ข่าว

เพจกูรูรถ โพสต์คลิปกระบะแห่ขับขึ้น “เขาคิชฌกูฏ” เห็นแล้วไม่แปลกใจ ทำไมปีนี้ไม่รอด

เปิดคลิป รถขึ้นเขาคิชฌกูฏจันทบุรี ตอนปี 2566 เพจกูรูรถชี้ไม่แปลกใจ ทำไมปีนี้ไม่รอดอุบัติเหตุ หลังเกิดกรณี กระบะบริการในงานพลิกคว่ำทำคนเสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บอีก 9 คน

วันที่ 1 มี.ค.2567 เฟซบุ๊กแฟนเพจ Offroad & Camping Trip ได้มีการตั้งประเด็นสาเหุที่ทำให้ รถยนตร์เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งยามขับขึ้น อุทยานแห่งชาติคิชฌกูฏ ที่ไม่นานนี้เพิ่งมีข่าวรถกระบะ รถกระบะบริการในงานประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาท (พลวง) เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี พลิกคว่ำบริเวณเนินไทร ห่างจากด่านเก็บค่าบริการ (พระบาทพลวง) ประมาณ 700 เมตร มีผู้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บอีก 9 ราย

เนื้อหาจากเพจต้นทางที่ออกมาตั้งข้อสังเกตพร้อมกับเผยแพร่คลิปของกลุ่มรถยนต์กระบะที่ขับขึ้นคิชฌกูฏ ก่อนหน้านี้เป็นจำนวนมาก ระบุ “ขับกันแบบนี้ จะมีเหตุการณ์บาดเจ็บล้มตาย ทุกๆปีก็ไม่แปลก.( ภาพเมื่อปีที่แล้ว)”

“ผู้ที่กำหนด เวลาขึ้นได้สองเดือน ของเทศกาลขึ้นเขา ก็คืออุทยานแห่งชาติคิชฌกูฏ. ผมถามสำหรับที่เขาบอกว่า เปิดสองเดือนเพื่อ ให้พักเส้นทาง ให้ธรรมชาติฟื้นฟู ( ที่นี่ เปราะบางกว่าภูกระดึงอีก?) และผมก็ถามอีกว่าขึ้นท้ายรถกระบะ ไม่ผิดกฎหมายครับ. มีอุบัติเหตุขึ้นมา ใครจะรับผิดชอบ เขาตอบว่ามี ประกันอุบัติเหตุขาย ใครกลัวจะซื้อก็ได้”

“ความแปลกของที่นี่คือยอดเขา มีหมอกปกคลุมอยู่ตลอด. แม้ไม่มีฝน แต่ช่วงเช้า พื้นดินก็จะแฉะ ถ้าฝนตก ก็จะบันเทิง ไอ้ที่ตรวจสอบสภาพรถ ดูสภาพยางด้วยครับว่าใช้ถูกกับงานรึเปล่า ใช้หลักการไหน ค่าขึ้นหนึ่ง100บาท ค่าลง100 บาท”

“ผลประโยชน์หลายสิบล้านบาท ถ้าจะขับกันแบบนี้สร้างกระเช้าไฟฟ้าเถอะครับ ทำไมประเทศไทย มีแต่ Dreamworld กับ หาดใหญ่ ที่มีกระเช้าไฟฟ้า”

รถขึ้นเขาคิชกุฏจันทบุรี
ภาพ Facebook @by4x4NissanTerra
ขับรถขึ้นเขาคิชกูฏ
ภาพ Facebook @by4x4NissanTerra
ล้อฟรี ขึ้นเขาคิชกุฏ
ภาพ Facebook @by4x4NissanTerra

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบคลิปที่มีการนำมาลงตั้งข้อสังเกตไว้ จะเห็นว่า มีรถกระบะที่ขับขี่กันด้วยความเร็วขณะขึ้นและลงยอดเขาจำนวนมาก หลายคันพบว่า มีผู้คนซ้อนท้ายด้านหลังกระบะอีกหนาตา ขณะที่บางคลิปก็จะเผยให้เห็นถึงสภาพดินที่ชื้นแฉะที่ก็จะเห็นว่า ด้วยสภาพเส้นทางดังกล่าว ส่งผลให้รถยนต์เกิดอาการล้อฟรี เสียการควบคุมจนรถถอยหลังขณะกำลังขับขึ้นเขา เสี่ยงต่อการเกดอุบัติเหตุได้ง่าย ๆ หากคนขับไม่มีความชำนาญเพียงพอ หรือใช้สาภพของล้อยางที่ไม่เหมาะสมกับพื้นผิว

ขณะเดียวกัน ความเห็นจำนวนมากก็เรียกร้องให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ ควรเข้ามาตรวจสอบเรื่องของพื้นผิวถนนที่ใช้สัญจรขึ้นบริเวณอุทยานแห่งชาติคิชฌกูฏ รวมถึงคอกที่ใช้กั้นผู้โดยสารยามต้องนั่งท้ายรถเพื่อขึ้นไปสักการะบูชาสิ่งศักสิทธิ์ที่เชิดหน้าชูตาของจังหวัด

“หน่วยงานรัฐต้องมาดู เรื่อง ของถนน ควรจะสร้างให้ดีกว่านี้ไหม คอกกั้นผู้โดยสารต้องมีความแข็งแรงไหม
ควรจะมีหลังคาคลุมไหม บริเวณที่โดยสารต้องมีเข็มขัดนิรภัยไหม”

“ล้อหมุน​ฟรี ดอกยางไม่เกาะ ถ้ายางMTขึ้นนิ่มๆเลย”

“เอา HT มาใช้งานผิดประเภท ก็แบบนี้แหละครับ ประหยัดแต่ไม่มีความปบอดภัยสำหรับคนนั่งเลย พอมีคำถามก็คงตอบใช้แบบนี้มาทุกปี ก็นั่นแหละครับใช้ผิดๆมาตลอด ไม่แปลก 50% พร้อมที่จะเกิดอุบัติเหตุ”

คลิปขับรถขึ้นอุทยานแห่งชาติคิชฌกูฏ

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button