เทคโนโลยี

AVEVA – 5 แนวทางใช้เทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน จากตัวอย่างของบริษัทต่าง ๆ

AVEVA นำเสนอถึง แนวทางใช้เทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน ทั้งหมด 5 ประการ โดยยกตัวอย่างจากบริษัทที่มีการใช้งานในแนวทางนั้นจริง ๆ

บริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมระดับโลกกำลังใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้แก่ห่วงโซ่คุณค่า โดยคุณ Lisa Johnston ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายความยั่งยืนของ AVEVA ได้อธิบายถึงตัวอย่างการใช้งานจริงของ แนวทางใช้เทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน ด้วยกันทั้งหมด 5 ตัวอย่าง

ความยั่งยืนกลายเป็นหลักการสำคัญของกลุ่มธุรกิจทั่วโลกยึดถือ เนื่องจากมีบทบาทในการเพิ่มประสิทธิภาพของทรัพยากร พัฒนาความยืดหยุ่นในธุรกิจ และสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียว่าจะสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปในอนาคตได้ จากงานวิจัยล่าสุดที่ได้รับการสนับสนุนจาก AVEVA กล่าวว่า บริษัทจำนวน 9 ใน 10 แห่งมีแผนที่จะเร่งดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนได้ภายในปีหน้า รวมถึงผู้ตอบแบบสำรวจ 90% คิดว่า การเปลี่ยนโฉมด้วยดิจิทัลเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนได้

ในแต่ละสายธุรกิจ บริษัทต่างกำลังส่งสัญญานอันดีในการเริ่มประยุกต์ใช้หลากหลายเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น บิ๊กดาต้า คลาวด์คอมพิวติ้ง และระบบวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ เป็นต้น ในงานประชุม AVEVA PI World Digital ที่จัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ ผู้เข้าร่วมการประชุมได้รับฟังแนวทางที่เทคโนโลยีขั้นสูงมีส่วนสนับสนุนภารกิจ 1.5°C Pathway จากกลุ่มวิทยากรเป็นครั้งแรก

เราจึงได้รวบรวมแนวทางต่าง ๆ จากการประชุมที่สามารถนำไปปรับใช้สำหรับกลุ่มธุรกิจที่กำลังมองหาเครื่องมือดิจิทัลเฉพาะทางเพื่อสร้างความยั่งยืนดังนี้

ประหยัดพลังงาน 21% และลดช่วงเวลาที่ระบบขัดข้องในสายการผลิตได้ถึง 44%

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เช่น ระบบอินเทอร์เน็ตออฟธิง (IoT) และการสื่อสารระหว่างเครื่องจักร (machine-to-machine communication) ได้พลิกโฉมหน้าการผลิตและโรงงานผลิต จากกระบวนการที่ได้กล่าวมานี้ ระบบได้ถูกปรับให้เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและความยืดหยุ่น ลดความเสี่ยง เพิ่มความสามารถในการทำกำไร และลดของเสีย

นอกจากนี้ ณ เมืองBatam ประเทศอินโดนีเซีย AVEVA ร่วมมือกับบริษัท Schneider Electric พัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับการบริหารแบบลีน (LEAN) ให้กลุ่มโรงงานที่ผลิตพลังงานและผลิตภัณฑ์อัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น โดยเมื่อไรก็ตามที่ทีมดูแลอุปกรณ์อำนวยความสะดวกมีข้อมูลพร้อมอยู่ในมือเสมอ ด้วยการใช้ระบบติดตามประสิทธิภาพแบบเรียลไทม์และการแจ้งเตือนทางดิจิทัล (digital escalation) เพื่อให้สามารถตัดสินใจที่รวดเร็วยิ่งขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้บริษัทก็จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานได้

โดยมีช่วงเวลาหยุดทำงานลดลง 44% มีการส่งมอบให้ลูกค้าตรงเวลาเพิ่มขึ้น 40% และสามารถประหยัดพลังงานเพิ่มขึ้น 21% อีกทั้งโรงงานแห่งนี้ยังได้รับการยอมรับว่าเป็นโรงงานหนึ่งในหน่วยงานอุตสาหกรรมที่มีความก้าวหน้าที่สุดในโลก และได้รับการขนานนามให้เป็นไลท์เฮาส์ (Lighthouse) แห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (4IR) จาก World Economic Forum Lighthouse อีกด้วย

