สุขภาพและการแพทย์

‘แอมโมเนีย’ คือสารอะไร อันตรายไหมหากสูดดม สรุปเข้าใจง่าย

สืบเนื่องจากกลางดึกเมื่อคืนวันที่ 17 เมษายน เกิดเหตุการณ์แอมโมเนียรั่วไหลบริเวณโรงงานผลิตน้ำแข็งแห่งหนึ่ง ในตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ส่งผลให้ประชาชนในละแวกใกล้เคียงเกิดอาการแสบตา แสบจมูก และไอ มากกว่าร้อยราย วันนี้ Thaiger พามาสรุปข้อมูลของเจ้า “สารแอมโมเนีย” ให้เข้าใจง่ายๆ นอกเหนือจากที่รู้จักกันแค่ว่าให้คนเป็นลมดมแล้วฟื้น ถ้าสูดดมมากไปจะเกิดอะไรขึ้น

“แอมโมเนียม” คือสารอะไรกันแน่

Advertisements

จริงๆ แล้ว แอมโมเนียมีสองตัวหลักๆ คือ แอมโมเนีย (NH₃) และ แอมโมเนียม (NH₄⁺) แอมโมเนียจะมีสถานะเป็นแก๊ส เหมือนกับอากาศที่เราหายใจเข้าไปนั่นแหละ แต่กลิ่นจะฉุนรุนแรงมากจนทำเอาน้ำตาไหล คิดถึงกลิ่นฉี่เข้มข้นดู ในขณะที่แอมโมเนียมจะเป็นไอออนที่มีประจุบวก ส่วนมากจะไปเป็นส่วนประกอบให้สารอื่นๆ

เราจะเจอเจ้าแอมโมเนียได้ที่ไหน?

แอมโมเนียมีอยู่รอบตัวเรา มันเป็นผลผลิตตามธรรมชาติเวลาสิ่งมีชีวิตต่างๆ อย่างต้นไม้หรือสัตว์เกิดการเน่าเปื่อย แอมโมเนียถูกใช้ในกระบวนการอุตสาหกรรมหลายอย่าง เช่น ผลิตปุ๋ยใส่ต้นไม้ พลาสติก หรือแม้แต่ผลิตสีย้อมผ้า

แอมโมเนียมถูกนำมาเป็นส่วนผสมในน้ำยาทำความสะอาดบางชนิด จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมน้ำยาบางชนิดมีกลิ่นฉุน บางทีอาจอยู่ในถุงประคบน้ำแข็ง ช่วยรักษาความเย็น หรือแม้แต่ในตู้เย็น ที่เกิดขึ้นจากการเน่าย่อยสลายของอาหารที่แช่ทิ้งไว้นานๆ

จุดพีคคือ ร่างกายของเราเองก็ผลิตแอมโมเนียได้ แต่ในปริมาณน้อยมากๆ กระบวนการเกิดขึ้นที่ตับ เปลี่ยนมันไปเป็นสารประกอบที่ไม่เป็นอันตรายแล้วฉี่ออกมา

Advertisements

แอมโมเนียอันตรายไหม?

น้ำยาทำความสะอาดในครัวเรือนที่มีแอมโมเนียอาจจะทำให้ตา จมูก หรือลำคอของเราแสบได้ถ้าเผลอสูดดมเข้าไปมากเกินไป ถ้าเกิดแบบนั้น ให้รีบออกไปรับอากาศบริสุทธิ์และล้างตาด้วยน้ำสะอาดสัก 15 นาที แล้วไปพบแพทย์

แต่ถ้าเผลอกลืนอะไรที่มีส่วนผสมของแอมโมเนียเข้าไป ให้รีบไปหาหมอเช่นเดียวกัน อย่าล้วงคออ้วกออกมาเอง เพราะสารเคมีที่ย้อนกลับมาทางหลอดอาหารจะทำลายเนื่อเยื่อให้อาการหนักยิ่งขึ้นได้

พิษของสารแอมโมเนียพิษต่อสิ่งแวดล้อม หากปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำ แอมโมเนียในน้ำจะเปลี่ยนเป็นแอมโมเนียมไอออน (NH₄⁺) ซึ่งส่งผลต่อค่า pH ของน้ำ ทำให้เป็นกรดมากขึ้น ส่งผลเสียต่อสัตว์น้ำและระบบนิเวศ ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ย่อยสลายสารอินทรีย์ ส่งผลต่อปริมาณออกซิเจนในน้ำที่ลดลง สัตว์น้ำบางชนิดอาจตายเพราะขาดออกซิเจน

