ผู้ชายผู้หญิงสุขภาพและการแพทย์อีเว้นท์ไลฟ์สไตล์

Rainbow Washing เพราะสีรุ้งใช่เพียงการตลาด

ช่วงนี้มองไปทางไหนก็จะเห็นแต่ธงสีรุ้ง สัญลักษณ์ของเดือนไพรด์ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือการสนับสนุนความเท่าเทียมหรือเป็นเพียง Rainbow Washing การตลาดสีรุ้งเพื่อเอาใจชาว LGBTQIAN+ แต่ไม่ได้มีการผลักดันมูฟเมนต์ให้เกิดความเท่าเทียมอย่างจริงจัง ซ้ำร้ายบางหน่วยงานยังมีการเลือกปฏิบัติทางเพศ รวมถึงมีการเหยียดเพศเกิดขึ้นในองค์กร ส่งผลให้ธงสีรุ้งที่ควรเจิดจรัสต้องมัวหมองและกลายเป็นเพียงความฉาบฉวย

จากเหตุจลาจล สู่จุดเริ่มต้นการเรียกร้องสิทธิ และการโบกสะบัดของธงสีรุ้ง

ธงสีรุ้งรุ่นแรกถือกำเนิดขึ้นในปี 1978 ออกแบบโดย Gilbert Baker ศิลปินชาวอเมริกัน แรกเริ่มมี 8 สี ซึ่งแต่ละสีก็มีความหมายแตกต่างเฉพาะตัว ถูกนำไปใช้ในงานเดินขบวนรณรงค์สิทธิความเท่าเทียม Gay Freedom Day ที่เมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1978 จนกระทั่งเวลาล่วงเลยมาถึงคืนวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ.1969 มีเหตุการณ์จลาจลเกิดขึ้น สืบเนื่องมาจากชาวเกย์รวมกลุ่มในบาร์กันตามปกติ แต่กลับถูกตำรวจตรวจค้นอย่างไม่เป็นธรรม ผู้คนในบาร์จึงมีการขัดขืนจนเกิดเป็นเหตุจลาจล กลายเป็นจุดเริ่มต้นของแรงผลักดันในการเรียกร้องสิทธิและความเท่าเทียม

Advertisements

หลังจากนั้นธงสีรุ้งจึงถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของชาว LGBTQIAN+ ในเดือนมิถุนายนของทุกปี เป็นจุดเริ่มต้นของ Pride Month เดือนแห่งความภาคภูมิใจและความหลากหลายทางเพศ

[lasso ref=”mordee-4″ id=”631435″ link_id=”156275″]

Rainbow Washing แค่เพิ่มธงรุ้งก็เท่ากับสนับสนุนความเท่าเทียม

ปฏิเสธไม่ได้ว่าภาพลักษณ์ของแบรนด์ต่าง ๆ ในช่วงนี้จะเต็มไปด้วยสัญลักษณ์สีรุ้งเพื่อแสดงให้เห็นถึงการร่วมสนับสนุนความเท่าเทียม โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้บริโภคชาว LGBTQIAN+ ที่ต้องการถูกยอมรับเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ทางแบรนด์ต้องการจะบอกให้รู้ว่าเราสนับสนุนความหลากหลายทางเพศ แต่นอกจากประดับธงรุ้งแล้วก็ไม่ได้มีการรณรงค์ขับเคลื่อนมูฟเมนต์อย่างจริงจัง จนเกิดการตั้งคำถามขึ้นมาว่าแบรนด์ต่าง ๆ เหล่านั้นสนับสนุนความเท่าเทียมจริง ๆ หรือเป็นเพียงการตลาดสีรุ้งที่พอหมดเดือนมิถุนายน ธงสีรุ้งและของประดับตกแต่งเหล่านั้นก็จะถูกปลดออก ทิ้งไว้ในห้องเก็บของ เหมือนกับสิทธิของชาว LGBTQIAN+ ที่ถูกหลงลืมไปว่าพวกเขาก็เป็นมนุษย์เช่นเดียวกัน

อย่าให้สีรุ้งเป็นเพียงการตลาด

คุณเองก็สามารถร่วมสนับสนุนความเท่าเทียมได้โดยไม่จำเป็นต้องโบกธงสีรุ้ง แม้ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่เปิดกว้างในเรื่องเพศ มีกะเทยสวยที่สุดในโลก มีซีรีส์วายโด่งดังจนสามารถส่งออกขายต่างประเทศ แต่กฎหมายไทยยังไม่อนุญาตให้คนเพศเดียวกันจดทะเบียนสมรสกันได้ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ชาว LGBTQIAN+ ต้องการมากที่สุด พวกเขามีสิทธิและมีเสียงในฐานะมนุษย์ ต้องการสวัสดิการรวมถึงสิทธิต่าง ๆ ในด้านกฎหมายเช่นเดียวกับคนอื่น ๆ

ลงชื่อสนับสนุนสมรสเท่าเทียม >> https://www.support1448.org/

Advertisements

ทีมงานเว็บไซต์หมอดีขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้มีการสมรสเท่าเทียมเกิดขึ้น ด้วยการลงชื่อสนับสนุนกฎหมายสมรสเท่าเทียม และขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมสร้างสรรค์สังคมไทยให้มีความน่าอยู่ด้วยการลงชื่อผลักดันให้กฎหมายนี้เกิดขึ้น เพราะมนุษย์ทุกคนล้วนมีคุณค่า มีความหลากหลายเหมือนกับธงสีรุ้งที่กำลังโบกสะบัดอยู่ในขณะนี้

 


 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจองดีลได้ที่ Facebook : Mordee

อ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button