การเงินเศรษฐกิจ

20 ก.ย. แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท เช็กที่นี่ ใครได้ก่อน-หลัง

รัฐบาลคาดการณ์ แจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ให้กลุ่มเปราะบางตั้งแต่ 20 ก.ย. เป็นต้นไป ตรวจสอบไทม์ไลน์ เงื่อนไขการใช้จ่าย และวิธีการลงทะเบียนแอปฯ ทางรัฐ ได้ที่นี่

เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2567 นาย พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงความคืบหน้า โครงการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท โดยคาดว่าจะแจกเงินกลุ่มเปราะบาง ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือบัตรคนจน จำนวน 13.5 ล้านคน ในวันที่ 20 ก.ย. เป็นต้นไป

Advertisements

สำหรับโครงการดิจิทัลวอลเล็ตอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแจกจ่ายเงินหรือเงื่อนไขต่าง ๆ ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ทำให้บางกระบวนการต้องเร่งให้เร็วขึ้น โดยรัฐบาลได้เตรียมกรอบงบประมาณสำหรับโครงการดิจิทัลวอลเล็ตไว้จำนวน 450,000 ล้านบาท ซึ่งงบประมาณที่ยังขาดอยู่ รัฐบาลจะจัดหางบประมาณในส่วนที่สามารถทำได้ เช่น งบฯ ปี 2567 ที่ออกกฎหมายงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม 122,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีงบประมาณอื่น ๆ จำนวน 23,000 ล้านบาท เพื่อนำมาใช้จ่ายให้กับเหลือกลุ่มเปราะบางในช่วงปลายเดือน ก.ย. นี้

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลแผนที่จะปรับเปลี่ยนโครงสร้างหลังจากปิดลงทะเบียนรับสิทธิ์ เมื่อรัฐบาลได้จำนวนผู้ลงทะเบียนที่แน่ชัดแล้วจะนำไปหักลบกับกลุ่มเปราะบางที่ได้รับเงินเป็นกลุ่มแรกจากนั้นก็จะทราบจำนวนผู้ใช้สิทธิ์รับเงินที่ชัดเจน ปัจจุบันมีผู้ลงทะเบียนแล้วกว่า 32 ล้านคน ซึ่งยังไม่ใช่จำนวนที่แท้จริง เนื่องจากยังไม่ได้หักกลุ่มเปราะบางออก สำหรับไทม์ไลน์การแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต เงื่อนไขผู้มีสิทธิ์รับเงิน และวิธีการลงทะเบียนแอปฯ ทางรัฐ จะไปตามไทม์ไลน์เดิมที่รัฐบาลเคยแถลงไว้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ไทม์ไลน์การแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต

สำหรับปฏิทินการแจกจ่ายเงินดิจิทัล 10,000 นั้นยังคงยึดตามไทม์ไลน์เดิม โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเปราะบาง, กลุ่มผู้มีสมาร์ทโฟน และกลุ่มผู้ไม่มีสมาร์โฟน ซึ่งมีรายละเอียดการลงทะเบียนและรับเงินที่แตกต่างกัน ดังนี้

1. กลุ่มเปราะบาง ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้มีรายได้น้อย

คนกลุ่มนี้ไม่ต้องลงทะเบียนใหม่ จะได้รับเงินผ่านบัตรคนจนหรือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ภายใน 20 เดือน กันยายน 2567

Advertisements

วิธีกดเงินสดด้วยบัตรประชาชน

สำหรับกลุ่มเปราะบางที่มีสิทธิรับเงินดิจิทัลวอลเล็ตสามารถเอาบัตร ATM ของธนาคารที่ผูกพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชน 13 หลักไปกดเงินสดออกมาได้ ตามขั้นตอนดังนี้

1. ผูกบัตรประชาชนผ่านพร้อมเพย์ ด้วยบัตรประชาชน 13 หลัก

2. หลังจากนั้นนำ ATM ที่ผูกกับพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชน 13 หลัก

3. จากนั้นให้เข้าหน้าเมนูหลักแล้วกดปุ่ม “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” ทั้งนี้ หากตู้ ATM สีเทา หากไม่ใช่ตู้ ATM แบบดังกล่าวจะไม่มีปุ่ม “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” และไม่สามารถทำรายการต่อได้

