ชมระเบิดโนวา T CrB หนเดียวในรอบ 80 ปี ส่องแสงเจิดจรัส มองเห็นด้วยตาเปล่า
องค์การนาซา (NASA) แจ้งข่าวว่า ภายในปี 2024 นี้ จะเกิดปรากฏการณ์โนวาของดาว T Coronae Borealis (T CrB) ท่ีสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากท้องฟ้าของเรา ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวใน 80 ปี คาดกำหนดการอยู่ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์-กันยายนปีนี้
ย้อนกลับไปเมื่อ ครั้งล่าสุดที่ ที โคโรนา โบรีอาลิส (T Coronae Borealis) หรือ ที ซีอาร์บี (T CrB) เกิดการปะทุคือปีคริสต์ศักราช 1946 หมายความว่า นี่เป็นโอกาสพิเศษในรอบ 80 ปี ที่เราอาจมีโอกาสเห็นปรากฏการณ์นี้เพียงหนเดียวในช่วงชีวิตนั่นเอง
ความสว่างของ T Coronae Borealis โดยปกติจะมืดเกินกว่าจะมองเห็นด้วยตาเปล่า แต่เมื่อเกิดโนวา ดาวจะสว่างขึ้นมาจนสามารถมองเห็นได้ชัด ดาว T CrB จะสว่างอยู่หลายวัน อาจจะมากกว่า 1 สัปดาห์ ก่อนที่แสงจะหรี่แสงลงอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม นับเป็นข่าวดีที่ปรากฏการณ์นี้ สามารถมองเห็นได้จากทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ในพื้นที่ท้องฟ้าปลอดโปร่งไร้เมฆและฝน ค่ำคืนที่มืดสนิทเหมาะแก่การดูดาว
ส่วนสาเหตุการเกิด ระเบิดโนวา เกิดขึ้นเมื่อดาวแคระขาวดูดซับสสารจากดาวยักษ์แดงที่โคจรรอบกัน ทำให้สสารสะสมมากพอจะทำให้เกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ ที่ก่อให้เกิดโนวา
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ NASA ยังได้ระบุว่า “นี่อาจเป็นโอกาสในการรับชมครั้งหนึ่งในชีวิต เนื่องจากการระเบิดโนวาจะเกิดขึ้นทุก ๆ 80 ปีเท่านั้น”
เกร็ดความรู้ : ระบบดาวคู่ T CrB เป็นระบบ “ดาวนิวา” (Dao ni wa) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อดาวแคระขาว (Dao kraa khao) ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่เผาไหม้ชั้นไฮโดรเจนหมดแล้ว โคจรคู่กับดาวฤกษ์ยักษ์แดง (Dao ruk sat yak daeng) โดยดาวแคระขาวจะดึงดูดเอาไฮโดรเจนจากดาวฤกษ์ยักษ์แดงมาสู่พื้นผิวของตัวเอง จนกระทั่งเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบเทอร์โมนิวเคลียร์ ส่งผลให้ดาวแคระขาวส่องสว่างจ้าขึ้นชั่วคราว
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- นาซา ร่วมกับ สทอภ. เริ่มบิน เช็กมลพิษทางอากาศในไทย หวังผลภายใน 1 ปี
- นาซายังงง แสงสีเขียวกลางทะเลไทยคืออะไร ก่อนรู้เฉลยเป็นเรือไดหมึก
- NASA แถลงยังไม่พบหลักฐานว่า ‘เอเลี่ยน’ มีจริงไหม แต่ไม่ตัดความเป็นไปได้
อ้างอิง : นาซา