ย้อนวันวาน ‘สนามศุภชลาศัย’ เล่าประวัติ เปิดที่มาสนามกีฬา ใจกลางกรุงเทพ

ย้อนวันวาน เล่าที่มาของ สนามศุภชลาศัย ประวัติ ทำไมต้องใช้ชื่อนี้ พาย้อนเวลาประวัติศาสตร์ กว่าจะมาเป็น สนามกีฬาแห่งชาติ ใจกลางกรุงเทพมหานครฯ
เชื่อว่าเมื่อพูถึงสนามกีฬาที่เป้นทั้งสถานที่เล่นกีฬา และสถานที่จัดคอนเสิร์ตของศิลปินระดับโลกหลาย ๆ ที่จัดขึ้นในประเทศไทย หลายคนล้วนต้องนึกถึง สนามกีฬาศุภชลาศัย อย่างแน่นอน แต่รู้หรือไม่!?! ที่แห่งนี้นั้นมีความหลัง วันนี้ The Thaiger จะพาทุกคนมาเล่าความหลังประวัติที่มาของชื่อ สนามกีฬาแห่งชาติ ที่นี่กัน
- รุดตรวจสนามแข่งรถตรัง หลังเด็ก 16 ดับ 2 ขวบกะโหลกร้าว
- เตรียมจองบัตร ! Maroon 5 มาไทย จัดคอนเสิร์ต ณ ราชมังคลากีฬาสถาน 10 ธ.ค. 65 นี้
- สรุปดราม่า วิ่งแดงเดือด หลังมีแฟนบอลลิเวอร์พูล ใส่เสื้อแมนยูปลอม THE MATCH RUN 2022

สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ สนามกีฬาในกลางกรุงเทพฯ ที่เป็นมากกว่าสนามกีฬา
| สนามศุภชลาศัย ประวัติ
สนามศุภชลาศัย, กรีฑาสถานแห่งชาติ (The National Stadium of Thailand) หรือที่เรีกกันว่า สนามกีฬาแห่งชาติ มีจุดกำเนิดมาจากการแข่งขันกรีฑานักเรียน ในสนามกีฬาของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
ในปี 2477 นาวาโทหลวงศุภชลาศัย อธิบดีกรมพลศึกษาคนแรก มีดำริในการจัดหาสถานที่ตั้ง สนามกีฬากลางกรมพลศึกษา, โรงเรียนฝึกหัดครูพลศึกษากลาง ปัจจุบันคือ คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และ สโมสรสถานลูกเสือ ปัจจุบันคือ ที่ทำการคณะลูกเสือแห่งชาติ

จนกระทั่งได้ทำสัญญากับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเช่าที่ดินขนาด 77 ไร่ 1 งาน ที่ตำบลหอวัง บริเวณวังวินด์เซอร์เดิม เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2478 เป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 29 ปี โดยสนามกีฬาแห่งใหม่นี้มีชื่อว่าสนามกรีฑาสถาน และทางกรมพลศึกษาได้ย้ายมาประจำการที่นี่ในปี พ.ศ. 2481

3 ปีต่อมา กรมพลศึกษาได้เปลี่ยนชื่อจากสนามกรีฑาสถานเป็น “สนามศุภชลาสัยกรีฑาสถานแห่งชาติ” หรือที่ผู้คนนิยมเรียกกันว่า “สนามศุภชลาศัย” หรือ “สนามกีฬาแห่งชาติ ”
ปัจจุบัน สนามกีฬาแห่งนี้อยู่ภายใต้การดูแลของ สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ (สพก.) และได้คืนพื้นที่บางส่วนให้เป็นสถานที่เรียนของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยังมีการใช้สถานที่บางส่วนเป็นที่ทำการของ สพก. อีกทั้งยังเป็นศูนย์บริการประชาชน ศูนย์รวมการทำกิจกรรม ของเหล่านิสิตและนักศึกษา ศูนย์ส่งเสริมกิจกรรมนันทนาการ ศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา และสุขภาพสถานที่ออกกำลังกาย โดยมีความจุผู้ชมรวมอยู่ที่ 35,000 ที่นั่ง อีกด้วย

