ไลฟ์สไตล์

เปิดที่มา ความเชื่อ “แมวดำ” ตัวแทนความโชคร้าย กับวันฮาโลวีน

ไขความจริงของความเชื่อเกี่ยวกับ “แมวดำ” จากตำนานเก่าแก่ที่ยังคงดำรงอยู่ เหตุใดแมวดำจึงถูกยึดโยงไปกับความน่าสะพรึงกลัวของวันฮาโลวีน ความเชื่อที่หยั่งรากลึกส่งผลอย่างไรต่อไสยศาสตร์และความเป็นสังคมในปัจจุบัน

ในบรรดาความเชื่อเรื่องโชคลางที่ดำรงอยู่ในสังคม หนึ่งในความเชื่อที่เก่าแก่และยังคงดำรงอยู่มาอย่างยาวนานที่สุดก็คือ ความเชื่อเกี่ยวกับแมวดำ อันจะนำมาซึ่งโชคร้าย นอกจากนั้นแมวสีเข้มยังถูกล่าวว่าเป็นสัญลักษณ์ของเทศกาลฮาโลวีนสมัยใหม่อีกด้วย และนั่นจึงเป็นเหตุให้เหล่าแมวดำกลายเป็นที่เล่าขานถึงความน่ากลัวไปโดนปริยาย

เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงสงสัยไม่น้อย จุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ระหว่างแมวดำกับโชคร้ายนั้นเริ่มต้นได้อย่างไร และเริ่มต้นขึ้นที่แห่งหนใด ร่วมหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันถึงที่มาของแมวดำกับฮาโลวีน และผลกระทบของความเชื่อทางไสยศาสตร์ที่ยังคงส่งต่อมาจนจวบปัจจุบัน

เปิดที่มาความเชื่อ "แมวดำ"

ต้นกำเนิดของความเชื่อเรื่อง “โชคลาง” และ “แมวดำ”

ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับแมวนั้นเริ่มต้นตั้งแต่ในช่วงอารยธรรมยุคแรก ๆ ของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอารยธรรมอียิปต์โบราณ ซึ่งแมวถือเป็นสัญลักษณ์อันศักดิ์สิทธิ์ อีกทั้งแมวยังปรากฏอยู่ในตำนานเทพเจ้ากรีก โดยเฉพาะเฮคาที หรือเทพีแห่งเวทมนตร์ ซึ่งมีการอธิบายไว้ว่า แมวเป็นทั้งสัตว์เลี้ยงและเป็นสิ่งสรรพสัตว์เป็นที่รู้จักอย่างมากในยุคนั้น เกี่ยวกับการเป็นสิ่งมีชีวิตเหนือธรรมชาติที่ช่วยเหลือแม่มด ตามตำนานพื้นบ้านของยุโรป

ย้อนกลับไปในศตวรรษที่ 13 บันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษรได้เชื่อมโยงแมวดำกับเรื่องลึกลับไว้ว่า เมื่อพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 9 ออกเอกสารอย่างเป็นทางการของคริสตจักร “Vox in Rama” ในวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 1233 ความว่า “ในนั้น แมวดำถูกประกาศว่าเป็นอวตารของซาตาน” Layla Morgan Wilde ผู้เขียน Black Cats Tell : True Tales And Inspiring Images ได้กล่าวอีกด้วยว่า “พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสอบสวนและการล่าแม่มดนอกรีต และการล่าแม่มดที่คริสตจักรอนุมัติ ในตอนแรกมันถูกออกแบบมาเพื่อทำลายลัทธิลูซิเฟอร์เรียนที่กำลังเติบโตในเยอรมนี แต่กลับแพร่กระจายไปทั่วยุโรปอย่างรวดเร็ว”

แมวและแม่มดถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อคริสตจักรคริสเตียนในยุคแรก

นอกจากความเชื่อในช่วงแรก ๆ ที่ถูกยึดโยงเข้ากับซาตานแล้ว แมวยังมีความเชื่อมโยงกับแม่มดในยุโรปยุคกลางอย่างยากที่จะปฏิเสธอีกด้วย ตามคำกล่าวของ Cerridwen Fallingstar นักบวชชาว Wiccan และผู้ประพันธ์ Broth from the Cauldron: A Wisdom Journey Through Everyday Magic ความว่า แม่มดเป็นผู้ประกอบวิชาชีพนอกศาสนาก่อนคริสต์ศักราชของยุโรป

