ข่าวการเมือง

สม รังสี จี้ “ฮุน เซน” ลงจากอำนาจ เผยเกราะกำบังอธิปไตยทรงพลังที่สุด กัมพูชา

สม รังสี ชี้ ฮุน เซน ต้องลงจากอำนาจ จี้ไทยรีบหยุดยั้งเผยเกราะกำบังอธิปไตย กัมพูชาที่ทรงพลังที่สุด คือ ข้อตกลงสันติภาพปารีส

นายสม รังสี นักการเมืองฝ่ายค้านของกัมพูชาที่ลี้ภัยในฝรั่งเศส โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Sam Rainsy เมื่อ 24 ก.ค.โดยแสดงความเห็นกรณีเหตุปะทะชายแดนไทยกับกัมพูชาว่า ประเทศของเขา (กัมพูชา) ต้องป้องกันไม่ให้ “ระบอบฮุนเซน เล่นเกมอันตรายกับประเทศไทย

เนื้อหาจากบัญชีโซเชียลของนักเคลื่อนไหวกัมพูชานั้นระบุถึง ข้อตกลงสันติภาพปารีส พ.ศ. 2534 จะเป็นเกราะป้องกันที่ชอบธรรมเพียงหนึ่งเดียวในการปกป้องบูรณภาพแห่งดินแดนของกัมพูชา แต่ระบอบของสมเด็จฮุน เซน ไม่ต้องการให้มีการบังคับใช้ข้อตกลงสันติภาพปารีส

ด้วยเหตุผล ! เพราะข้อตกลงนี้กำหนดให้กัมพูชาต้องเคารพสิทธิมนุษยชนและหลักการประชาธิปไตย ซึ่งระบอบฮุนเซนยังคงละเมิดอย่างโหดร้าย “ดังนั้นฮุนเซนจะต้องลงจากอำนาจเพื่อจัดตั้งรัฐบาลที่ชอบธรรม สะท้อนเจตจำนงของประชาชนชาวกัมพูชาและเป็นสถาบันเดียวที่สามารถฟื้นฟูประชาธิปไตยและปกป้องผลประโยชน์สำคัญของกัมพูชาด้วยสันติวิธีและการทูต”

“สถานการณ์เรื้อรังกับประเทศไทยในปัจจุบันไม่ใช่ปัญหาระดับชาติ แต่เป็นเรื่องของการโจรกรรมล้วนๆ เพราะระบอบฮุนเซนสามารถอยู่รอดได้ในปัจจุบันด้วยการติดสินบนจากกลุ่มอาชญากรข้ามชาติ ที่หลอกลวงทางอินเทอร์เน็ตตามแนวชายแดนกัมพูชา-ไทย

“ทางการไทยกำลังกำจัดพวกโจรเหล่านี้ ซึ่งทำให้ฮุนเซนโกรธมาก เพราะการปราบปรามพวกโจรเหล่านี้ถือเป็นการโจมตีระบอบการปกครองของฮุนเซน และเป็นการปิดกั้นโอกาสของรัฐบาล” นายสม รังสี ระบุ

นอกจากนี้ นายสม รังสียังโพสต์อีกว่า อาวุธที่ทรงพลังที่สุดของกัมพูชาไม่ใช่กําลังทหาร แต่เป็นกลไกทางกฎหมายของข้อตกลงปารีส

“อาวุธที่ทรงพลังที่สุดในการปกป้องบูรณภาพแห่งดินแดนของกัมพูชาไม่ใช่กำลังทหาร หากแต่เป็นกฎหมายระหว่างประเทศและการทูต ผ่านกลไกของข้อตกลงสันติภาพปารีสซึ่งยังคงมีผลบังคับใช้อยู่”

“ข้อตกลงนี้ลงนามโดยตัวแทนจาก 18 ประเทศ รวมถึงสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ 5 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร จีน และรัสเซีย ข้อตกลงนี้กำหนดพันธกรณีให้ประชาคมระหว่างประเทศต้องรับประกันความเคารพต่อเอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดนของกัมพูชา”

“ดังนั้น เราจึงเรียกร้องให้มีการประชุมนานาชาติว่าด้วยกัมพูชาที่ปารีสโดยทันที ตามที่ระบุไว้ในข้อ 26 ของข้อตกลง ซึ่งเกี่ยวข้องกับหน้าที่ของเลขาธิการสหประชาชาติและประธานร่วมของการประชุมปารีสปี 1991 ฝรั่งเศส และอินโดนีเซีย”

