เหลืออีก 5 วัน เลือกตั้งอบจ.68 วิจารณ์ยับ บัตรลงคะแนน แบ่งสีตามภาค
เลือกตั้งอบจ. 2568 บัตรลงคะแนนแบ่งสีตามภาค สื่อ-นักวิชาการแห่ตั้งคำถาม กกต. จัดเลือกตั้งสุดแปลก นอกจากเลือกตั้งวันเสาร์ คนใช้สิทธิเข้าคูหายังต้องมา “งงหนัก” กับบัตร 8 สีที่ต้องกากบาท
จากากรณี คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดให้วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 เป็นวันเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (นายก อบจ.) ประจำปีที่ใกล้จะมาถึง นับเป็นอีกวันวสำคัญที่จะกำหนดความเป็นอยู่ของประชาชนไปตลอดระยะเวลา 4 ปีข้างหน้า
ทุกคะแนนเสียงที่ถูกกาลงใน “บัตรเลือกตั้งอบจ. 2568” นั้น จะมีผลโดยตรงต่อการบริหารและการพัฒนาท้องถิ่นในทุกด้าน ด้วยเหตุนี้กระแสวิพากษ์วิจารณ์ตลอดจนการจับตาทั้งการเดินหน้าหาเสียงของกลุ่มก้อนการเมืองในพื้นที่และการทำงานขของคณะกดรรมการจัดการเลือกตั้งในพื้นที่จึงเป็นอะไรที่เลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะกับระยะเวลาที่เหลืออีกแค่ 5 วัน ก็จะถึงวันที่ทุกคนได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตัวแทนบริหารงานส่วนท้องถิ่น
ล่าสุดบนโซเชียลมีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องของบัตรเลือกตั้งนายกฯ และสมาชิก อบจ.ปีนี้ “แปลกที่สุด” เพราะสำนักงาน กกต.แบ่งแยกสีตามภูมิภาค อาทิ ภาคกลางใช้สีชมพู ภาคตะวันออกใช้บัตรเลือกตั้งสีเขียว ส่วนภาคเหนือมี 2 บัตรสองสี ได้แก่ สีเหลืองกับ “สีม่วง”
บัตรเลือกตั้งอบจ. 2568 แต่ละภาคบัตรลงคะแนนสีอะไรบ้าง?
- ภาคกลาง = สีชมพู
- ตะวันออก = สีเขียว
- ภาคเหนือ = สีเหลืองกับสีม่วง
- ภาคอีสาน = สีน้ำตาลกับสีเขียวอมฟ้า
- ภาคใต้ = สีแดงเลือดหมูกับสีคราม
นอกจากประเด็นวิจารณ์เรื่องของบัตรเลือกตั้งอบจ. ที่แบ่งเป็น 8 สีตามแต่ละภาคแล้ว ผู้ใช้บัญชีเอ็กซ์รายหนึ่งยังตั้งคำถามผ่านทวิตเตอร์ของไทยพีบีเอสด้วยว่า “ทำไมไม่ให้เลือกตั้งวันอาทิตย์คะ อยากรู้ แล้วคนทำงานวันเสาร์จะไปเลือกได้ยังไง”
กรณีนี้แม้ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ประกาศขอความร่วมมือนายจ้างสถานประกอบกิจการ อนุญาตให้ลูกจ้างเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ ณ หน่วยเลือกตั้งที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีชื่ออยู่ โดยไม่ถือเป็นวันลาหรือวันหยุดก็ตาม
อย่างไรก็ดี พรรณิการ์ วานิช แกนนำคณะก้าวหน้า ตั้งคำถามถึงกกต. โดยมองการเลือกตั้งวันเสาร์อาจกระทบกลุ่ม Voter บางพรรค แต่ขอย้ำความไม่เป็นธรรมต่อพรรคการเมือง ไม่สำคัญเท่า “ความไม่เป็นธรรม” ที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
ด้าน iLaw ยังเปิดข้อมูลเมื่อ #กกต กำหนดให้การเลือกตั้งเป็นวันเสาร์ ทำให้คนที่ต้องทำงานวันเสาร์ไม่สะดวกไปเลือกตั้ง หรือหลายคนไม่สะดวกเดินทางวันศุกร์เพื่อไปเลือกตั้งวันเสาร์ ทำให้มีโอกาสที่การเลือกตั้งครั้งนี้จะมีผู้มาใช้สิทธิน้อย โดยแสวง บุญมี เลขาธิการกกต. เคยคาดการณ์ไว้ว่าจะมีผู้มาใช้สิทธิราว 60-65% ซึ่งใกล้เคียงกับการเลือกอบจ.ในปี 2563
อย่างไรก็ดี เพจไอลอว์เปิดสถิติผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเลือกนายกฯ อบจ. ที่เกิดขึ้นช่วงปลายปี 2567 ทั้ง 29 จังหวัดนั้น “ถือว่าน้อยมาก” ไม่ใกล้เคียงที่นายแสวง บุญมี คาดการณ์ไว้ และหลายจังหวัดผู้มาใช้สิทธิไม่ถึงครึ่งหนึ่งซึ่งเป็นสถิติที่แตกต่างมากจากความตื่นตัวของประชาชนที่ไปสิทธิเลือกตั้งสส. ทั้งในปี 2562 และ 2566
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศให้มีการเลือกตั้ง ส.อบจ.และนายก อบจ. ในวันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 โดยมีจังหวัดที่มีการเลือกตั้งทั้ง ส.อบจ. และ นายก อบจ. จำนวน 47 จังหวัด ประกอบด้วย
ภาคเหนือ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครพนม นครราชสีมา บึงกาฬ บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ศรีสะเกษ สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ
ภาคกลาง นครนายก นครปฐม นนทบุรี พิจิตร ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี
ภาคตะวันออก จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด ปราจีนบุรี ระยอง
ภาคใต้ กระบี่ ตรัง นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา สงขลา สตูล สุราษฎร์ธานี ภาคตะวันตก ประจวบคีรีขันธ์
เลือกตั้งเฉพาะ “ส.อบจ.” 29 จังหวัด ได้แก่
ภาคเหนือ กำแพงเพชร ตาก พะเยา พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย สุรินทร์ อุดรธานี อุบลราชธานี
ภาคกลาง กาญจนบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี สระแก้ว อุทัยธานี อ่างทอง ภาคใต้ ชุมพร นครศรีธรรมราช ระนอง ภาคตะวันตก เพชรบุรี.
อ่านข่าวเพิ่มเติม
- เปิด 17 ข้อพึงระวัง ทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง อบจ. ฝ่าฝืน เจอโทษทั้งจำทั้งปรับ
- วิธีลงทะเบียนแจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิ เลือกตั้ง อบจ. 2568 แบบออนไลน์
- กกต. สั่งสอบคลิปเสียง 20 ล้าน ใช้ในพื้นที่เลือกตั้ง อบจ.ปราจีนบุรี
- สนธิญา ร้อง กกต. สอบ ทักษิณ อ้างสถาบันหาเสียงเลือกตั้ง อบจ.