ก้าวประวัติศาสตร์ “สมรสเท่าเทียม” ผ่านวาระสุดท้ายในสภา เห็นด้วย 130-4 เสียง
ด่วน กฎหมายสมรสเท่าเทียม ผ่านวาระสุดท้ายในสภา เห็นด้วย 130 ต่อ 4 เสียง และงดออกเสียง 18 เสียง กลุ่มกองเชียร์ LGBTQ ที่มีความหลากหลายทางเพศเฮลั่นรัฐสภา
หลังจากที่ วันนี้ (18มิ.ย.) ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ สมรสเท่าเทียมได้ถูกบรรจุเป็น 1 ในระเบียบวาระการประชุมวุฒิสภาสมัยวิสามัญ ล่าสุด ที่ประชุมวุฒิสภา มีมติเอกฉันท์เห็นชอบ ร่างกฎหมายดังกล่าวแล้ว โดยเป็นการผ่านวาระสุดท้ายในสภา ด้วยจำนวนเสียงเห็นชอบทั้งหมด 130 เสียง ไม่เห็นด้วย 4 เสียง และงดออกเสียงอีก 18 เสียง จากจำนวนผู้ลงมติทั้งหมด 152 เสียงด้วยกัน
ทั้งนี้ หลังจากผ่านวาระสุดท้ายในสภาแล้ว กฏหมายสมรสเท่าเทียมฉบับนี้จะถูกส่งไปยัง ครม. จากนั้นนายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ โดยจะมีผลใช้บังคับหลังกฎหมายประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว 120 วัน หรือประมาณช่วงเดือน กันยายน – ตุลาคม 2567 ที่จะถึงนี้
ก้าวที่ยิ่งใหญ่ครั้งนี้ ทำให้ไทยประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รับรองการแต่งงานเพศเดียวกันถูกต้องตามกฎหมาย และไทยยังจารึกเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชีย ที่รับรองการแต่งงานเพศ เดียวกัน ต่อจากไต้หวันและเนปาล และเป็นหนึ่งในกว่า 40 ประเทศทั่วโลก ที่ รับรอง “สมรสเท่าเทียม”.
#สมรสเท่าเทียม ผ่านวาระสุดท้ายในสภาด้วย ผู้โหวตเห็นด้วย 130 เสียง ไม่เห็นด้วย 4 เสียง และงดออกเสียง 18 เสียง จะร้องไห้ ภาพประวัติศาสตร์ 😭🏳️🌈🍀🥳 https://t.co/OndGpJw6QS pic.twitter.com/ghWVNaqpdF
— meonji’s dapa ☁️ (@mdpyy) June 18, 2024
อ่านข่าวเพิ่มเติม
- สรุปสาระสำคัญ กฎหมายสมรสเท่าเทียม ฉบับที่ผ่านวาระ 3 คน LGBTQ+ ต้องรู้
- เดือด สว.วรพงษ์ ชี้แก้สมรสเท่าเทียม กดชายหญิงให้ลงไปเท่า LGBTQ
- ผลโหวตนายก รอบ 3 เช็กรายชื่อ สส.-สว. ใครโหวตเห็นชอบบ้าง
- พอร์ช-อาร์ม คู่รัก LGBTQ+ ประกาศแต่งงาน จ่อจดทะเบียนสมรสเท่าเทียมใกล้เป็นจริง