เปิดประวัติ ‘โอม ปัณฑพล ประสารราชกิจ’ หรือ โอม นักร้องนำ จากวงค็อกเทล (Cocktail) ย้อนเส้นทางชีวิตจากเด็กเรียนดี สู่การเป็นสุดยอดศิลปินวงป็อปร็อกของไทย
โอม ปัณฑพล ประสารราชกิจ หนึ่งในสมาชิกวงป็อปร็อก ‘ค็อกเทล’ (Cocktail) ศิลปินผู้สร้างสรรค์งานดนตรีที่ฝากผลงานไว้ในใจของผู้ฟังทั่วไทย ไม่ว่าจะเป็นผลงานในด้านการร้อง และถ้อยคำภาษาที่ใช้ในการประพันธ์บทเพลง และจากความสามารถรอบด้านในงานดนตรีได้ส่งผลให้ ‘โอม’ ก้าวขึ้นเป็นศิลปินแนวหน้าในวงการเพลงและประสบความสำเร็จ แต่กว่าเดินทางมาถึงจุดสูงสุด ชีวิตของเขากลับต้องเผชิญจุดพลิกผันมาไม่น้อยเช่นกัน
วันนี้ Thaiger จึงจะพาผู้อ่านทุกท่านไปทำความรูัจักกับ ‘โอม’ ในแง่มุมชีวิตส่วนตัว อะไรที่นำพาให้เขาคนนี้กลายมาเป็นศิลปินในดวงใจของแฟนเพลง รวมถึงผลงานและความสำเร็จตลอดช่วงชีวิตที่ผ่านมาของเขา
เส้นทางชีวิต กว่ามาเป็น ‘โอม Cocktail’
ปัณฑพล ประสารราชกิจ หรือ โอม เกิดวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2528 ปัจจุบันอายุ 38 ปี เกิดในจังหวัดกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย เขาเป็นบุตรชายของ ‘พล.ต.อ. วัชรพล ประสารราชกิจ’ ผู้ดำรงประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กับ ‘รศ.ปิยานันท์ ประสารราชกิจ’ อาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นอกจากนั้นยังมีศักดิ์เป็นหลานของ ‘อนันต์ กรุแก้ว’ อดีตอธิการบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา และเป็นเหลนของพระยาผดุงวิทยาเสริม (กำจัด พลางกูร)
โอมจบการศึกษาจากอนุบาลโรงเรียนอนุบาลจุไรรัตน์ ต่อมาได้เข้าศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นเข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
จบการศึกษาระดับปริญญาตรี รัฐศาสตรบัณฑิต จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาการเมืองการปกครอง และนิติศาสตรบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขากฎหมายมหาชน เกียรตินิยมอันดับ 1 อีกทั้งยังศึกษาระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติปรัชญาและประวัติศาสตร์กฎหมาย
‘โอม’ สมรสกับ ‘เพ็ญ นันท์นภัส ลีลาภิรมย์’ ปัจจุบันมีบุตรสองคน คนแรกชื่อ น้องเวฬา วลัลนา ประสารราชกิจ และคนที่สองชื่อ น้องภีมะ ปัณณ์นภัส ประสาทราชกิจ
โอม ในฐานะ ศิลปินวง Cocktail
โอม เป็นนักร้องนำของวงดนตรีป็อปร็อก ค็อกเทล (Cocktail) และเป็นผู้ประพันธ์และโปรดิวเซอร์เพลงให้กับวง และศิลปินท่านอื่น ๆ อีกทั้งยังเป็นอาจารย์พิเศษด้านนิติศาสตร์ และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งค่ายเพลงยีนแลป ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (G”MM’ GRAMMY) รวมถึงเป็นอาจารย์พิเศษด้านนิติศาสตร์ และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งค่ายเพลงยีนแลป ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
