วิธีคำนวณค่า BMI สำหรับลูกเรือสายการบิน ก่อนฟ้าจะบิน ต้องเช็คหุ่นให้เป๊ะ
ช่วงนี้งานสายการบินกำลังครึกครื่น เพราะแต่ละสายการบินเองก็เริ่มเปิดรับสมัคร แอร์โฮสเตส-สจ๊วต สานฝันคนอยากติดปีกกันเยอะมากแบบตลาดแตกทั้งสายในประเทศและนอกประเทศ
ซึ่งหนึ่งในเกณฑ์การคัดเลือก คุณสมบัติของแอร์โฮสเตส-สจ๊วต ในหลาย ๆ สายการบินนั่นก็คือ ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ที่แม้ว่าบางสายไม่ได้เอามาใช้เป้ณเกณฑ์คัดเลือก แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าก็มีอีกหลายสายการบินเหมือนกันที่เลือกเอาเกณฑ์นี้มาใช้ เพราะด้วยเรื่องของบุคคลิกภาพที่ดูดีนั่นเอง
วิธีคำนวณค่า BMI สำหรับลูกเรือสายการบิน 2566
ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) คืออะไร ?
ค่า BMI (Body Mass Index) หรือภาษาไทยคือ ค่าดัชนีมวลกาย เป็นการวัดไขมันในร่างกายตามส่วนสูงและน้ำหนัก เป็นเครื่องมือง่าย ๆ ที่แพทย์ใช้เพื่อตรวจสอบว่าบุคคลนั้นมีน้ำหนักน้อย น้ำหนักปกติ น้ำหนักเกิน หรือเข้าข่ายเป็นโรคอ้วน
ทั้งนี้ค่าดัชนีมวลกาย ไม่ใช่การวัดไขมันในร่างกายโดยตรง แต่เป็นตัวบ่งชี้ที่มีประโยชน์เกี่ยวกับความเสี่ยงต่อสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับไขมันในร่างกายส่วนเกินเพียงเท่านั้น
วิธีคำนวณค่า BMI
ค่าดัชนีมวลกาย สามารถคำนวณได้โดยการนำน้ำหนัก (กิโลกรัม) ยกกำลังสองของส่วนสูง (เมตร) เข้าสูตรการคำนวณ BMI คือ
BMI = น้ำหนัก (กก.) / ส่วนสูง² (ม.)
ตัวอย่างเช่น ถ้าคนหนึ่งมีน้ำหนัก 70 กก. และสูง 1.75 ม. ค่าดัชนีมวลกายจะคำนวณเป็น BMI = 70 / (1.75)² = 22.86
ทั้งนี้ช่วงค่า BMI ที่ดีต่อสุขภาพ ถูกจัดให้อยู่ระหว่าง 18.5 ถึง 24.9 โดยคนที่ค่าดัชนีมวลกายที่ต่ำกว่า 18.5 ถือว่ามีน้ำหนักน้อย ในขณะคนที่มีค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 25 ถึง 29.9 ถือว่ามีน้ำหนักเกิน ส่วนค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 30 ขึ้นไปถือว่าเป็นโรคอ้วน
ความสำคัญของค่า BMI ต่อการเป็น แอร์โฮสเตส-สจ๊วต
แน่นอนว่านี่คือปี 2023 แล้วเป็นยุคที่เปิดกว้างเรื่องของ Beauty Standard ไม่ว่าใครจะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร ก็สามารถทำอาชีพที่ตัวเองอยากเป็นได้ทั้งนั้นไม่แม้แต่ แอร์โฮสเตส หรือสจ๊วต แต่สายการบินใหญ่ ๆ หลายเจ้าก็ยังเลือกที่จะใช้ค่า BMI เป็นส่วนหนึ่งในคุณสมบัติการรับสมัครอยู่
แต่ทั้งหมดก็มีเหตุผลด้วยนะ เพราะหลายสายการบินมองว่า ในฐานะพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ลูกเรือควรจะมีร่างกายที่แข็งแรงและสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้นหากค่าดัชนีมวลกายของคุณต่ำ หรือเกินกว่าช่วงปกติ แสดงว่าร่างกายของบุคคลนั้น อาจไม่แข็งแรงพอที่จะปฏิบัติหน้าที่ได้ในไฟล์ทบินยาว ๆ และหากเกิดเหตุฉุกเฉินกับตัวลูกเรือขณะเดินทาง อาจส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อผู้โดยสารและเวลาการทำงานของสายการบินนั่นเอง
วิธีรักษาค่า BMI ในฐานะลูกเรือสายการบิน
การรักษาค่าดัชนีมวลกายที่ดีต่อสุขภาพในฐานะลูกเรือของสายการบิน เป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อให้แน่ใจว่าตัวเองนั้นมีร่างกายที่แข็งแรง และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเคล็ดลับในการรักษาค่า BMI ให้คงมาตรฐานได้ดังนี้
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และสมดุล
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- นอนหลับให้เพียงพอ
- จัดการความเครียดอย่างมีประสิทธิภาพ
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่สายการบินใช้ในการพิจารณาว่าผู้สมัครมีความเหมาะสมที่จะทำงานเป็นลูกเรือของเครื่องบินหรือไม่ เพราะในฐานะพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน การรักษาค่าดัชนีมวลกายให้แข็งแรงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้แน่ใจว่าคุณมีร่างกายที่แข็งแรงและสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การมีวินัย และความมุ่งมั่นที่จะมีสุขภาพดี ทั้งการควบคุมน้ำหนัก คุณจะสามารถรักษาค่าดัชนีมวลกายที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานได้ และเป็นเครื่องการันตีว่าคุณนั้นเหมาะสมสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะลูกเรือของสายการบินได้อีกด้วย