การมีแอมโมเนียในปริมาณมาก กระตุ้นให้พืชน้ำบางชนิด (โดยเฉพาะสาหร่าย) เติบโตอย่างรวดเร็ว เกิดเป็น “ตะไคร่น้ำ” ปกคลุมผิวน้ำ แสงแดดส่องผ่านได้น้อยลง ส่งผลต่อระบบนิเวศใต้น้ำ

พิษต่อสัตว์และสัตว์น้ำ เช่นเดียวกับคน หากได้รับปริมาณมากจะทำให้สัตว์ล้มตาย เนื่องจากระดับแอมโมเนียในกระแสเลือด และเนื้อเยื่อสูงขึ้น ทำให้ค่าความเป็น กรด-ด่าง ในเลือดจึงสูงขึ้น ส่งผลต่อปริมาณออกซิเจน

สรุปแล้ว แอมโมเนียเป็นสารอันตรายหากร่างกายได้รับเข้าไปในปริมาณเข้มข้น แต่ถ้าความเข้มข้นต่ำ เราจะพบมันได้ทั่วๆ ไปในชีวิตประจำวันนั่นแหละ เพราะฉะนั้น คราวหน้าที่ได้กลิ่นน้ำยาทำความสะอาดคุ้นๆ ให้จำไว้ว่านั่นคือเจ้าแอมโมเนียนี่เอง ซึ่งไม่ได้น่ากลัวขนาดนั้น แต่มันเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตบนโลก

วิธีปฐมพยาบาลเมื่อเจอสารแอมโมเนีย

วิธีปฐมพยาบาลเมื่อได้รับสารแอมโมเนีย

สารแอมโมเนีย มีความอันตรายสูงมาก สามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้ผ่านการสูดดม การสัมผัสทางผิวหนัง และการรับประทานเข้าไปสู่ระบบย่อยอาหาร โดยมีวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นตามกรณีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. ขั้นตอนปฐมพยาบาลเมื่อ สูดดม แอมโมเนีย

– นำผู้ป่วยออกไปสูดอากาศบริสุทธิ์โดยทันที: ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือการนำผู้ได้รับผลกระทบออกจากแหล่งที่มาของแอมโมเนียโดยเร็วที่สุด พาพวกเขาออกไปข้างนอกหรือไปยังบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกและมีอากาศบริสุทธิ์เพียงพอ

– ตรวจสอบการหายใจและการเต้นของหัวใจ หากผู้ป่วยยังหายใจได้ปกติ ให้ถอดหรือคลายเสื้อผ้าออกให้หลวม และเช็ดตัวกรณีมีเหงื่อออกท่วมตัว หากรู้สึกตัวพยายามให้ดื่มน้ำเย็น

– กรณีหายใจติดขัดต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ถ้าหยุดหายใจต้องเร่งผายปอดโดยทันที แต่ห้ามผายปอดด้วยการเป่าปาก การผายปอด จะต้องใช้อุปกรณ์หายใจชนิดมีที่ครอบให้อากาศแบบวาล์วทางเดียว หรือ อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมือบีบ

2. ปฐมพยาบาลเมื่อโดน แอมโมเนีย ทางผิวหนัง

  • ให้ถอดเสื้อผ้าและเครื่องประดับออกให้หมด ล้างด้วยน้ำสะอาดให้มากที่สุด และต่อเนื่องอย่างน้อย 15 นาที โดยให้น้ำไหลผ่านจุดสัมผัส
  • หากมีแผลไหม้จากความเย็นจัดกรณีสัมผัสแอมโมเนีย
    • แช่หรือประคบด้วยน้ำอุ่น เช็ดตัวให้สะอาด
    • คลุมบริเวณแผลไหม้และรีบไปพบแพทย์

3. เมื่อรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนแอมโมเนีย

  • ดื่มน้ำให้มาก ๆ หรือล้วงคอให้อาเจียนออกมา กรณีหมดสติ ต้องให้นอนหงาย เอียงหน้าไปด้านข้างด้านใดด้านหนึ่ง
  • สังเกตการเต้นของหัวใจที่คอ หรือบริเวณขาหนีบ ถ้าหยุดหายใจต้องปั้มหัวใจเพื่อช่วยชีวิต จากนั้นให้รีบนำส่งแพทย์ทันที

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง : กรมโรงงานอุตสาหกรรม

Aindravudh

นักเขียนประจำ Thaiger มีประสบการณ์เขียนข่าวมากกว่า 5 ปี จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความสนใจ ประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง เจาะประเด็นข่าวทางสังคม ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น หัวข้อที่เชียวชาญคือเรื่องไลฟ์สไตล์ เลขเด็ด หวยรัฐบาลไทย หวยลาว ช่องทางติดต่อ vajara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button