วิธีเปลี่ยนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้า ออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ MEASY กฟน.
การไฟฟ้านครหลวง “กฟน.” (MEA) แนะนำประชาชนรีบเปลี่ยนชื่อเจ้าของมิเตอร์ไฟฟ้าหลังซื้อบ้าน/คอนโดมิเนียม ป้องกันการค้างค่าไฟ-เสียสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เนื่องจากพบว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีหลายร้อยครัวเรือนเกิดปัญหาดังกล่าว ดังนั้นในบทความนี้จึงขอบอกต่อวิธี เปลี่ยนชื่อมิเตอร์ผู้ใช้ไฟฟ้า ได้ง่าย ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ เว็บไซต์ Measy – MEA e-Service – การไฟฟ้านครหลวง ทั้งแบบบุคคลทั่วไปและนิติบุคคล ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
ขั้นตอนเปลี่ยนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้า ผ่านเว็บไซต์ Measy – MEA
สำหรับขั้นตอนการเปลี่ยนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้านั้นจะแบ่งออกได้เป็นทั้งหมด 2 ประเภท ได้แก่ บุคคลทั่วไป และนิติบุคล ที่มีจะมีข้อแตกต่างที่ประเภทเอกสารจดทะเบียนเป็นคนละแบบกัน แต่สำหรับวิธีการเปลี่ยนจะคล้ายกันดังนี้
กรณีผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วไป
1. เริ่มต้นให้เราคลิปที่ลิงก์ https://eservice.mea.or.th/measy จากนั้นเลือกเมนู “งานบริการอื่นๆ”
2. เลือกประเภทบริการที่ต้องการยื่นเรื่องเป็น “เปลี่ยนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้า”
3. เลือกบุคคลธรรมดา
4. กรอกข้อมูลส่วนบุคคล และระบุหมายเลขเครื่องวัด
5. แนบสำเนาเอกสารหลักฐาน ได้แก่
– สำเนาบัตรประชาชน หรือพาสปอร์ต ที่มีการรับรองสำเนาถูกต้อง
– สำเนาทะเบียนบ้าน ที่มีการรับรองสำเนาถูกต้อง
– เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ ที่มีการรับรองสำเนาถูกต้อง เช่น สัญญาซื้อขายบ้าน หรือ สัญญาเช่า หรือ หนังสือแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก เป็นต้น (กรณีไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเท่านั้น)
5. กรอกรหัส OTP
6. เสร็จสิ้นการเปลี่ยนชื่อ
กรณีนิติบุคคล
ขั้นตอนการเปลี่ยนชื่อแบบนิติบุคคลจะคล้ายแบบบุคคลทั่วไป เพียงแต่หลังกดประเภทบริการที่เราเลือกไว้ (เปลี่ยนชื่อ) ให้เราคลิกประเภทผู้ขอใช้บริการเป็น “นิติบุคคล” แทนจากนั้นให้เราแนบเอกสารดังนี้
- หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ไม่เกิน 1 เดือน
- สำเนาบัตรประชาชน ของกรรมการผู้มีอำนาจลงนามตามที่หนังสือรับรองระบุ
ต่อมาหลังเปลี่ยนชื่อมิเตอร์ไฟฟ้าออนไลน์สำเร็จ ให้เรายื่นเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วนและชำระค่าไฟฟ้าก่อนหน้านี้จนไม่มียอดค้างจากนั้น กฟน.จะนัดหมายผู้ใช้ไฟฟ้ามาจัดทำ “สัญญาซื้อขายไฟฟ้า” รวมถึงรับชำระหลักประกันการใช้ไฟฟ้า (ถ้ามี) จึงจะถือเป็นการดำเนินธุรกรรมที่เสร็จสมบูรณ์
อย่างไรก็ตาม หากมีการเปลี่ยนชื่อผู้ใช้มิเตอร์ไฟฟ้าที่ต้องวางหลักประกัน ผู้ยื่นเรื่องสามารถโอนหลักประกันการใช้ไฟฟ้าจะของเดิมมาไว้ในชื่อของผู้ใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนใหม่ได้ โดยการแนบเอกสาร “สำเนาใบเสร็จเงินประกันฯ” และ “หนังสือมอบอำนาจ” (กรณีเป็นผู้ยื่นเรื่องแทน)
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- การไฟฟ้าอุทัยฯ รับผิด จดมิเตอร์พลาด ทำชาวบ้านจ่ายค่าไฟพุ่ง 5 พัน
- เงินเดือนพนักงานการไฟฟ้า ฝ่ายผลิต-นครหลวง-ภูมิภาค รายได้คุ้มไหม.
- บ้านติดแอร์ 5 ตัว จ่ายค่าไฟไม่ถึงพัน การไฟฟ้าเฉลยเอง แอบโกงมิเตอร์ ถูกจับไม่เข็ด