทางทะเล และโรคที่พบบ่อย ตั้งเป้าหมายประชาชนและนักท่ องเที่ยวทางทะเลร้อยละ 80 ได้รับการดูแลให้มีความปลอดภั ยหากเจ็บป่วย/ฉุกเฉินทางทะเล เสียชีวิตจากเหตุฉุกเฉินลดลงร้ อยละ 25จาก 139 คนเหลือไม่เกิน 100 คน การเจ็บป่วยจากโรคที่พบบ่ อยลดลงร้อยละ 30 สร้างรายได้จากการลงทุนบริ การระดับพรีเมี่ยม ปีละ 70 ล้านบาท และความเชื่อมั่นของประเทศอยู่ ในอันดับ 1 ของอาเซียนภายในปี 2564 ตามร่างยุทธศาสตร์การสาธารณสุ ขทางทะเลระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560 – 2564)
สำหรับพื้นที่ชายฝั่งทะเลอั นดามัน ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้ รับความนิยมจากชาวต่างชาติ ได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครั ฐและเอกชน จัดทำโครงการจัดตั้งศูนย์ตอบโต้ ภาวะฉุกเฉินทางทะเล และจัดตั้งศูนย์การแพทย์เขาหลั ก“Andaman Hub Medical Network”จังหวัดพังงา เป็นศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่ งการแบบบูรณาการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในท้ องทะเลอันดามัน ให้ได้รับบริการทางการแพทย์ มาตรฐานระดับสูง ช่วยสร้างรายได้จากอุตสาหกรรมท่ องเที่ยวให้กับพื้นที่และประเทศ
ผลการดำเนินงานตั้งแต่เปิดให้ บริการ ณ ศูนย์ชั่วคราว (ศูนย์การแพทย์เขาหลัก) เมื่อเดือนมีนาคม 2560 จนถึงปัจจุบัน ให้บริการรวม 5,466 ราย เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ประมาณร้อยละ 28 ในจำนวนนี้ รับจากจุดเกิดเหตุทั้ งทางบกและทางทะเลประมาณร้อยละ 10 ด้วยรถพยาบาลฉุกเฉิน และเรือพยาบาลฉุกเฉิน (Boat Ambulance) ของฐานทัพเรือพังงา 3 ลำ ที่ได้จากโครงการ Andaman Hub Medical Network ที่ประจำ ณ หมู่เกาะสุรินทร์ และหมู่เกาะสิมิลัน สามารถช่วยชีวิตนักท่องเที่ ยวเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติชาวอั งกฤษ ชาวเยอรมัน และชาวจีน ที่ประสบภาวะจมน้ำและน๊อคน้ำให้ รอดชีวิตได้ทั้ง 5 ราย (100%)
โครงการ “Andaman Hub Medical Network” เป็นความร่วมมือของหน่วยงานในพื้ นที่รวม 21 แห่ง เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา ฐานทัพเรือพังงา กองบังคับการตำรวจภูธร จ.พังงา องค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน และสภาอุตสาหกรรม จ.พังงา เป็นต้น เพื่อสร้างมาตรฐานการดูแลนักท่ องเที่ยวด้วยระบบการแพทย์ฉุกเฉิ นก่อนถึงโรงพยาบาล ตั้งแต่จุดเกิดเหตุ การตรวจสอบเหตุ การเผชิญเหตุ การเข้าถึงเหตุ ดูแลเหตุ และนำส่งผู้บาดเจ็บจากจุดเกิ ดเหตุไปรักษาต่ออย่างมีประสิทธิ ภาพไร้รอยต่อ เช่น การใช้เรือ Ambulance ช่วยเหลือนักท่องเที่ยว ณ อุทยานฯ หมู่เกาะสิมิลัน และมีศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิ นเขาหลักที่มีศักยภาพในการดู แลรักษาผู้ป่วย/บาดเจ็บฉุกเฉิน วินิจฉัยโรคขั้นสูง ช่วยชีวิต ลดความพิการ