4. กดปุ่ม “ขอดูยอดวงเงินเหลือ” เพื่อตรวจสอบว่ามีเงินโอนเข้ามาหรือไม่ และเหลือยอดเงินที่สามารถกดได้เท่าไร

5. หน้าจอจะแสดงยอดเงินคงเหลือที่ใช้ได้ และถามว่า “ท่านต้องการบริการอื่นอีกหรือไม่”

6. หากต้องการถอนเงิน ให้กดปุ่ม “ต้องการ “

7. ระบบจะกลับมาที่หน้าเมนูหลักอีกครั้ง จากนั้นให้กดปุ่ม “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” ซ้ำอีกครั้ง

8. กดปุ่ม “ถอนเงิน” ใส่จำนวนเงินที่ต้องการถอน และกดปุ่ม “ถูกต้อง” จากนั้นจะได้รับเงินสดจากตู้ ATM

สำหรับ กลุ่มเปราะบางที่มีสิทธิรับเงินจากโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท รัฐบาลโอนเงินสดให้ภายในวันที่ 30 กันยายน 2567 ทั้งนี้ ประชาชนต้องติดตามรายละเอียดและความคืบหน้าของโครงการต่อไป หากมีการแถลงข้อมูลเพิ่มเติมจะรายงานให้ทราบอีกครั้ง

2. กลุ่มผู้มีสมาร์ทโฟน

กลุ่มผู้ใช้สมาร์ทโฟน ลงทะเบียนรับสิทธิ์ผ่านแอปฯ ทางรัฐภายในวันที่ 15 ก.ย. 67

3. กลุ่มผู้ไม่มีสมาร์ทโฟน

ส่วนผู้ที่ไม่มีสมาร์ทโฟน จะเปิดให้ลงทะเบียนรับสิทธิ์ ระหว่างวันที่ 16 ก.ย. – 15 ต.ค. 67 ส่วนช่องทางลงทะเบียนนั้นจะเป็นช่องทางที่ภาครัฐกำหนด โดยจะมีการแจ้งรายละเอียดอย่างเป็นทางการอีกครั้งประมาณวันที่ 11 -13 ก.ย. 2567 เพื่อความชัดเจนตามที่รัฐบาลได้วางเป้าหมายไว้ในตอนแรก

เงื่อนไขผู้ที่ได้รับเงินดิจิทัล 10,000

1. ประชาชนที่มีที่อยู่ในทะเบียนบ้าน

2. สัญชาติไทย

3. มีอายุตั้งแต่ 16 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันที่ปิดรับลงทะเบียน (15 ก.ย. 67)

4. เป็นผู้ที่มีไม่เป็นผู้มีรายได้เกิน 840,000 บาท สำหรับปีภาษี 2566 โดยกรมสรรพากรประมวลผลข้อมูล ผู้มีรายได้ 7 วัน ก่อนเปิดลงทะเบียนโครงการ

5. ไม่เป็นผู้ที่มีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจรวมกันเกิน 500,000 บาท โดยเงินฝากดังกล่าวหมายความถึงเฉพาะเงินฝากที่อยู่ในรูปสกุลเงินบาทเท่านั้น และไม่รวมถึงเงินฝากในบัญชีร่วม และเป็นเงินฝาก ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567 โดยตรวจสอบทั้งหมด 6 ประเภท ได้แก่

  • เงินฝากกระแสรายวัน
  • เงินฝากออมทรัพย์
  • เงินฝากประจำ
  • บัตรเงินฝาก
  • ใบรับฝากเงิน
  • ผลิตภัณฑ์เงินฝากในชื่อเรียกอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกับข้อ (1) – (5)

