สุขภาพและการแพทย์

อยากตายไวให้ “สูบบุหรี่ตอนเช้า” เสี่ยงมะเร็งปาก-ปอด พุ่งหลายเท่า

สิงห์อมควันเช้า ระวัง สูบบุหรี่ตอนเช้า หลังตื่นนอนภายใน 30 นาที เสี่ยงมะเร็งปาก-ปอด เพิ่มขึ้นหลายเท่า เหตุร่างกายรับสารนิโคตินมากกว่าปกติ

ควันบุหรี่แรกของวันอาจเป็นควันที่อันตรายที่สุด นักวิจัยเผย การสูบบุหรี่ในตอนเช้าเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งปากและปอดมากกว่าช่วงเวลาอื่นๆ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูบบุหรี่จัดที่ร่างกายเกิดการขาดนิโคตินในตอนเช้า ทำให้เกิดความอยากบุหรี่อย่างรุนแรง และร่างกายดูดซึมสารก่อมะเร็งได้มากขึ้น

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Cancer, Epidemiology, Biomarkers and Prevention ชี้ให้เห็นว่า การสูบบุหรี่ภายใน 30 นาทีหลังตื่นนอน จะทำให้ร่างกายได้รับสาร NNAL ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งจากยาสูบในปริมาณที่สูงกว่าผู้ที่สูบบุหรี่หลังตื่นนอนเกิน 30 นาที โดยไม่เกี่ยวข้องกับจำนวนบุหรี่ที่สูบต่อวัน

สาเหตุที่การสูบบุหรี่ตอนเช้าเป็นอันตรายกว่านั้น เนื่องจากร่างกายของผู้สูบบุหรี่จัดจะเกิดภาวะขาดนิโคตินในช่วงกลางคืน เมื่อตื่นขึ้นมาจึงมีความต้องการนิโคตินสูง ทำให้สูบบุหรี่อย่างรวดเร็วและลึก ส่งผลให้ร่างกายดูดซึมสารพิษได้มากขึ้น นอกจากนี้ การสูบบุหรี่ตอนท้องว่างยังอาจเพิ่มการดูดซึมสารพิษเข้าสู่ร่างกายได้อีกด้วย

ดังนั้น นักวิจัยจึงแนะนำให้ผู้ที่สูบบุหรี่พยายามเลิกบุหรี่โดยสิ้นเชิง เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปากและปอด รวมถึงโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคถุงลมโป่งพอง และโรคอื่นๆ อีกมากมาย

หากไม่สามารถเลิกได้ในทันที ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ในตอนเช้า และหากิจกรรมอื่นๆ ทดแทน เช่น ดื่มน้ำเปล่า ออกกำลังกายเบาๆ ทำสมาธิ หรือหากิจกรรมที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย เพื่อลดความอยากบุหรี่ นอกจากนี้ การปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อขอคำแนะนำและวิธีการเลิกบุหรี่ที่เหมาะสม ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้เลิกบุหรี่ได้สำเร็จ

อ่านข่าวที่เกียวข้อง

Aindravudh

นักเขียนประจำ Thaiger มีประสบการณ์เขียนข่าวมากกว่า 5 ปี จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความสนใจ ประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง เจาะประเด็นข่าวทางสังคม ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น หัวข้อที่เชียวชาญคือเรื่องไลฟ์สไตล์ เลขเด็ด หวยรัฐบาลไทย หวยลาว ช่องทางติดต่อ vajara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button