ข่าว

ข้อปฏิบัติเมื่อ ตั้งครรภ์ติดโควิด คุณแม่ต้องเข้ามาอ่าน

รู้ไว้ ข้อปฏิบัติเมื่อ ตั้งครรภ์ติดโควิด คุณแม่หลายคนที่ติดโควิดคงจะกังวลไม่น้อยต่อสุขภาพของตัวเอง และการที่ลูกน้อยต้องเสี่ยงติดเชื้อร่วมด้วย แต่ไม่ต้องกังวลหรือหนักใจไป เพราะเรามีวิธีปฏิบัติสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เกิดติโรคโควิด จากนายแพทย์เอกชัย เพียรศรีวัชรา รองอธิบดีกรมอนามัย มาฝากกันค่ะ

 

คุณแม่ต้องรู้ ข้อปฏิบัติเมื่อ ตั้งครรภ์ติดโควิด

 

  • ข้อควรระวังเมื่อติดโควิดระหว่างตั้งครรภ์

สิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ทั้งหลายควรเช็คให้ดีคือ อาการเจ็บท้องคลอดก่อนกำหนด ท้องแข็ง เลือดออกจากช่องคลอด น้ำใสๆ ไหลออกจากช่องคลอด ซึ่งอาจจะหมายถึงอาการน้ำเดิน มีอาการครรภ์เป็นพิษ เช่น ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว จุกแน่นลิ้นปี่ เป็นต้น

ส่วนถ้าคุณแม่คนไหนมีอาการดังต่อไปนี้ ก็ขอให้รีบไปพบแพทย์แบบด่วน ๆ เลยค่ะ

  1. ระบบการหายใจมีปัญหารุนแรงทำให้หายใจลำบาก หอบเหนื่อย
  2. ความอิ่มตัวของเลือดน้อยกว่า ร้อยละ 96 หรือลดลงร้อยละ 3 จากค่าที่วัดได้ในตอนแรก
  3. มีอาการแน่นหน้าอกตลอดเวลา หายใจเจ็บหน้าอก
  4. ตอบสนองช้า ไม่มีสติ หรือไม่รู้สึกตัว

โดยนายแพทย์เอกชัย เพียรศรีวัชรา รองอธิบดีกรมอนามัย ให้คำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ไว้ว่า

  1. นอนตะแคงซ้ายเพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดี
  2. พยายามขยับขาป้องกันลิ่มเลือด
  3. ดื่มน้ำเยอะ ๆ
  4. ไม่นอนตะแคงทางด้านขวาเพราะจะไปกดการไหลเวียนของเส้นเลือดใหญ่
  5. ไม่นอนหงายโดยเฉพาะหญิงที่มีอายุครรภ์มาก ๆ เพราะท้องจะไปยกตัวไปเบียดกระบังลมทำให้หายใจลำบาก
  6. หากต้องการนอนหงายให้วางศีรษะสูงขึ้นจากแนวลำตัว

นอกจากนี้คุณหมอยังบอกอีกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิดไม่จำเป็นต้องผ่าคลอด สามารถคลอดได้โดยวิธีการธรรมชาติ ยกเว้นว่ามีเหตุจำเป็นให้ต้องผ่าคลอด ซึ่งเมื่อคลอดแล้วจะมีการตรวจร่างกายของทารกว่ามีการติดเชื้อร่วมด้วยหรือไม่

หากติดเชื้อมีอาการจะให้รักษาตัวในหอผู้ป่วยเด็ก หากไม่มีอาการสามารถอยู่กับแม่ได้ ส่วนกรณีแม่ติดเชื้อแต่ลูกไม่ติด หากแม่มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ ยังสามารถอุ้มลูกได้โดยสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา

ล้างมือทั้งก่อนและหลังการอุ้ม งดหอมแก้มทุกกรณี ลูกยังสามารถกินนมจากเต้านมได้ แต่ให้ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ดเต้านมก่อน หรือหากแม่มีอาการมาก สามารถปั๊มนมเก็บให้ลูกดื่มได้ “เพราะเชื้อโควิดไม่ได้ส่งผ่านทางน้ำนม”

  • การรักษาคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ติดโควิด

หมอจะไม่แนะนำให้กินยาฟาวิพิราเวียร์ หรือฟ้าทะลายโจร เพราะมีผลต่อทารกในครรภ์ แต่หากมีข้อบ่งชี้ต้องใช้ยา จะฉีดแรมเดซิเวียร์แทน แต่อาจเกิดกรณที่ต้องให้ฟาวิพิราเวียร์แทนได้ แต่จะให้เฉพาะหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ไตรมาสสุดท้ายเท่านั้น

  • สายด่วนสำหรับผู้ป่วยโควิด

โทร. 1330 กด 14 สปสช.

โทร. 1422 กรมควบคุมโรค

โทร. 1745 โครงการลมหายใจเดียวกัน กลุ่ม ปตท. พร้อมรับมือโควิด

โทร. 1668 กรมการแพทย์

โทร. 1669 ศูนย์เอราวัณ สำนักแพทย์

โทร. 1646 ศูนย์บริการแพทย์ฉุกเฉินกทม.

โทร. 1506 ประกันสังคม

โทร. 1323 กรมสุขภาพจิต

โทร. เส้นด้าย-Zendai 081-591-9714 / 080-660-9998

Taxi COVID-19 โรงพยาบาลราชวิถี โทร. 096-771-1687 ตั้งแต่เวลา 09.00-19.00 น.


? ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน The Thaiger

? Google Play Store

? App Store

Lalita C.

นักเขียนคอนเทนต์ SEO แห่งทีมไทยเกอร์ไทย คลุกคลีกับการเขียนตั้งแต่สมัยเรียน ชอบการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ติดตามข่าวสารจากโลกออนไลน์ นำมาสรุป เล่าเรื่องให้เข้าใจง่าย ผ่านมุมมองน่าสนใจที่คนมักจะมองข้าม ทั้งข่าวบันเทิง บทความ งานเขียนแนวไลฟ์สไตล์ รวมถึงทุกอย่างที่อยากให้นักอ่านได้รู้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button