ข่าวข่าวภูมิภาค

เหรียญมี 2 ด้าน ผลวิจัยชี้ สูบกัญชาเสี่ยงโรคจิตเวชสูงเกือบร้อยละ 75

กัญชาประโยชน์ด้านหนึ่งคือรักษาโรค แต่หากใช้โดยไม่อยู่ภายใต้การกำกับของแพทย์อาจให้โทษได้ ที่น่ากลัวคือโรคทางจิตเวช

 

ผลจากการวิจัยของแพทย์พบว่า กัญชามีประโยชน์ทางการรักษาโรคหลายโรค เช่น อาทิ การคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัด ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคปวดประสาทที่ดื้อต่อยารักษา แต่ในอีกด้านหนึ่ง ในตัวกัญชาพบสาร THC และ CBD จำนวนมาก และสาร THC นี้เอง ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ยิ่งคนที่เคยมีอาการทางจิตมาก่อนเมื่อใช้กัญชาจะทำให้อากรทางจิตแย่ลง และเมื่อหยุดใช้ยา(กัญชา) จะเกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายอย่างมากเช่น นอนไม่หลับ ท้องเสีย อาเจียน

Advertisements

นพ.สรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี( สบยช.) กล่าวว่า จากการเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่ใช้กัญชาเป็นยาเสพติดหลักที่เข้ารับการบำบัดรักษาในสถานบำบัดรักษายาเสพติดของรัฐ 6 แห่งทั่วประเทศ ระยะเวลา 7 ปี (2553-2559) พบข้อมูลน่าสนใจว่าผู้ป่วยเสพติดกัญชา จะเกิดโรคจิตเวชสูงถึงร้อยละ 72.3 รองลงมาคือ โรคจิต อารมณ์แปรปรวน และวิตกกังวล

 

ดังนั้น การใช้กัญชาในการรักษาโรค ควรอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด และคำนึงถึงความเหมาะสมปลอดภัยของผู้ป่วยด้วย

 

อ้างอิงจาก : ThaiPBS.or.th

Advertisements

 

#กัญชา #กัญชารักษาโรค #กัญชาเสพติด #โรคทางจิตเวช

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button