6. ไม่เป็นผู้ที่อยู่ระหว่างต้องโทษจำคุกในเรือนจำ

7. ไม่เป็นผู้ที่ถูกระงับสิทธิหรือถูกเรียกเงินคืนในมาตรการโครงการอื่น ๆ ของรัฐ

8. ไม่เป็นผู้ฝ่าฝืนเงื่อนไขของมาตรการหรือโครงการอื่น ๆ ของรัฐ

คาดการณ์การแจกจ่ายเงิน 10,000 ในรูปแบบใด

รัฐบาลได้ออกมาชี้แจงแล้วว่ากลุ่มเปราะบางจะได้รับเงินสด 10,000 บาทผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ภายในเดือน ก.ย. 67 ส่วนกลุ่มผู้ใช้สมาร์ทโฟนตามไทม์ไลน์เดิม ระบุว่า ประชาชนจะได้รับเงินผ่านแอปพลิเคชั่นทางรัฐ โดยใช้จ่ายผ่านแอปฯ แบบซื้อขายกันต่อหน้าเท่านั้น สำหรับกลุ่มไม่มีสมาร์ทโฟนจะคาดว่าจะใช้จ่ายเงินผ่านบัตรประชาชน แต่จะมีเงื่อนไขและข้อจำกัดมากกว่ากลุ่มผู้ใช้สมาร์ทโฟน

วิธีลงทะเบียนแอปฯ ทางรัฐ

1. ดาวน์โหลดแอปฯ ทางรัฐ ได้ทั้งระบบ IOS และ Android ผ่าน App Store และ Google Play

สำหรับผู้ใช้ระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์ (Android) >>> Android

สำหรับผู้ใช้ระบบปฏิบัติการ ไอโอเอส (IOS) >>> IOS

2. เข้าสู่แอปฯ กด ‘สมัครสมาชิก’ เลือกสมัครด้วยบัตรประชาชน

3. สแกนหน้าบัตรประชาชนตามคำแนะนำ

4. เช็กข้อมูลส่วนบุคคลว่าถูกต้องตามหน้าบัตรประชาชนหรือไม่

5. กดไปขั้นตอนถัดไป

6. สแกนหลังบัตรประชาชน (Laser Code)

7. อ่านข้อแนะนำในการสแกนใบหน้าของท่าน แล้วกดเริ่มยืนยันตัวตน

8. เริ่มการสแกนใบหน้าของตนเอง ให้อยู่ในกรอบ

9. ตั้งชื่อบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่านของท่านในการเข้าสู่แอปฯ จากนั้นกดยืนยัน

10. ตั้งค่า PIN Code ในการเข้าใช้งานแอปฯ ทางรัฐ

11. เปิดใช้งานการสแกนใบหน้า หรือ สแกนลายนิ้วมือของท่านในการเข้าใช้งานแอปทางรัฐ

เงินดิจิทัล 10,000 ซื้ออะไรได้บ้าง

  • สินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ข้าวสาร ไข่ไก่ เป็นต้น
  • เครื่องดื่ม (ไม่มีแอลกอฮอล์) สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก กะปิ น้ำปลา ซอสปรุงรส เป็นต้น
  • ยารักษาโรค เช่น ยาแก้ไข้ ยาแก้ท้องเสีย เป็นต้น
  • ธูปเทียนและเครื่องสักการะ ชุดถวายสังฆทาน เป็นต้น
  • สินค้าเพื่อการศึกษา เช่น เครื่องแบบนักเรียน เครื่องเขียน สมุด ปากกา ดินสอ เป็นต้น
  • สินค้าวัตถุดิบเพื่อการเกษตร เช่น ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช เมล็ดพันธุ์พืช เป็นต้น
  • สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น ผักสด ผลไม้ อาหารสด เครื่องจักสาน เป็นต้น

เงินดิจิทัล 10,000 ซื้ออะไรไม่ได้บ้าง

1. สลากกินแบ่งรัฐบาล

2. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

3. ผลิตภัณฑ์ยาสูบ

4. กัญชา

5. กระท่อม

6. พืชกระท่อม

7. ผลิตภัณฑ์กัญชาและกระท่อม

8. บัตรกำนัล

9. บัตรเงินสด

10. ทองคำ

11. เพชร

12. พลอย

13. อัญมณี

14. น้ำมันเชื้อเพลิง

15. ก๊าซธรรมชาติ

16. เครื่องใช้ไฟฟ้า

17. อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

18. เครื่องมือสื่อสาร

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

sukanlaya s.

นักเขียนบทความ SEO ประจำเว็บไซต์ The Thaiger จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชี่ยวชาญงานเขียนประเภท ข่าวกระแสสังคม และบทความไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็น รีวิวที่เที่ยว เทรนด์แฟชั่นและความงาม พร้อมแนะนำกระแสมาแรง ทันเหตุการณ์ ช่องทางติดต่อ ying@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button