การเงินเศรษฐกิจ

เปิดทรัพย์สิน ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีเงินพอชดใช้ จำนำข้าว 10,028 ล้าน หรือไม่

จากกรณี ศาลปกครองสูงสุดสั่ง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ชดใช้โครงการจำนำข้าว แบบจีทูจี 10,028 ล้าน ศาลอาจประมาทเลินเล่อจนรัฐเสียหาย ต่อมายิ่งลักษณ์ ได้ออกแถลงการณ์ตอบโต้ ยืนยันไม่ได้เป็นจำเลยคดีนี้ ศาลปกครองกลางเคยวินิจฉัยไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหาย หากต้องใช้จริง เงินหมื่นล้าน หนี้ตัวเองไม่ได้ก่อ ชดใช้ทั้งชีวิต ก็ไม่หมด

ทีมข่าวเศรษฐกิจไทยเกอร์ ขอพาไปย้อนดูทรัพย์สิน ของ  ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ครั้งยื่นไว้ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช)ในช่วงพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครบ 1 ปี เมื่อปี 2558 แจ้งพบว่า มีทรัพย์สินทั้งหมด 610,843,436 บาท

บัญชีทรัพย์สิน ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

เงินสด 14,298,120 บาท

  • บัญชีเงินฝากส่วนตัว 16 บัญชี รวม 24,908,420 บาท
  • มีรายการเงินลงทุน ทั้งการถือหุ้น ซื้อกองทุนการเงิน และอสังหาริมทรัพย์ 9 รายการ รวมมูลค่ากว่า 115,531,804 บาท
  • เงินให้กู้ยืม 108,301,369 บาท

ถือครองที่ดินรวม 14 แปลง ทั้งในจังหวัดเขียงไหม่ เชียงราย กรุงเทพฯ และสมุทรปราการ มูลค่ากว่า 117,186,350 บาท

ทรัพย์สินที่เป็นโรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง 36 รายการ มูลค่า 162,368,182 บาท

รถยนค์ 9 คัน มูลค่ารวม 21,990,000 บาท

  • ยี่ห้อเบนซ์, BMN
  • แลนด์โรเวอร์
  • Porsche
  • โฟล์กสวาเกน

ถือสิทธิและสัมปทาน(กรมธรรม์ประกันชีวิต) อีก 6 รายการ มูลค่า 596,189 บาท

ส่วนทรัพย์สินอื่นเครื่องประดับ มูลค่ารวม 45,690,000 บาท อาทิ อัญมณี เครื่องเพฆร เครื่องประดับ 57 รายการ มูลค่ากว่า 41 ล้านบาท นาฬิกาข้อมือ 9 เรือน มูลค่า 1.8 ล้านบาท และกระเป๋าถือ 7 ใบ มูลค่า 2.1 ล้านบาท

หากยึดตามทรัพย์สินที่มี ยิ่งลักษณ์ไม่สามารถหาเงินจำนวนหมื่นล้านมาชดใช้ตามคำสั่งศาลได้แน่นอน

โครงการจำนำข้าว เกิดในสมัยยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ยิ่งลักษณ์ยังมีโอกาสไม่ต้องชดใช้เงินจำนำข้าว 

วานนี้ (25 พฤษภาคม) นายดนุพร ปุณณกันต์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงข่าวพรรคยืนยันว่าขอยอมรับคำตัดสินของศาล แต่ยังเห็นว่า มีช่องทางทางกฎหมายตามมาตรา 75 ของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ ที่จะยื่นพิจารณาคดีใหม่ได้ หากมีหลักฐานใหม่ที่ยังไม่เคยเข้าสู่กระบวนการพิจารณา

นายดนุพรระบุว่า พรรคเพื่อไทยได้หารือกับฝ่ายกฎหมาย และพบว่า การขายข้าวจำนวน 18.9 ล้านตัน เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2567 อาจถือเป็นพยานหลักฐานใหม่ที่เกิดขึ้นภายหลังสิ้นสุดกระบวนการแสวงหาข้อเท็จจริง จึงมีแผนจะใช้ช่องทางตามกฎหมายในการยื่นคำร้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้พิจารณาคดีหรือมีคำสั่งใหม่ภายใน 90 วัน

“นี่คือหลักฐานที่ยังไม่เคยถูกใช้ในชั้นพิจารณาคดีมาก่อน เราจึงเห็นว่าเป็นช่องทางตามกฎหมายที่ยังสามารถดำเนินการได้ โดยจะรวบรวมหลักฐานให้ครบถ้วนที่สุดเพื่อยื่นต่อศาล ส่วนศาลจะพิจารณาอย่างไร ก็สุดแล้วแต่ดุลยพินิจของศาล” นายดนุพรกล่าว

คดีนี้เกิดขึ้นในบริบทของการรัฐประหารเมื่อปี 2557 และการดำเนินการทางกฎหมายหลายประเด็นในเวลานั้นได้รับอิทธิพลจากมาตรา 44 ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งประกาศใช้หลายฉบับ รวมถึงกรณีจำนำข้าว

เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงความเห็นที่ว่า หลักฐานใหม่ที่พรรคอ้างถึงไม่สามารถนำมาใช้ยื่นพิจารณาคดีใหม่ได้ เพราะเปรียบเสมือนการนำของที่ขายไปแล้วมาอ้างรายได้ย้อนหลัง นายดนุพรยืนยันว่า เรื่องนี้เป็นดุลยพินิจของศาล และพรรคขอใช้สิทธิในช่องทางตามกฎหมายเพื่อขอความเมตตาจากศาลให้พิจารณาอีกครั้ง

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ติดตาม The Thaiger บน Google News:

0 0 โหวต
Article Rating
สมัครรับข้อมูล
แจ้งเตือนเกี่ยวกับ
0 Comments
เก่าแก่ที่สุด
ใหม่ล่าสุด ถูกโหวตมากที่สุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด

Aindravudh

นักเขียนประจำ Thaiger มีประสบการณ์เขียนข่าวมากกว่า 5 ปี จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความสนใจ ประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง เจาะประเด็นข่าวทางสังคม ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น หัวข้อที่เชียวชาญคือเรื่องไลฟ์สไตล์ เลขเด็ด หวยรัฐบาลไทย หวยลาว ช่องทางติดต่อ vajara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button
0
เราอยากทราบความคิดเห็นของคุณ โปรดแสดงความคิดเห็นx