ทั้ง 80 หน่วยเชื่อมต่อถึงกันเพื่อการทำงานข้ามพรมแดน

บริษัท Neste ใช้นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดผลลัพธ์อันยั่งยืนครอบคลุมทั่วทั้งธุรกิจของตนเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางของคาร์บอน (carbon neutrality) ภายในปี 2578 โดยได้เริ่มใช้โซลูชัน Unified Supply Chain ของ AVEVA ในระบบคลาวด์ซึ่งถือเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลครั้งสำคัญ ประกอบกับการที่บริษัทมีสถานที่ปฏิบัติงานหลายแห่งรวมถึงหน่วยประมวลผลมากกว่า 80 หน่วย การประสานงานระหว่างหน่วยงานจึงมีความซับซ้อน แต่ด้วยประสิทธิภาพของคลาวด์ในการวิเคราะห์และจัดโครงสร้างข้อมูล พนักงานของบริษัทผู้ผลิตน้ำมันดีเซลและน้ำมันเครื่องบินที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ได้รายใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้สามารถพึ่งพาแหล่งความจริง (source of truth) ได้จากเพียงแหล่งเดียว

โดยแต่ละทีมจากหลากหลายแผนกจะใช้ข้อมูลดังกล่าวในการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุมทั่วทั้งเครือข่ายได้จากทุกหนทุกแห่ง บริษัทจึงสามารถปรับการผลิตให้เหมาะสมได้โดยอัตโนมัติ รวมถึงพร้อมตัดสินใจและวางแผนการผลิตทั้งหมด ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในพื้นที่ทางดิจิทัลเพียงแห่งเดียวผลลัพธ์ของธุรกิจเพิ่มขึ้นและของเสียก็ลดลง ช่วยให้บริษัท Neste เดินเข้าใกล้เป้าหมายมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้สามารถกำหนดอนาคตของพลังงานได้อีกด้วย

กังหันลม 1,000 ตัวช่วยให้การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

การเชื่อมต่อ IoT ในอุตสาหกรรมช่วยเก็บและรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานจากแหล่งที่มาหลากหลาย เมื่อข้อมูลนี้ถูกส่งกลับไปยังกระบวนการออกแบบ เราจึงเห็นว่า เราจะสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมแบบใหม่เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยใช้ทรัพยากรน้อยลงได้อย่างไร

บริษัทพลังงานหมุนเวียน Ørsted ที่กำลังจะกลายเป็นบริษัทที่มีคาร์บอนเป็นกลางภายในปี 2568 ได้นำการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์มาใช้วิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรมจากทุ่งกังหันลมนอกชายฝั่งกว่า 1,000 ตัว ผลลัพธ์ที่ส่งกลับมาจึงช่วยเผยแนวทางใหม่ ๆ ในการผลิตสินทรัพย์ในอนาคต ด้วยเหตุนี้นวัตกรรมจะเป็นกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง และเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น AI และบิ๊กดาต้าสามารถช่วยทำให้กระบวนการดังกล่าวง่ายขึ้น

ช่วยลดเวลาในการตอบสนองให้เร็วขึ้น 60%

Nava Raipur เมืองอัจฉริยะสีเขียวแห่งแรกของอินเดียได้รับการออกแบบและสร้างขึ้นใหม่ทั้งหมดจากองค์ความรู้ล่าสุดและล้ำสมัยที่สุด ศูนย์สั่งการและควบคุม (ICCC) แบบผสานรวมที่สร้างขึ้นจากเทคโนโลยี Unified Operations Center ของ AVEVA ช่วยให้เจ้าหน้าที่สื่อสารกันได้ดีขึ้น ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน และตัดสินใจให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้จากข้อมูลที่ได้รับแจ้งมาได้ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว เจ้าหน้าที่เทศบาลสามารถตรวจตราดูถนนและการจราจร น้ำ น้ำเสียและการใช้ไฟฟ้า กิจกรรมทางสังคม ระบบรักษาความปลอดภัย รวมถึงการใช้พลังงานของภาครัฐและของผู้อยู่อาศัยในเมืองได้โดยตรง