ชีวิตของหนุ่มโอมเติบโตมาท่ามกลางการประสบความสำเร็จของทุกคนทุกคนในครอบครัว เพราะคุณพ่อจบโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ทั้งยังเป็นนักเรียนทุนรัฐบาลจนถึงปริญญาเอก ส่วนคุณแม่เป็นนักเรียนเกียรตินิยม เหรียญทองอันดับ 1 ด้านคุณตาเป็นสถาปนิกที่ได้รับการยอมรับกว้างขวางและเป็นอธิการบดี และทางคุณยายก็เป็นคนที่มีได้รับการชื่นชมจากวงหารแพทย์ เพราะถือเป็นไทยคนแรกที่คิดยารักษาโรคมาลาเรีย
การเติบโตมาเช่นนี้ทำให้หนุ่มเริ่มโอมเริ่มคิดหาแนวทางของตนเอง มองหาสิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่อยู่ในกรอบของครอบครัว และในที่สุดเขาก็ค้นพบว่าตนเองชอบดนตรี
โอมมุ่งมั่นในดนตรีมาตั้งแต่มัธยม
โอมเริ่มทำงานในด้านดนตรีจากการรวมกลุ่มวงดนตรีในขณะที่ยังเรียนอยู่ ณ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โดยในปี พ.ศ. 2545 นับเป็นจุดเริ่มต้นของวงดนตรีค็อกเทล ซึ่งเขาได้ทำงานเป็นนักร้องนำของวง ปัจจุบันค็อกเทล มีผลงานมาแล้วมากมาย รวมแล้วมากกว่า 80 เพลง บทเพลงที่โด่งดังก็อาทิเช่น คุกเข่า, โปรดเถิดรัก, เธอ, คู่ชีวิต, และ ไม่เป็นรอง
นอกจากนั้นโอมยังเป็นนักร้องเดี่ยวในบางโอกาส รวมถึงได้ทำงานในฐานะนักแต่งเนื้อร้อง ทำนอง และเป็นโปรดิวเซอร์ รวมถึงเป็นผู้บริหารค่ายเพลง ยีนแลป (Gene Lab) ซึ่งเป็นต้นสังกัดของวงค็อกเทล
รายชื่อผลงานเพลงของ ‘โอม’ ที่ร่วมกับวง Cocktail
สตูดิโออัลบั้ม
- ค็อกเทล (Cocktail) : พ.ศ. 2545 (อิสระ)
- 36,000 ไมลส์อะเวย์ฟรอมเฮียร์ (36,000 miles away from here) : พ.ศ. 2547 (อิสระ)
- อินเดอะเมโมรีออฟซัมเมอร์โรมานซ์ (In the Memory of Summer Romance) : พ.ศ. 2551 (อิสระ)
- เท็นเทาซันด์เทียส์ (Ten Thousand Tears) : พ.ศ. 2554 (จีนี่ เรคคอร์ด, จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่)
- เดอะลอดส์ออฟมิสเซอรี (The Lords of Misery) : พ.ศ. 2557 (จีนี่ เรคคอร์ด, จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่)
- ค็อกเทล (Cocktail) : พ.ศ. 2562 (จีนี่ เรคคอร์ด, จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่)
- เฟต (Fate) : พ.ศ. 2565 (จีนี่ เรคคอร์ด และยีนแลป, จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่)
อีพีอัลบั้ม
- Inside : พ.ศ. 2546 (อิสระ)
- Final Light : พ.ศ. 2550 (อิสระ)
- วัย : พ.ศ. 2553 (อิสระ)
ซิงเกิลอื่น ๆ
- “งานเต้นรำในคืนพระจันทร์เต็มดวง” เพลงประกอบละครเวทีเรื่อง “The Castle ความตาย ความรัก ความทรงจำ” คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
- “ก่อนจะชนะ” (อัลบั้มไทยเชียร์กีฬาไทย ของกระทรวงท่วงเที่ยวและกีฬา)
- “ข้าน้อยสมควรตาย” (เพลงประกอบภาพยนตร์ ตีสาม คืนสาม 3D) ต้นฉบับ วงบิ๊กแอส
- “หนังสือรุ่น” (เพลงประกอบละครซี่รี่ย์ เพื่อนเฮี้ยน..โรงเรียนหลอน)
- “โลกแห่งความฝัน” (เพลงประกอบละคร จุดนัดฝัน)
- “แต่ปางก่อน” Feat. ปิ่น เดอะสตาร์ (เพลงประกอบละคร แต่ปางก่อน)
- “แค่นี้ก็สุขใจ” (“ยิ่งส่งยิ่งสุข ฉลองครบรอบ 30 ปีบาร์บีคิวพลาซ่า)
