วิธีต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ 6 ขั้นตอนง่าย ๆ
- เข้าเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก: เริ่มต้นด้วยการเข้าไปที่เว็บไซต์ eservice.dlt.go.th แล้วลงทะเบียนเพื่อขอรับรหัสผ่าน (ถ้ายังไม่เคยสมัคร)
- กรอกข้อมูลรถยนต์: ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับรถของเรา เช่น เลขทะเบียน รุ่น ปี
- กรอกข้อมูล พ.ร.บ.: ถ้า พ.ร.บ. ของเรายังไม่หมดอายุเกิน 3 เดือน ก็กรอกข้อมูลลงไปด้วยนะ จะได้ต่อภาษีพร้อมกันไปเลย
- เลือกวิธีชำระเงิน: มีหลายช่องทางให้เลือกเลยนะ ทั้งหักบัญชีธนาคาร บัตรเครดิต/เดบิต หรือจะพิมพ์ใบแจ้งแล้วไปจ่ายที่ธนาคารหรือตู้ ATM ก็ได้ สะดวกสุด ๆ!
- รอรับเอกสาร: หลังจากชำระเงินแล้ว กรมการขนส่งทางบกจะส่งใบเสร็จ เครื่องหมายภาษี และกรมธรรม์ พ.ร.บ. มาให้เราทางไปรษณีย์เลย ไม่ต้องไปรับเองให้เสียเวลา
- บันทึกข้อมูล: ขั้นตอนสุดท้าย เอาใบคู่มือจดทะเบียนรถไปบันทึกข้อมูลที่ขนส่งใกล้บ้าน แค่นี้ก็เรียบร้อย
รถที่ต่อภาษีออนไลน์ได้
- รถเก๋ง รถตู้ รถกระบะ และรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล
- รถเก๋ง รถตู้ รถกระบะ จดทะเบียนไม่เกิน 7 ปี
- รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จดทะเบียนไม่เกิน 5 ปี
- เป็นรถจดทะเบียนจังหวัดใดก็ได้
- รถที่ค้างชำระภาษีไม่เกิน 1 ปี และชำระภาษีล่วงหน้าไม่เกิน 3 เดือน
ค่าบริการนิดหน่อย เพื่อความสะดวกสบาย
- ค่าส่งเอกสาร: 32 บาท
- ค่าธรรมเนียมธนาคาร: 20 บาท
- ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต (ถ้ามี): 2% + VAT 7%
จ่ายเงินผ่านธนาคาร/หน่วยงาน ดังนี้
1. บริการหักบัญชีออนไลน์ ได้แก่ ธ.กรุงไทย , ธ.กรุงศรีอยุธยา และ ธ.ยูโอบี
Advertisements
2. บริการชำระด้วยบัตรเครดิตออนไลน์ ได้แก่ ธ.กรุงเทพ และ ธ.กรุงศรีอยุธยา
3. บริการรับชำระตามใบแจ้งชำระภาษีรถ
ที่เคาน์เตอร์ธนาคารบริการ ได้แก่ ธ.กรุงไทย , ธ.กรุงเทพ , ธ.ธนชาต , ธ.ก.ส ,
ธ.ซีไอเอ็มบี ไทย , ธ.กรุงศรีอยุธยา , ธ.ทหารไทย , ธ.ยูโอบี , ธ.ไทยพานิชณ์
บริษัทเคาน์เตอร์เซอร์วิส, ทรู มันนี่ เซอร์วิส และ โลตัส
ชำระที่ตู้ ATM ได้แก่ ธ.กรุงไทย , ธ.ธนชาต , ธ.กรุงเทพ , ธ.ทหารไทย
ธ.ซีไอเอ็มบี ไทย, ธ.กรุงศรีอยุธยา, ธ.ยูโอบี และ ธ.ไทยพาณิชย์
4. บริการรับชำระทางโทรศัพท์มือถือ ได้แก่ ทรู มันนี่ เซอร์วิส
Advertisements
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- สายซิ่งระวัง ไม่จ่ายใบสั่ง ไปต่อภาษีรถยนต์ โดนค่าปรับอ่วม 3 พัน
- ไม่จ่ายใบสั่งความเร็ว โดนอะไรบ้าง ไม่จ่ายค่าปรับต่อภาษีรถยนต์ได้ไหม
- มีใบสั่งค้างชำระ ต่อภาษีรถยนต์ไม่ได้ เริ่ม 1 เม.ย. 66
อ้างอิงจาก : กรมการขนส่งทางบก