ข่าวแบงก์พันปลอมต่างประเทศระบาดเข้าไทย พบเป็นเฟกนิวส์
ข่าวปลอม อย่าแชร์ แบงก์พันปลอมหมายเลขเดียวกันจากต่างประเทศระบาดเข้าไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง ตรวจสอบข็อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลเท็จ
จากกรณีที่โลกออนไลน์มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับ แบงก์พันปลอมหมายเลขเดียวกันจากต่างประเทศระบาดเข้าไทย ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น “เป็นข้อมูลเท็จ”
กรณีข้อความเตือนภัยเรื่องธนบัตรปลอม มูลค่า 1,000 บาทไทย หมายเลขเดียวกันทั้งหมด ระบาดทั่วประเทศไทย ทางธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง ได้ชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นในขณะนี้ ซึ่งภาพตามที่เป็นข่าว คือภาพเหตุการณ์การจับกุมธนบัตรปลอมที่ จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 21 ฉบับ ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2558 โดยภาพข่าวดังกล่าวถูกนำมาเผยแพร่วนซ้ำเป็นระยะๆ โดย เปลี่ยนแปลงข้อความในข่าว ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้เคยชี้แจงข่าวดังกล่าวนี้แล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2559 ว่า ไม่เป็นความจริง
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.bot.or.th หรือโทร. 02-356-7799
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ไม่เป็นความจริง เนื่องจากเป็นการนำภาพข่าวเก่ามาเผยแพร่ซ้ำและเปลี่ยนแปลงข้อความใหม่
- แบงค์ชาติ ไม่สนับสนุนใช้คริปโตเคอร์เรนซี ชำระค่าสินค้าและบริการ
- รัฐย้ำ! ไม่ได้ห้ามเอกชนซื้อวัคซีน แต่วัคซีนผลิตไม่พอยอดสั่ง -ระวังปัญหาวัคซีนปลอม
- ธปท. แจง ธนบัตรที่ระลึกแบบใหม่ ไม่มีดาวยูไรอัน ก็ปลอมยาก