- “เธอทำให้ลมเปลี่ยนทิศ” Feat. เจ๋ง บิ๊กแอส และ จ๊ะ เดอะมูสส์
- “สวัสดีเจ้า” (เพลงจากโปรเจกต์ Play 2)
- “งานเต้นรำในคืนพระจันทร์เต็มดวง” (เพลงประกอบละคร ลูกไม้ลายสนธยา)
- “ใกล้ใจ” (เพลงสนับสนุนการอยู่บ้าน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไวรัส โควิด-19)
- “เหนื่อย” (เพลงพิเศษที่เขียนขึ้นจากข้อความจากแฟนเพลง)
- “กอดในใจ” (เพลงจากโปรเจกต์ Gene Lab+ Nadao Music)
- “5 ตุลาฯ” ร่วมกับ จ๋าย ไททศมิตร และ แม็ก เดอะดาร์กเคสต์โรแมนซ์ (เพลงพิเศษจากเรื่องราวในคืนวันที่ 5 ตุลาคม)
- “ไม่เป็นรอง” (เพลงประกอบเกม Nine Songs of Fantasy ตำนานเพลงรักเก้าสวรรค์)
ผลงานเพลงเดี่ยว
- “ทางที่เลือก” ร่วมกับ พงศกร ลิ่มสกุล และ อิทธิพงศ์ กฤดากร ณ อยุธยา
- “เสียงในใจ” ร่วมกับ พัฒน์ชัย ภักดีสู่สุข
- “อย่าหยุดความคิด” (สร้างโดย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์)
- “ฟัง” ร่วมกับ ทศพร อาชวานันทกุล
- “สัญลักษณ์แห่งความภาคภูมิ (Icon Of Dreams) ร่วมกับ วิชญาณี เปียกลิ่น เพลงโดยศูนย์การค้าไอคอนสยาม
- “FHERO” ร่วมกับ ฟักกลิ้งฮีโร่
- “How are you” ร่วมกับ หนึ่งธิดา โสภณ
ประพันธ์เพลง – โปรดิวเซอร์
- โปรดิวเซอร์ “จับฉ่าย” (รวมผลงานนักเรียน นักศึกษา) พ.ศ. 2546
- โปรดิวเซอร์ Survival kits (รวมผลงานนักเรียน นักศึกษา) พ.ศ. 2548
- ทำนอง เพลง “ครั้งสุดท้าย” ศิลปิน Supersub พ.ศ. 2551
- ร่วมแต่งเนื้อร้องเพลง “ดีกว่านี้” ศิลปิน มัสเกตเทียส์ พ.ศ. 2552
- ร่วมแต่งเนื้อร้องและทำนอง เพลง “จะเป็นจะตาย” ศิลปิน สวีตมัลเล็ต พ.ศ. 2556
- ร่วมแต่งเนื้อร้อง เพลง “ทางที่เลือก” ศิลปิน ปัณฑพล และ พงศกร ลิ่มสกุล และ อิทธิพงศ์ กฤดากร ณ อยุธยา พ.ศ. 2556
- ร่วมแต่งเนื้อร้องและทำนอง เพลง ความจริง ศิลปิน The Mousses พ.ศ. 2557
- ร่วมแต่งเนื้อร้องและทำนอง เพลง “เจ็บที่ต้องรู้” ศิลปิน The Mousses พ.ศ. 2558
- เนื้อร้องและทำนอง เพลง “รอย” ศิลปิน โปเตโต้ พ.ศ. 2558
- โปรดิวเซอร์ร่วม เพลง “น้ำตาที่หาย” (พ.ศ. 2558) และเพลง “หลอกให้รัก” (พ.ศ. 2559) ศิลปิน The Mousses
- เนื้อร้องและทำนอง เพลง “หล่อเลย” ศิลปิน พลพล พ.ศ. 2559
- เนื้อร้องและทำนอง เพลง “ฉันไม่รู้” ศิลปิน เบล สุพล พ.ศ. 2560
- ร่วมแต่งเนื้อร้องเพลง “ทรมานตัวเอง” ศิลปิน เบล สุพล พ.ศ. 2561
- เนื้อร้อง – ร่วมแต่งทำนอง – โปรดิวเซอร์ร่วม เพลง “เห็นใจกันพอประมาณ” ศิลปิน กรกันต์ สุทธิโกเศศ พ.ศ. 2561
- เนื้อร้องท่อนปกติ – ทำนอง – โปรดิวเซอร์ เพลง “ไม่มีเธอ ไม่ตาย” ศิลปิน วิชญาณี เปียกลิ่น ร่วมกับ Twopee พ.ศ. 2561
- เนื้อร้อง – ทำนอง – โปรดิวเซอร์ร่วม เพลง “เพราะเธอ” ศิลปิน เบล สุพล ร่วมกับ ปนัดดา เรืองวุฒิ (พ.ศ. 2561)
- เนื้อร้อง – ทำนอง เพลง “รักไปทำไม” ศิลปิน วิชญาณี เปียกลิ่น (พ.ศ. 2562)
ควบคุมการผลิต
เพลงในโครงการ Secret 7 Room พ.ศ. 2563 ซึ่งประกอบไปด้วย
- เพลง “จุดพักใจ” ศิลปิน นิว จิ๋ว และ มิกค์ ทองระย้า
- เพลง “เธอทำให้ฉันไม่มีแฟน” ศิลปิน สุพล พัวศิริรักษ์ และ พีชญา วัฒนามนตรี