| สนามศุภชลาศัย ในการแข่งขันกีฬาระดับประเทศ
ขึ้นชื่อว่าสนามกีฬาแห่งชาติ ดังนั้นแล้วสนามศุภชลาศัยแห่งนี้ เคยเป็นสถานทีี่สำหรับใช้ในการแข่งขันระดับนานาชาติมาแล้วหลายรายการ ได้แก่
การแข่งขันกีฬาแหลมทอง (SEAP Games หรือเซียพเกมส์) ครั้งที่ 1
การแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 5
การแข่งขันกีฬาแหลมทอง (SEAP Games หรือเซียพเกมส์ ) ครั้งที่ 4
การแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 16
การแข่งขันกีฬาแหลมทอง (SEAP Gamesหรือ เซียพเกมส์) ครั้งที่ 8
การแข่งขันฟุตบอล ชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพควีนส์คัพ
งานฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ – ธรรมศาสตร์
งานฟุตบอลประเพณี จตุรมิตรสามัคคี
ฟุตบอลโลกหญิง รอบคัดเลือกโซนเอเชีย ประจำปี พ.ศ. 2550
ฟุตบอลในกีฬามหาวิทยาลัยโลก ครั้งที่ 24

| อาคารสถานที่ภายในกรีฑาสถานแห่งชาติ
สนามกีฬาแห่งชาติ
สนามศุภชลาศัย เป็นสนามกีฬาหลักของกรีฑาสถานแห่งชาติ มีลู่วิ่งสังเคราะห์ สำหรับจัดการแข่งขันกรีฑา ใช้ในการแข่งขันกีฬานัดสำคัญ ชื่อเดิมว่า สนามกรีฑาสถาน ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นชื่อ สนามศุภชลาสัย เพื่อเป็นเกียรติแก่ หลวงศุภชลาศัย
สนามฟุตบอลเทพหัสดิน
สนามกีฬากลางแจ้ง มีลู่วิ่งสำหรับจัดการแข่งขันกรีฑา ใช้ในการแข่งขันและฝึกซ้อมกีฬาทั่วไป ชื่อเดิมว่า สนามฮอกกี้ เนื่องจากใช้เป็นสนามแข่งขันฮอกกี้ ในกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 5 ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น สนามฟุตบอลเทพหัสดิน เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึง สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา บิดาแห่งกีฬาฟุตบอลในประเทศไทย และ นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา อดีตรักษาการอธิบดีกรมพลศึกษา
สนามจินดารักษ์
ศูนย์สาธิตและฝึกซ้อมกีฬาชายหาดแห่งชาติ ในอดีตเป็นสนามกีฬากลางแจ้ง สำหรับใช้ในการแข่งขันระดับรองและการฝึกซ้อมกีฬาทั่วไป มีชื่อเดิมว่า สนามกีฬาต้นโพธิ์ สร้างขึ้นภายหลัง สงครามมหาเอเชียบูรพา
สระว่ายน้ำวิสุทธารมณ์
สระว่ายน้ำขนาดมาตรฐานแข่งขัน พร้อมทั้งหอกระโดดและอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมถึงมีอัฒจันทร์สองฝั่ง ใช้ในการแข่งขันและฝึกซ้อมกีฬาทางน้ำ มีชื่อเดิมคือ สระว่ายน้ำโอลิมปิก
อาคารกีฬานิมิบุตร
สนามกีฬาในร่ม สำหรับการแข่งขันและฝึกซ้อมกีฬาในร่ม จุดประสงค์เพื่อให้สมาคมมวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ใช้เป็นสถานที่จัดแข่งขัน มวยสากลสมัครเล่นชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ครั้งที่ 1
อาคารจันทนยิ่งยง
สนามกีฬาในร่ม สำหรับการแข่งขันและฝึกซ้อมกีฬาในร่ม ตลอดจนฝึกกายบริหาร ใช้ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 5
