สาวปรี๊ดแตกโดนใบสั่ง ‘ล้อล้น’ โพสต์ล่าคนร้องเรียน มีสิทธิอะไรมาถ่ายรูปรถคนอื่น
ล้อล้นแจ้งขนส่งได้ไหม ? สาวปรี๊ดแตก โดนใบสั่งหลังถูกถ่ายภาพไปร้องเรียน โพสต์ล่าตัวพลเมืองดี อ้างมีสิทธิอะไรมาถ่ายรูปรถคนอื่น
ต้นตอของดราม่าสาวปรี๊ดแตก โพสต์ล่าตัวพลเมืองดีนี้ ถูกเผยแพร่โดยทวิตเตอร์ @RedSkullxxx ซึ่งได้มีการแชร์เรื่องราวของหญิงสาวรายหนึ่งที่โพสต์ภาพรถกระบะซึ่งมีล้อยางโผล่ออกนอกรถ และหนังสือจากสำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ แจ้งความผิดเกี่ยวกับรถยนต์ หลังมีผู้ถ่ายภาพส่งไปร้องเรียนว่ารถของเธอนั้นเข้าข่ายลักษณะผิดกฎหมาย ล้อล้น ทางสำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงใหม่จึงแจ้งให้ผู้ครอบครองนำรถไปตรวจสอบพร้อมชี้แจงข้อเท็จจริง และพิจารณาโทษตามกฎหมาย
โดยหญิงสาวเจ้าของโพสต์ ได้โพสต์ข้อความในลักษณะเผ็ดร้อน ตามหาผู้ที่ถ่ายรูปรถของตนเองไปร้องเรียน “#ประกาศตามหาคนที่ถ่ายรูปรถ ผิดกฎหมายนะคะ ถึงคุณจะเอาไปร้องเรียนขนส่งหรืออะไรก็ตามแต่ อยากได้เงิน 500 เหรอคะ มาเอาค่ะ ทักแชทมา พร้อมขึ้นโรงพัก ด้วยกันค่ะ เราก้อจะแจ้งข้อหาคุณ มีสิทธิ์อะไร มาถ่ายรถคนอื่นไปร้องเรียนคะ??? มันล้น จนไปเหยียบxxx คุณเหรอคะ #ประกาศตามหา #พร้อมดำเนินคดี (ล้นต้องบานกว่านี้ค่ะ บ้านxxไม่เรียกล้อล้น)”
ล้อล้นแค่ไหนผิดกฎหมาย ?
ทั้งนี้ อ้างอิงข้อมูลจากกรมการขนส่งทางบก ในประเด็นของล้อล้นแค่ไหนผิดกฎหมาย ระบุว่า ล้อรถด้านท้ายจะยื่นออกมาจากตัวถังรถได้ไม่เกิน 15 เซนติเมตร และขอบยางด้านนอกสุดห้ามยื่นออกมาเกินตัวถังรถ ถ้ายื่นเกินตัวถังรถ แสดงว่าได้เปลี่ยนแปลงส่วนหนึ่งส่วนใดของรถ ซึ่งกฎหมายกำหนดว่า ห้ามมิให้เปลี่ยนแปลงส่วนใดส่วนหนึ่งให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้และใช้รถนั้น
ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ ระบุว่า บังโคลนที่ล้อทุกล้อจะต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่าขนาดของยางรถ ดังนั้น ถ้าล้อยื่นออกมานอกบังโคลน จึงเป็นเรื่องที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย เพราะใช้รถที่มีส่วนควบหรืออุปกรณ์ไม่ถูกต้อง
การเปลี่ยนขนาดของยางให้เพิ่มขึ้นหรือลดลง จะต้องไม่ทำให้ขีดความสามารถในการรับน้ำหนักของยางน้อยไปกว่าเดิม มาตรวัดความเร็วของรถมีความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 10% ระบบบังคับเลี้ยวต้องทำงานปกติ และเมื่อบรรทุกเต็มอัตราบรรทุกต้องไม่เกิดการเสียดสีหรือติดขัดกับตัวถังหรืออุปกรณ์ต่างๆ ของรถ และต้องไม่ทำให้ระดับความสูงของโคมไฟหน้า โคมไฟท้ายและโคมไฟอื่นๆ ต่ำกว่าหรือสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด
หากฝ่าฝืนจะมีความผิดมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท อ้างอิงข้อกฎหมาย พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 5 มาตรา 12 มาตรา 14 มาตรา 58 มาตรา 60 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 6 กฎกระทรวง กำหนดส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถ พ.ศ. 2551 ข้อ 3 กฎกระทรวง กำหนดลักษณะ ขนาด หรือกำลังของเครื่องยนต์ และของรถที่จะรับจดทะเบียนเป็นรถประเภทต่างๆ พ.ศ. 2548 ข้อ 5 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 และ ข้อ 19 ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยหลักเกณฑ์การขออนุญาตให้ใช้รถที่ทำการแก้ไขเพิ่มเติมหรือดัดแปลงตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ.2562
- อึ้ง หญิงวัย 58 โดนใบสั่ง 336 ครั้ง ไม่เคยจ่ายแม้แต่ครั้งเดียว ตำรวจจับถึงบ้าน
- ตร. บุกถึงบ้าน! หนุ่มใหญ่สะสม ใบสั่ง 96 ใบ แต่ไม่ไปจ่าย
- ใบสั่งจราจร รูปแบบใหม่ มาแล้ว จ่ายผ่านธนาคารได้