ขั้นตอน แจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 2566 ออนไลน์
แจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 2566 ออนไลน์ ทำยังไง ขั้นตอนมีอะไรบ้าง ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ส. เลือกคนดีเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ถ้าติดธุระ ภารกิจสำคัญจนไปทำหน้าที่ใช้สิทธิออกเสียงไม่ได้ รีบเข้ามาดูแล้วทำตามนี้ พร้อมเปิดข้อมูลไม่ไปเลือกตั้งเสียสิทธิอะไรบ้าง
เชื่อว่าหลายๆ คนคงทราบดีถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นหากไม่ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 2566 ที่จะถึงนี้กันในระดับหนึ่งแล้ว อย่างไรก็ตาม แม้จะมีหลายคนที่กำลังเฝ้ารอการออกไปกาพรรคและนักการเมือง ส.ส.ในดวงใจ คนที่ใช่ ในการเข้ามาดูแลบริหารประเทศกันอย่างใจจดใจจ่อ แต่ขณะเดียวกันก็มีประชาชนบางส่วนที่มีเหตุจำเป็นต้องพลาดการออกมาใช้สิทธิใช้เสียงเลือกคนดีเข้าไปทำหน้าที่ในสภา ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 14 พ.ค.2566 ที่จะถึงนี้เช่นกัน
และเพือเป็นการนำเสนอข้อมูลที่รอบด้าน วันนี้ (7 เม.ย.66) จึงขออาสาเปิดขึ้นตอน พาไปดูรายละเอียดการ แจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 2566 แบบออนไลน์ ว่ามีอะไรที่ทุกคนต้องทราบก่อนจะตัดสินใจขอไม่ใช่สิทธิในครั้งนี้
แจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 2566 ออนไลน์ ทำขั้นตามได้ง่ายๆ ดังนี้
1. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ประสงค์จะแจ้งเหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์ให้แจ้งเหตุจำเป็นภายใน 7 วัน ก่อนวันเลือกตั้งหรือภายใน 7 วันนับแต่วันเลือกตั้ง ผ่านทางช่องทาง เว็บไซต์ www.bora.dopa.go.th หรือ www.ect.go.th แอปพลิเคชัน Smart Vote หัวข้อ “การแจ้งเหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 2566 ทางอิเล็กทรอนิกส์”
2. กรอกข้อความในแบบแจ้งเหตุที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 2566 ให้ถูกต้องครบถ้วน ได้แก่
- เลขบัตรประชาชน
- เลขหลังบัตรประชาชน
- ชื่อ นามสกุล
- วันเดือนปีเกิดในบัตรประชาชน
3. ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนด เมื่อยืนยันข้อความที่ได้กรอกแล้ว ระบบจะแจ้งเหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งให้โดยอัตโนมัติ
4. พิมพ์แบบการแจ้งเหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง หรือจัดเก็บสำเนาข้อมูลไว้ในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นหลักฐาน
5. สามารถติดตามหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง www.ect.go.th application Smart Vote และสายด่วน 1444
ไม่แจ้งเหตุไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 2566 สิทธิอะไรบ้าง ?
อ้างอิงข้อมูลจาก สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 18/12/2563
- เสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมัครรับเลือกเป็น ส.ว.
- เสียสิทธิสมัครรับเลือกเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
- เสียสิทธิเข้าชื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น
- เสียสิทธิดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
- เสียสิทธิดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการ ผู้ช่วยเลขาฯ ประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา คณะที่ปรึกษาของผู้บริหารท้องถิ่น
- เสียสิทธิดำรงตำแหน่งเลขานุการ ผู้ช่วยเลขาฯ ประธานสภาท้องถิ่น และเลขานุการรองประธานสภาท้องถิ่น โดยจะถูกจำกัดสิทธิเป็นเวลา 2 ปี