กล้องดูดาว สัญญาณวิทยุ จากหนัง เจมส์ บอร์น ได้ถล่มลงเมื่อวันที่ผ่านมา
กล้องดูดาว สัญญาณวิทยุ ขนาดยักษ์ ประจำหอดูดาวอาเรซีโบ ประเทศเปอร์โตริโก ที่เคยเป็นที่ถ่ายทำภาพยนต์ เจมส์ บอร์น ได้ทำเกิดการถล่มลงในช่วงเช้ามืด วันที่ 1 ธ.ค. โดยไม่มีผู้บาดเจ็บแต่อย่างใด
เมื่อตอนกลางคืนของวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา ได้มีการถล่มของฐานอุปกรณ์ของ กล้องดูดาว สัญญาณวิทยุ ที่ตั้งอยู่บน หอดูดาวอาเรซีโบ ประเทศเปอร์โตริโก ซึ่งไม่มีผู้บาดเจ็บแต่อย่างใด โดยสถานที่นี้นอกจากความสำคัญทางด้านดาราศาสตร์แล้ว ยังเคยเป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนต์ เจมส์ บอร์น ในภาค Golden Eye อีกด้วย
โดย กล้องดูดาว ได้ตั้งอยู่ที่ประเทศเปอร์โตริโก ได้มีการถล่มลงของฐานอุปกรณ์หนักกว่า 900 ตัน ที่ตั้งอยู่บนความสูง 500 ฟุต ข้างบนจานสัญญาณ ซึ่งมีสาเหตุมาจากสายเคเบิลที่สนับสนุนนั้นได้ขาดลง ทั้งนี้ไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด อ้างอิงจากคำกล่าวของ NSF มูลนิธิที่ทำการดูแลสถานที่ดังกล่าว
ซึ่งทางหอดูดาวอาเรซีโบ ได้มีแผนจะปิดตัวลงในช่วงเดือนที่ผ่านมา เนื่องด้วยความกังวลถึงการผังลงของอุปกรณ์ โดยหนึ่งในสายเคเบิลได้เคยมีความเสียหายไปแล้วก่อนหน้านี้ นอกจากนี้แล้วทาง NSF ยังได้มีแผนในการจะปลกระวางตัวกล้องดังกล่าวไว้อยู่แล้วเช่นกัน
กล้องดูดาวด้วยสัญญาณวิทยุที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก (จนกระทั้งกล้องดูดาว FAST ได้ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2014) ได้ถูกสร้างขึ้นในข่วงปี 1960 และได้ถูกใช้งานในการวิจัยทางด้านดาราศาสตร์วิทยุ, วิทยาศาสตร์ชั้นบรรยากาศ และการค้นหาสิ่งมีชีวิตทรงปัญญานอกโลก
นอกจากนี้แล้ว ทั้งหอดูดาวและตัวกล้องนั้นได้เป็นฉากหลังในการถ่ายทำภาพยนต์ดัง มาแล้วมากมาย ที่น่าจะจำได้มากที่สุดก็คงเป็นจาก GoldenEye หนึ่งภาพยนต์ชุดเจมส์ บอร์น, Species, Contact และซีรีส์โทรทัศน์ The X-Flies ตอน Little Green Man
ในตอนแรกนั้นมีแผนว่าจะยังทำการเปิดในส่วนของศูนย์งานแสดงให้แก่ผู้ที่สนใจได้เข้าชม แต่แล้วเนื่องด้วยการถล่มลงมาของฐานอุปกรณ์ ทำให้แผนงานดังกล่าวต้องยุบลงไป
แหล่งที่มาของข่าว : IGN
- Nvidia RTX 3060 Ti เตรียมตัวเข้าตลาดในวันพรุ่งนี้ (ประมาณ)
- Planet Zoo เตรียมเพิ่ม DLC สัตว์น้ำ (Aquatic) เข้ามาในเร็ว ๆ นี้
- ราคาทอง 2 ธ.ค. 63 ทองเปิดตัวเพิ่ม 250 บาท ทองรูปพรรณขายออกบาทละ 26,450 บาท
- BLACKPINK เป็นช่อง YouTube แรกของเกาหลีที่ได้รับ Ruby Play Button
#ข่าววิทยาศาสตร์ #ข่าวต่างประเทศ #กล้องดูดาว #สัญญาณวิทยุ #เจมส์ บอร์น #หอดูดาวอาเรซีโบ #เปอร์โตริโก #ดาราศาสตร์