ข่าวเศรษฐกิจ

กระท่อม ได้รับการถอดจากบัญชียาเสพติดเป็นทางการแล้ว เมื่อวานนี้ (24 ส.ค.)

กระท่อม หรือพืชกระท่อม ได้รับการถอดออกจากบัญชียาเสพติด/สารเสพติดอย่างเป็นทางการแล้ว เมื่อวานนี้ (24 ส.ค.) ทำให้สามารถใช้งานในด้านอื่น ๆ ได้

เมื่อวานนี้ (24 ส.ค. 2564) – กระท่อม หรือพืชกระท่อม ได้รับการถอดออกจากบัญชียาเสพติด/สารเสพติดอย่างเป็นทางการแล้ว ภายหลังจากที่มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องในหลานเดือนที่ผ่านมา

นอกจากการถอดตัวกระท่อมแล้วนั้น ยังรวมไปถึงการยกเว้นโทษให้แก่ผู้ที่ทำการปลูก และครอบครองพืชกระท่อม จำนวนนับพันกว่าคนด้วย ยกเว้นผู้ที่ทำการปรุงแต่งตัวพืชให้เป็นสารเสพติดอื่น ๆ เช่น 4X100 เป็นต้น

การเริ่มดำเนินการถอดตัวพืชกระท่อมนั้น เกิดขึ้นเนื่องจากการวิจัยเพื่อต่อยอดการใช้สารมิตราจีนายน์ ( Mitragynine) ในใบกระท่อมเพื่อมาใช้ประโยชน์ทางยาในรูปแบบต่างๆ และได้จดสิทธิบัตรไว้ ทั้งตัวสารและกระบวนการผลิตสารกลุ่มดังกล่าว โดยมหาวิทยาลัยชิบะและมหาวิทยาลัยโจไซ ประเทศญี่ปุ่น

ซึ่งก็ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการเป็นระยะเวลา 5 ปี จนกระทั้งเมื่อวานนี้ที่ได้ทำการถอด และปรับเปลี่ยนกฏหมายที่เกี่ยวข้องเป็นที่เรียบร้อย

โดยจากงานวิจัย ‘บทสรุปพืชกระท่อม’ ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นั้นได้ฉายภาพพืชกระท่อมเป็นสมุนไพรชูกำลัง ทนแดด ลดหวาน แก้ปวด ซึ่งมาจากผลการใช้งานกระท่อมของหมอพื้นบ้านใน 14 จังหวัดภาคใต้

ที่ได้อธิบายไว้ว่า โรค 5 อันดับแรกที่หมอพื้นบ้านเลือกใช้พืชกระท่อมมาเป็นยารักษาโรค ได้แก่ ท้องร่วง, เบาหวาน, ปวดเมื่อย, แก้ไอ, และขับพยาธิ แก้ปวดท้อง นอนไม่หลับ

นอกจากนั้นยังมีการวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระดับมิตราไกนีน (Mitragynine) ในเลือดกับผลกระทบต่อสมรรถภาพสมองของผู้ใช้พืชกระท่อมเป็นประจำ ไม่มีผลต่อการทำงานของสมองที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลด้านความคิดและการรับรู้ ความจำ รวมไปถึงทักษะด้านความคิดเชิงบริหาร การทำงานของสมอง และระบบประสาทอัตโนมัติ

รวมถึงผลการศึกษาทางการแพทย์ทั้งในแผนโบราณ และปัจจุบันที่แสดงให้เห็นว่า กระท่อมมีฤทธิ์เสพติดน้อย แม้จะใช้มานานจนติด แต่การถอนยานั้น ไม่ต่างจากการเลิกกินหมากหรือกาแฟ

 

แหล่งที่มาของข่าว : ผู้จัดการออนไลน์

สามารถติดตามข่าวเศรษฐกิจเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ข่าวเศรษฐกิจ

 

 

N. Siripariyasak

นักเขียนคอนเทนต์ จับประเด็นด้านเศรษฐกิจ-การเงิน, เทคโนโลยี, ไอที และเกมส์ อัปเดตข่าวทั้งจากในประเทศไทย และต่างประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button