แม้ว่าคริสตจักรคริสเตียนยุคแรกในยุโรปจะอยู่ร่วมกับแม่มด แต่เมื่อคริสตจักรได้รับอำนาจพวกเขากลับมองว่าแม่มดเปรียบเสมือนการแข่งขันโดยตรงเกี่ยวกับการดึงดูดใจและความคิดของผู้คน และนั่นคือ จุดเริ่มต้นที่คริสตจักรเริ่มตามล่า ข่มเหง ทรมาน และสังหารแม่มดจำนวนมหาศาล

“แม่มดให้เกียรติแก่โลกธรรมชาติ โดยให้ความเคารพพืชและสัตว์อย่างลึกซึ้ง” ฟอลลิงสตาร์กล่าว “ความรักระหว่างมนุษย์กับสัตว์จึงเริ่มถูกมองว่าเป็น ‘ปีศาจ’ และหญิงชรากับแมวของเธอก็ถูกมองว่าเป็นผู้ต้องสงสัย”

ไม่เพียงแต่ความเชื่อมโยงระหว่างแม่มด แมว และปีศาจเท่านั้นที่ชาวคริสเตียนในยุคแรกรู้สึกหวาดกลัว แต่พวกเขายังมองสิ่งเหล่านี้เป็นภัยคุกคามอีกด้วย “แมวก็เหมือนกับผู้หญิงที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นเวทมนตร์ มักจะแสดงการไม่เคารพผู้มีอำนาจ” เธอตั้งข้อสังเกต “พวกมันไม่ประจบประแจงเหมือนสุนัข แม้แต่กับคนที่ไม่คู่ควร ในคริสตจักรจะต้องยอมรับทั้งผู้หญิงที่เป็นอิสระหรือสัตว์ที่เป็นอิสระ”

เปิดที่มาความเชื่อ "แมวดำ" กับโชคร้าย

เมื่อถึงจุดหนึ่ง การจับคู่แม่มดกับแมวก็แคบลงเหลือเพียงแมวดำ แม้ว่า Fallingstar จะบอกว่ายังไม่ชัดเจนว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น “ความสัมพันธ์ระหว่างแม่มดกับแมวดำนั้นอาจเป็นเพียงจินตนาการ แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่แมวดำจะจับหนูได้ดีกว่า เนื่องจากพวกมันไม่สามารถมองเห็นได้ในตอนกลางคืน ดังนั้นจึงมีความได้เปรียบในการล่าสัตว์” เธออธิบาย “แม่มดมักจะมุ่งมั่นต่อการปฏิบัติจริง”

ในที่สุด ความหวาดกลัวในแมวดำและความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับเวทมนตร์ก็แพร่กระจายไปทั่วมหาสมุทรแอตแลนติก Daniel Compora รองศาสตราจารย์ด้านภาษาและวรรณคดีอังกฤษแห่งมหาวิทยาลัยโทเลโด กล่าวว่า “ความคิดที่ว่าแม่มดสามารถเปลี่ยนให้กลายมาเป็นความคุ้นเคยน่าจะพัฒนามาจากผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าใช้เวทมนตร์ ซึ่งเป็นบรรดาผู้มีแมวเป็นสัตว์เลี้ยง”

แมวถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวการแพร่โรคระบาด

ในช่วงยุคกลางนั้น การพรากชีวิตแมวดูเหมือนจะไม่ใช่เรื่องแปลก ด้วยเหตุของความคิด ความเชื่อที่ส่งต่อกันมาว่าแมวนั้นเป็นสัตว์ชั่วร้าย Compora กล่าวว่า บางคนถึงกับกล่าวโทษแมวที่เป็นตัวการของการแพร่โรคระบาดของกาฬโรค และใช้สิ่งนั้นเป็นอีกเหตุผลหนึ่งในการพรากชีวิตแมวเหล่านั้น อย่างไรก็ตาม แผนการนั้นกลับล้มเหลวไม่เป็นท่า “เป็นการประชดที่แปลกประหลาดอย่างยิ่ง เพราะหากเป็นเช่นนั้นจริงการฆ่าแมวจะช่วยกระตุ้นการแพร่กระจายของโรคระบาดเสียมากกว่า” Compora อธิบาย “ด้วยจำนวนแมวที่ลดลงเพื่อควบคุมประชากรสัตว์ฟันแทะโรคนี้จึงแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว”

