ข่าว

เตือน “โรคกาฬหลังแอ่น” ระบาดหนัก เสียชีวิตแล้ว 1 รายในไทย พบผื่นขึ้น รูปดาวกระจาย

สาธารณสุขจังหวัดน่าน เตือนประชาชน เฝ้าระวัง “เชื้อโรคกาฬหลังแอ่น” ระบาดหนัก ล่าสุด พบติดเชื้อแล้ว 9 ราย เสียชีวิต 1 ราย อาการผื่นขึ้นเป็นดาวกระจาย เป็นรอยจ้ำเลือดฝกช้ำ ลามกระจายตามผิวหนัง

นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดน่าน (สธ.น่าน) นายแพทย์ วรินทร์เทพ เชื้อสำราญ รายงานข่าวการระบาดของ โรคกาฬหลังแอ่น พบมีผู้ติดเชื้อ รวม 9 ราย ในพื้นที่ อ.นาน้อย ตำบลนาน้อย จำนวน 2 ราย และเสียชีวิต 1 ราย เป็นผู้สูงอายุ 70 ปี ได้รับเชื้อจากหลาน ซึ่งเป็นผู้ต้องขังพ้นโทษเมื่อเดือนธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา สำหรับอาการของผู้ได้รับเชื้อรายนี้ มีอาการเป็นไข้ และสมองอักเสบ จนเสียชีวิต พบในพื้นที่อำเภอเมือง ตำบลผาสิงห์ และตำบลบ่อสวก รวมจำนวน 7 ราย เป็นผู้สูงอายุ 64 ปี จำนวน 1 ราย และเด็กอายุ 11 และ 12 ปี จำนวน 2 ราย

Advertisements

ภายหลังการสอบสวนโรคเพื่อสืบหาต้นตอ พบว่าทั้งหมดอาศัยอยู่บ้านแบ่งห้องเช่าในหลังเดียวกัน และมีการตั้งวงทานอาหาร สังสรรค์ร่วมกัน โดยอาการล่าสุดของผู้ป่วยโรคกาฬหลังแอ่น กำลังอยู่ในระหว่างการให้ยารักษา แยกกักตัว พร้อมกับให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัว และติดตามกลุ่มเสี่ยง ซึ่งเป็นผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ติด และเป็นผูเต้องสงสัย ว่าอาจป่วยด้วยโรคไข้กาฬหลังแอ่นเพิ่มเติม

โรคกาฬหลังแอ่น อาการ ผื่นขึ้น จังหวัดน่าน ประเทศไทย 2567
ภาพจาก : สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย

วิธีสังเกตุอาการ “โรคไข้กาฬหลังแอ่น”

ทำความรู้จักกับ โรคไข้กาฬหลังแอ่น หลังประกาศพบคนไทยเสียชีวิตแล้ว 1 ราย และติดเชื้ออีก 9 ราย โดยโรคไข้กาฬหลังแอ่น หรือ ไข้กาฬหลังแอ่นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เกิดจากการที่เยื้อหุ้มสมองติดเชื้อ ทำให้เกิดอาการอักเสบที่สมอง และส่งผลถึงกระดูกสันหลังด้วย อีกทั้งไข้กาฬหลังแอ่น ยังสามารถติดเชื้อในกระแสเลือด

เมื่อเลือดไหลเวียนไปตามร่างกายจึงเกิดผลเสียตามมาทำให้ผนังเลือดเสียหาย และเลือดออกตามอวัยวะต่าง ๆ ได้

ติดต่อได้หลายทาง ได้แก่ การสัมผัสใกล้ชิด การหายใจโดยการไอ จาม ระยะฟักตัว 2-10 วัน มีลักษณะที่สำคัญ 3 อย่าง คือ มีไข้ เป็นผื่น และลุกลามเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผู้ป่วยอาจมีอาการครบทั้ง 3 อย่าง หรือ 2 จาก 3 อย่างนี้

อาการโรค คือ ผู้ป่วยมักจะมีไข้มาก่อนประมาณ 2-3 วัน มีผื่นขึ้น โดยมีลักษณะเป็นจ้ำเลือดเหมือนฟกช้ำ หรือ Pink macules ผื่นอาจมีรูปร่างคล้ายดาวกระจาย ตามลักษณะเด่นของโรคนี้

Advertisements

มักเป็นบริเวณลำตัวส่วนล่าง ขา เท้า หรือมือได้ หากมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบ จะมีอาการ ได้แก่ ปวดศีรษะรุนแรง อาเจียน คอแข็ง อาจซึมลง ไม่ค่อยรู้สึกตัว

อย่างไรก็ตาม เมื่อพบผู้ป่วยโรคนี้จะต้องรายงานต่อกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข อย่างเร่งด่วนที่สุด เพราะจัดเป็นโรคติดต่อร้ายแรงชนิดหนึ่งนั่นเอง

สำหรับ โรคไข้กาฬหลังแอ่น สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็ยังคงต้องพบภาวะแทรกซ้อนจากไข้กาฬหลังแอ่น ได้แก่ พิการ หรืออาจ เสียชีวิต ได้ในทันที หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาทันทีหลังแสดงอาการก็อาจทำให้เสียชีวิตได้ภายใน 3 วัน

โรคกาฬหลังแอ่น อาการ ผื่นขึ้น
ภาพจาก : ถิ่นน่าน ออนไลน์

วิธีป้องกันโรค ไข้กาฬหลังแอ่น

การป้องกันโรคมี 2 วิธีหลัก คือ 1) การฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรค วัคซีนไข้กาฬหลังแอ่นป้องกันโรคได้เพียงบางสายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ A, C, Yและ W-135

2) การกินหรือฉีดยาต้านจุลชีพ ใช้ป้องกันการเกิดโรคในกรณีภายหลังการสัมผัสโรค ยาต้านจุลชีพมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันโรคโดยไม่ขึ้นกับสายพันธุ์ของเชื้อ แตกต่างจากวัคซีนข้างต้น

ผู้ที่สมควรได้รับยาเพื่อป้องกันการเกิดโรคไข้กาฬหลังแอ่น ได้แก่ ผู้ที่สัมผัสโรคใกล้ชิดผู้ป่วยเป็นเวลานาน เช่น สมาชิกในครัวเรือนเดียวกัน ร่วมห้องนอนเดียวกัน

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง : งานประชาสัมพันธ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน, ถิ่นน่าน ออนไลน์, .si.mahidol.ac.th

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button