ข่าว

‘เจอ แจก จบ’ คืออะไร ? หลังสปสช.แนะติดโควิดไม่มีอาการให้รักษาแบบผู้ป่วยนอก

เจอแจกจบคือ ทำความรู้จัก การรักษาผู้ป่วยนอก Covid-19 รูปแบบผู้ป่วยนอกร่วมกับการแยกกักตัวที่บ้าน หลัง สปสปช.ออกมาย้ำช่องทางการลงทะเบียน

วันที่ 7 มีนาคม 2565 เชื่อว่าหลายคนยังมีคำถามว่า การรักษาผู้ป่วยนอก Covid-19 รูปแบบผู้ป่วยนอกร่วมกับการแยกกักตัวที่บ้าน (outpatient with Self Isolation) คืออะไร ? หลัง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) แนะนำผู้ติดเชื้อไม่มีอาการ ไม่มีความเสี่ยง รักษาแบบผู้ป่วยนอก “เจอ แจก จบ” ยืนยัน ไม่เสียค่าใช้จ่าย

Advertisements

การรักษาโควิก 19 แบบผู้ป่วยนอก “เจอ แจก จบ คืออะไร ?

เป็นการดูแลรักษาทางเลือก ผู้ติดเชื้อสมัครใจ – ประเมินอาการแล้วรับยาที่คลินิกค ARI พิจารณาให้ยาตามอาการ

  • เจอ คือ เจอการติดเชื้อโควิค 19
  • แจก คือ แจกยาตามอาการ
  • จบ คือ ผู้ป่วยเข้าระบบการรักษาและอยู่ภายใต้การดูแลของบุคลากรทางการแพทย์

การคัดกรองเข้ารับบริการโควิด 19 แบบผู้ป่วยบอก

1. หากมีอาการของระบบทางเดินหายใจ มีประวัติสัมผัสผู้ติดเชื้อ ให้ประเมินอาการด้วยตนเอง

2. ถ้าเข้าข่ายสงสัย ตรวจ คTR ด้วยตนเอง

Advertisements

3. ผลเป็นบวก โทรสายค่วย 1330 หรือ ค8I/PUI clinic ประเมินภาวะเสี่ยงและความพร้อม

4. กรณีไม่มีภาวะเสี่ยง และมีความพร้อม สามารถรับบริการแบบผู้ปวยนอก และแยกกักตัวที่บ้านได้

5. กรณีมีภาวะเสี่ยง และอาการไม่มาก สามารถเข้าระบบดูแลแบบ Home Isolation(HI). Community Isolation(CI), Hotel Isolation หรือ Hospitel ตามความสมัครใจของผู้ติดเชื้อ

6. กรณีมีภาวะเสี่ยง อาการมากและอาการรุนแรง จะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

ความแตกต่างของรูปแบบการรักษา

แม้ในการรักษาแบบผู้ป่วยนอกร่วมกับการแยกกักตนเองที่บ้าน (OP with Self Isolation) และ Home Isolation (HI) ผู้ป่วยจะพักรักษาตัวที่บ้านเหมือนกัน แต่ 2 ระบบนี้มีกิจกรรมการรักษาต่างกัน คือ

  • การโทรติดตามอาการ แบบ OPD โทรเพียงครั้งเดียวที่ 48 ชั่วโมง ในขณะที่ HI จะมีการโทรติดตามอาการทุกวัน
  • อุปกรณ์ตรวจประเมิน เช่น เทอร์โมมิเตอร์ เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว แบบ OPD ไม่มีให้ แต่ HI จะได้รับอุปกรณ์เพื่อติดตามอาการประจำวัน
  • บริการอื่นๆ แบบ OPD ไม่มีบริการอาหาร 3 มื้อ แต่ HI จะมีบริการให้

กิจกรรมการรักษาที่ยังเหมือนกัน มีดังนี้

– การแยกกักตัวที่บ้าน ทั้ง OPD และ HI จะต้องแยกกักตนเองจนครบตามกำหนด (จากเดิมที่เคยมีข่าวว่า แบบ OPD ไม่ต้องกักตัว) ซึ่งปัจจุบันคือ 10 วันนับจากวันที่เริ่มมีอาการหรือตรวจพบเชื้อ

– การจ่ายยาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ไอ ส่วนผู้ป่วยที่ไม่มีอาการไม่จำเป็นต้องได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ เพราะส่วนมากหายได้เอง แต่อาจได้รับยาฟ้าทะลายโจรตามดุลยพินิจของแพทย์

– ระบบส่งต่อเมื่อมีอาการแย่ลง หากมีอาการมากขึ้น ผู้ป่วยสามารถติดต่อกลับมายังโรงพยาบาล และจะได้รับการส่งต่ออย่างทันท่วงที

เจอ จ่าย จบ ผู้ป่วยโควิด
ภาพ Facebook กรมการแพทย์

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button