โดยอินเทอร์เฟซแบบจอเดี่ยว (single-pane-of-glass interface) นี้ยังเอื้อประโยชน์อย่างมากให้แก่ผู้อยู่อาศัย ภายในจอจะรวมบริการต่าง ๆ สำหรับพลเมืองทั้งหมดไว้ภายในแอปพลิเคชันมือถือที่ใช้งานง่าย ซึ่งสามารถใช้ชำระค่าใช้จ่าย สมัครการเชื่อมต่อระบบสาธารณูปโภคหรือทำเรื่องออกใบอนุญาตการใช้ที่ดิน และรับข่าวสารใหม่ได้ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันไม่เว้นวันหยุด ระบบการกำกับดูแลอัจฉริยะยังช่วยลดการหยุดชะงักของการให้บริการและลดเวลาตอบสนองต่อเหตุวิกฤตโดยเฉลี่ย 60% มากกว่านั้น ICCC ยังเข้ามามีบทบาทในช่วงการล็อกดาวน์จากการระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัส ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารระหว่างหน่วยงานเทศบาลกับประชาชนในเมือง Nava Raipur พร้อมไปกับการช่วยสนับสนุนมาตรการกักตัวอีกด้วย

จัดการฝึกอบรมให้แก่ผู้ปฏิบัติงานกว่า 2,000 คนแบบออนดีมานด์ได้อย่างคล่องตัวและประหยัดต้นทุน

เมื่อมีการประยุกต์ใช้เครื่องมือใหม่ทั่วทั้งร้านค้า ผู้ปฏิบัติงานจำนวนมากขึ้นต้องได้รับการฝึกอบรมในสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก เครื่องจำลองการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานบนคลาวด์ (OTS) เป็นโซลูชันที่ปรับขนาดได้ ยืดหยุ่น และช่วยประหยัดต้นทุนซึ่งสามารถขยายขีดความสามารถในการฝึกอบรมโดยไม่ต้องเสียเงินหลายล้านบาทในการเดินทางของพนักงาน และยังช่วยลดเวลาการฝึกอบรมสำหรับพนักงานใหม่

นอกจากนี้ OLEUM ซึ่งเป็นศูนย์ฝึกอบรมธุรกิจพลังงานแห่งยุโรปของ TotalEnergies ได้ผสานรวมโซลูชัน OTS ของAVEVA ที่สร้างขึ้นบน Microsoft Azure เข้ากับระบบการจัดการการเรียนรู้ขององค์กร เพื่อให้พนักงานมีโปรแกรมการเรียนรู้เสมือนจริงที่สมจริง โดยสามารถเพิ่มโมเดล ผู้ใช้งาน และภูมิภาคใหม่เข้าไปในโปรแกรมได้ตลอดเวลาด้วยต้นทุนเพียงเล็กน้อย ในแต่ละปีมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานมากกว่า 2,000 รายทั่วโลกได้รับการฝึกอบรมแบบเสมือนจริง โดยลดเวลาในการสอนจากเดือนเหลือเป็นสัปดาห์ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการเดินทางและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมก็ลดลง ปลอดภัยมากขึ้น และเวลาหยุดทำงานลดลงอีกด้วย

ในขณะที่ทั่วโลกมุ่งสนใจไปที่เรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น กลุ่มธุรกิจต่างถูกกระตุ้นให้เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นในการพัฒนาธุรกิจของตนให้เกิดความยั่งยืนแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกราย การจะปรับปรุงมาตรฐานการดำเนินงานให้เกิดความยั่งยืนนั้นต้องใช้วิธีคิดแบบใหม่ซึ่งจะเห็นได้จากตัวอย่างทั้งหลายที่กล่าวมา โดยโซลูชันดิจิทัลจะช่วยให้เกิดความอัจฉริยะในการจัดการขึ้นได้ซึ่งจำเป็นสำหรับนวัตกรรมที่มีความยั่งยืนทั่วทั้งระบบนิเวศของอุตสาหกรรม

 

แหล่งที่มาของข่าว : AVEVA

สามารถติดตามข่าวธุรกิจเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ข่าวธุรกิจ

 

Thaiger deals

N. Siripariyasak

นักเขียนคอนเทนต์ จับประเด็นด้านเศรษฐกิจ-การเงิน, เทคโนโลยี, ไอที และเกมส์ อัปเดตข่าวทั้งจากในประเทศไทย และต่างประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button