เปิดที่มาความเชื่อ "แมวดำ"

ต้นกำเนิดของความเชื่อเรื่องโชคลางกับการที่แมวดำวิ่งตัดหน้าคุณ

เมื่อพิจารณาจากความเชื่อในยุโรปยุคกลางที่ว่า ปีศาจและแม่มดสามารถอยู่ในร่างของแมวดำได้ Phoebe Millerwhite นักปรัชญาพื้นบ้านและศิลปิน จึงกล่าวว่า เมื่อนั้นความเชื่อทางไสยศาสตร์เกี่ยวข้องกับการการวิ่งตัดหน้าของแมวดำจึงเริ่มแพร่ขยายขึ้น “เพราะฉะนั้น แมวดำที่ขวางทางคุณเป็นการทำตามภารกิจจากแม่มด” เธอตั้งข้อสังเกต “บางทีมันอาจเป็นปีศาจที่ปลอมตัวมา และไม่มีใครอยากข้ามเส้นทางปีศาจเหล่านั้นไปแน่นอน สิ่งนี้จึงอธิบายได้ว่าทำไมแมวดำที่เดินทางตัดหน้าคุณจึงถือเป็นลางร้าย”

Fallingstar กล่าวว่า แนวคิดนี้ดำเนินต่อไปจนถึงยุคเรอเนซองส์ เมื่อแมวดำเดินหรือวิ่งตัดหน้าคุณอาจเป็นการบ่งบอกว่า แม่มดส่งสัตว์เลี้ยงของเธอมาทำร้ายคุณ “ชาวนาในสมัยนั้นรู้สึกหวาดกลัวอย่างมาก หลายต่อหลายครั้งที่พวกเขารับเดินทางไปยังโบสถ์ที่ใกล้ที่สุด และจ่ายเงินให้นักบวช เพื่อขอให้ทำลายคำสาปที่แมวอาจนำมาสู่พวกเขา อีกทั้งขอให้นักบวชอวยพรให้ได้รับแต่ความโชคดี” เธอกล่าว “เนื่องจากนี่เป็นแหล่งรายได้ของคริสตจักร ความกลัวดังกล่าวจึงทวีคูณยิ่วขึ้นและยากที่จะลบล้างออกให้ไป”

อย่างไรก็ดี ความคิดที่ว่าแมวดำเป็นสัญลักษณ์ของโชคร้ายนั้นกลับไม่ถูกแผ่ขยายในระดับสากล ตามที่ Compora กล่าว เพราะแท้จริงแล้วในบางวัฒนธรรมมีความเชื่อว่า แมวดำจะนำโชคลาภมาให้ “ความคล้ายคลึงของบรรดาแมวดำกับเทพธิดาแมว Bastet ทำให้แมวเหล่านั้นได้รับการเคารพยกย่องอย่างมากในอียิปต์โบราณ” เขาอธิบาย “ในประเทศอื่น ๆ เช่น สกอตแลนด์และญี่ปุ่น เป็นที่รู้กันว่าแมวเป็นตัวแทนของความเจริญรุ่งเรือง เห็นได้ชัดว่าไม่ว่าแมวดำจะถูกมองว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเมตตาหรือเป็นพลังเหนือธรรมชาติที่ชั่วร้ายก็ตามนั้นล้วนขึ้นอยู่กับตำนานใดกลุ่มชนเหล่านั้นเลือกที่จะเชื่อและยอมรับ”

เปิดที่มาความเชื่อ "แมวดำ" กับเรื่องราวในวันฮาโลวีน

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

Danita S.

นักเขียนบทความไลฟ์สไตล์ บันเทิง ประจำ Thaiger ติดตามทุกกระแส K-Pop และเท่าทันทุกเรื่องราวความบันเทิง ด้วยประสบการณ์มากกว่า 3 ปี จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ช่องทางติดต่อ bell@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button