สม รังสีชี้ว่าเหตุผลที่ “ระบอบอำนาจนิยมของฮุน เซน” ปฏิเสธที่จะใช้เครื่องมือทางการทูตนี้ในการปกป้องดินแดนของชาติ เป็นเพราะข้อตกลงสันติภาพปารีสได้กำหนดให้กัมพูชา ต้องเคารพหลักสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่ระบอบนี้ยังคงละเมิดอย่างโจ่งแจ้ง

“หากเป็นเช่นนั้น ฮุน เซน ต้องก้าวลงจากอำนาจ เพื่อเปิดทางให้แก่รัฐบาลที่ชอบธรรมซึ่งสะท้อนเจตจำนงของประชาชน ซึ่งเป็นองค์กรเดียวที่สามารถฟื้นฟูประชาธิปไตยและปกป้องผลประโยชน์ของชาติผ่านสันติวิธีทางการทูตได้”

แถลงการณ์ยังระบุต่อไปว่าประชาชนชาวกัมพูชาต้องไม่ตกเป็นตัวประกันของระบอบที่กำลังจนตรอก ซึ่งการอยู่รอดของระบอบนี้กำลังถูกคุกคามจากการที่ทั่วโลกกำลังปราบปรามเครือข่ายอาชญากรรม “แก๊งคอลเซ็นเตอร์” ข้ามชาติ ที่ระบอบนี้พึ่งพิงทางการเงินอยู่

แถลงการณ์ทิ้งท้ายว่า “มันจะเป็นอันตรายอย่างยิ่ง หากปล่อยให้ระบอบที่ขาดความรับผิดชอบนี้ ใช้ประโยชน์จากความตึงเครียดกับประเทศไทยเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจไปสู่ปัญหานอกประเทศ ซึ่งเสี่ยงต่อการทำลายเสถียรภาพของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างร้ายแรง”

“สันติภาพในภูมิภาคจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการเคารพกฎหมายระหว่างประเทศ และการปฏิบัติตามข้อตกลงสันติภาพปารีสอย่างสมบูรณ์เท่านั้น”.

คนไทยที่หลบหนีการปะทะระหว่างทหารไทยและกัมพูชา หลบภัยที่ จ.สุรินทร์ วันพฤหัสบดีที่ 24 ก.ค.68 (AP Photo/Sunny Chittawil)
ทหารไทยตรวจพื้นที่ชายแดน จ.อุบลราชธานี เมื่อ 20 ก.ค.68 ซึ่งกองทัพบกระบุว่า พบทุ่นระเบิดสังหารบุคคล 2 ลูก (Royal Thai Army via AP)
ข้าวของเกลื่อนพื้นขณะที่ทหารกำลังตรวจสอบพื้นที่ชายแดนใน จ.อุบลราชธานี (Royal Thai Army via AP)
เหตุการณ์หลังจากที่กัมพูชายิงปืนใหญ่เข้าไปในพื้นที่อยู่อาศัยใน จ.สุรินทร์ ประเทศไทย เมื่อ 24 ก.ค.68 (Royal Thai Army via AP)
ประชาชนหนีออกจากหมู่บ้านของตนในจังหวัดอุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา เมื่อ 24 ก.ค.68 เนื่องจากทหารไทย-กัมพูชาปะทะกันในหลายพื้นที่ตามแนวชายแดน ทวีความรุนแรงขึ้น ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยหลายราย ส่วนใหญ่เป็นพลเรือน (AP Photo/Heng Sinith)
ชาวกัมพูชาขับรถทหารเพื่ออพยพในจังหวัดอุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา เมื่อ 25 ก.ค.68 ขณะที่ทหารไทยและกัมพูชาปะทะกันตามแนวชายแดน (AP Photo/Heng Sinith)
ยานพาหนะทางทหารของกัมพูชาบรรทุกเครื่องยิงจรวดในจังหวัดอุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา เมื่อวันเสาร์ที่ 26 ก.ค.68 ขณะที่การสู้รบชายแดนเข้าสู่วันที่สาม ทำให้เกิดความกังวลว่าความขัดแย้งจะยืดเยื้อมากขึ้น (AP Photo/Heng Sinith)

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตาม The Thaiger บน Google News:

0 0 โหวต
Article Rating
สมัครรับข้อมูล
แจ้งเตือนเกี่ยวกับ
0 Comments
เก่าแก่ที่สุด
ใหม่ล่าสุด ถูกโหวตมากที่สุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button
0
เราอยากทราบความคิดเห็นของคุณ โปรดแสดงความคิดเห็นx