- เพลง “จัดสรร” ศิลปิน เจ็ตเซ็ตเตอร์ และ ทัศนียา การสมนุช
- เพลง “”ครั้งหนึ่งในชีวิต” ศิลปิน มารี เออเจนี เลอเลย์ และ ศุกลวัฒน์ คณารศ
- เพลง “มองเห็นแต่ไม่ได้ยิน ศิลปิน ศิริศิลป์ โชติวิจิตร และ อรรคพันธ์ นะมาตร์
โปรดิวเซอร์ ให้กับศิลปินในค่าย ยีนแลป
- เพลง “Hello mama” ศิลปิน ไททศมิตร (ร่วม)
- เพลง “ความโดดเดี่ยว” ศิลปิน เดอะ ดาร์คเคสท์ โรมานซ์ (พิเศษ)
- เพลง “ความเยาว์” ศิลปิน เดอะ ดาร์คเคสท์ โรมานซ์ (พิเศษ)
- เพลง “ฝนตกไหม” ศิลปิน ทรีแมนดาวน์ (พิเศษ)
- เพลง “Amazing Thailand” ศิลปิน ไททศมิตร (พิเศษ)
- เพลง “ไปเถอะเธอ” ศิลปิน ทรีแมนดาวน์ (พิเศษ)
เนื้อร้อง – ทำนอง ให้กับศิลปินในค่าย ยีนแลป
- เพลง “หมาขี้แพ้” โดย “สำราญรื่น”
- เนื้อร้อง – ทำนอง – โปรดิวเซอร์ เพลง “กีดกัน (Skyline)” ศิลปิน พุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุล ประกอบละคร แปลรักฉันด้วยใจเธอ (พ.ศ. 2563)
- โปรดิวเซอร์ เพลง “TASTE ME” ศิลปิน ลาซวัน
- เนื้อร้อง – ทำนอง – ร่วมเรียบเรียงเสียงประสาน – โปรดิวเซอร์ เพลง “ถ้าเธอรักใครคนหนึ่ง” ศิลปิน วรันธร เปานิล เพลงนำภาพยนตร์ บุพเพสันนิวาส
- ร่วมแต่งเนื้อร้องและทำนอง เพลง “ใต้หล้า” ศิลปิน ไททศมิตร พ.ศ. 2565
- ร่วมแต่งเนื้อร้องและทำนอง เพลง “เท่าไหร่ก็ไม่พอ” ศิลปิน เบล สุพล พ.ศ. 2565
- ร่วมแต่งเนื้อร้องและทำนอง เพลง “ถ้าจูบได้เพียงหนึ่งครั้ง” ศิลปิน ลาซวัน พ.ศ. 2565
รางวัล
- ปี 2565 รางวัลThe Guitar Mag Awards 2021 สาขาBest Songwriter Of The Year จากเพลงดึงดัน ฟีเจอริ่งร่วมกับ ตั๊ก ศิริพร
ยุบวง Cocktail
นับเป็นช่วงกว่าสิบปีที่ ‘โอม ปัณฑพล ประสารราชกิจ’ ทำงานเป็นศิลปินในฐานะสมาชิกของวง Cocktail ซึ่งการเดินทางที่แสนยาวนาน และผลงานเพลงอันโด่งดังมากมายก็เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า หนุ่มศิลปินคนนี้มีความสามารถด้านดนตรีมากเพียงใดที่ไม่เพียงแต่การทำงานในฐานะวง แต่ยังรวมไปถีงการทำงานเป็นศิลปิน
แม้จะเป็นเช่นนั้นแต่ทุกการเดินทางย่อมมีจุดสิ้นสุด ไม่ต่างกับที่ทุกการพบเจอก็ต้องมีวันจากลา เพราะในวันนี้ (29 มกราคม 2567) ‘โอม ปัณฑพล ประสารราชกิจ’ หรือ โอม นักร้องนำ จากวงค็อกเทล ได้ออกมาโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Cocktail ประกาศว่า วง COCKTAIL จะสิ้นสุดลงในปี 2025 โดยหลังจากนั้นจะไม่มีการเล่นดนตรีในนามวง COCKTAIL อีก สมาชิกทั้งหมดจะแยกย้ายกันเดินทางไปสู่ช่วงเวลาใหม่ในชีวิต และหนุ่มโอมในฐานะนักร้องนำ ก็จะไม่แสดงดนตรีเป็นอาชีพอีกต่อไปเช่นกัน
อย่างไรก็ดี สำหรับแฟน ๆ ค็อกเทลก็ไม่ต้องเสียใจไป เพาะก่อนถึงวันจากลาสมาชิกทุกคนตั้งใจที่จะใช้เวลาที่มีในฐานะ COCKTAIL อย่างคุ้มค่าที่สุด จะพบปะแฟน ๆ ให้มากเท่าที่จะทำได้ และจะจัดคอนเสิร์ตแบบใกล้ชิดในเดือนพฤษภาคม 2567 นี้ และหลังจากนั้นในปี 2025 ก็จะเข้าสู่คอนเสิร์ตใหญ่และการเดินสายอำลาอย่างเป็นทางการ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง