ทนายความชี้ พินัยกรรม “บุ้ง ทะลุวัง” ยังต้องรอดูฉบับจริง หลังมีเหตุส่อเป็นโมฆะ
ทนายเจมส์ นิติธร แก้วโต เผย พินัยกรรมบุ้ง ทะลุสัง ที่เขียนมอบทรัพย์สินและของมีค่า และแมวให้กับ หยก อาจเป็นโมฆะ
วันที่ 14 พ.ค.2567 กรณีสืบเนื่องจากข่าวการเสียชีวิตของ บุ้ง เนติพร นักกิจกรรมการเมือง กลุ่มทะลุวัง ล่าสุด ทนายเจมส์ นิติธร แก้วโต ได้ออกมาเคลื่อนไหวแสดงความเห็นถึงพินัยรรมขอบุ้งทะลุวังที่ก่อนเสียชีวิต เคยระบุไว้ชัดเจนว่า ทรัพย์สินและของมีค่ารวมถึงแมว 1 ตัว จะยกให้กับ น.ส.หยก อดีตเยาวชนนักเคลื่อนไหวทางการเมืองด้วยกันนั้น
ล่าสุดประเด็นนี้ ทนายเจมส์ ตั้งข้อสงสัยอาจจะไม่เป็นไปตามความต้องการของผู้ตายที่เคยประกาศไว้ เนื้อหาที่นักกฎหมายหนุ่มโพสต์อธิบายไว้ ระบุ “พินัยกรรมที่พิมพ์ขึ้นมาเอง ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยาน 2 คนพร้อมกัน และพยานต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น ตาม ปพพ. ม.1656 ไม่มีพยานหรือลงชื่อไม่ครบ ตกเป็นโมฆะ ตาม ม.1705”
อย่างไรก็ตาม ต่อมาทนายเจมส์ได้แชร์ข่าวของเพจ สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว ที่ได้มีการลงรูปของเอกสารพินัยกรรมฉบับดังกล่าวที่บุ้งได้เขียนไว้ โดยฝั่งของทนายความระบุว่า ถึงตอนนี้ยังคงต้องรอดดูเอกสารพิัยกรรมฉบัีบจริง เพราะอาจจะมีการลงลายมือชื่อของพยานไว้ครบถ้วนก็ได้
ทั้งนี้ น.ส.เนติพร เคยทำพินัยกรรม ลงวันที่ 2 ก.พ.67 ระบุเจตนาจัดการทรัพย์สิน หากตนถึงแก่ชีวิตแล้ว โดยได้แสดงเจตนายกกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ดังนี้
- ทรัพย์สินที่เป็นเงินสดและในบัญชีเงินฝากธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง รวมทั้งนาฬิกาข้อมือ ต่างหู และสัตว์เลี้ยง คือ แมวชื่อ โซ จำนวน 1 ตัว ขอให้ หยก (หยก ธนลภย์) ทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว
- ทรัพย์สินอื่น นอกจากที่ระบุไว้ ข้อ 1. อันรวมถึงที่ดิน สิทธิเรียกร้อง และสิทธิตามมรดกที่ตนมีอยู่ก่อนจะถึงแก่ความตาย ขอยกให้ พี่สาว เพียงผู้เดียว
นอกจากนี้ในพินัยกรรมยังขอมอบให้ทนายความของน.ส.เนติพร เป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมนี้และให้มีอำนาจหน้าที่ตามกฏหมายทุกประการ
น.ส.เนติพร เคยมีหนังสือเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย รวมทั้งหนังสือแสดงเจตนาขอบริจาคร่างกาย ลงวันที่ 8 ก.พ. 2567 โดย น.ส.เนติพร ได้แสดงเจตนาบริจาคร่างกาย ภายหลังเสียชีวิตแล้วให้กับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เพื่อศึกษาและวิจัย เพื่อนำร่างไปใช้ทำประโยชน์.
อ่านข่าวเพิ่มเติม