แบงค์ชาติ สรุปรวม มาตรการช่วยเหลือ จากทุกธนาคารไว้ที่เดียว
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือ แบงค์ชาติ ได้ทำการรวบรวมข้อมูล มาตรการช่วยเหลือ ทางการเงินจากธนาคารต่าง ๆ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งหมดมาไว้ในที่เดียวกัน
เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2564 ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือ แบงค์ชาติ นั้นได้มีการรวบรวมข้อมูลในตัว มาตรการช่วยเหลือ ทางการเงินจากธนาคารต่าง ๆ ที่ได้เปิดดำเนินการในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 มาไว้ในที่เดียว
โดยทางแบงค์ชาติได้ทำการแบ่งมาตรการช่วยเหลือเป็นตามประเภทของธุรกรรม ซึ่งก็พอจะนำมาเสนอในที่นี่ได้คร่าว ๆ ประมาณนี้
- บัตรเครดิต
มาตรการขั้นต่ำ : ผ่อนชำระขั้นต่ำได้ 5% สำหรับปี 2564 หรือแปลงหนี้บัตรเครดิตเป็นสินเชื่อระยะยาว 48 งวด หรือขยายระยะเวลาเพิ่มเติม โดยคิดดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 12
- ธนาคารที่กำหนดอัตราผ่อนชำระบัตรเครดิตขั้นต่ำ 5% จำนวน 11 แห่ง
- ธนาคารที่ลดดอกเบี้ยและขยายระยะเวลา 12% 48 เดือน 5 แห่ง
- ธนาคารที่ลดดอกเบี้ยและขยายระยะเวลา 48 เดือน ตามเงื่อนไขธนาคาร 1 แห่ง
- ธนาคารที่ลดดอกเบี้ยและขยายระยะเวลา 99 เดือน ตามเงื่อนไขธนาคาร 1 แห่ง
- ธนาคารที่ลดดอกเบี้ยและขยายระยะเวลาตามเงื่อนไขธนาคาร 4 แห่ง
- ธนาคารที่พักชำระเงินต้น และ/หรือดอกเบี้ย 2 แห่ง
- สินเชื่อส่วนบุคคล, จำนำทะเบียนรถ
มาตรการขั้นต่ำ : สินเชื่อส่วนบุคคล : เปลี่ยนเป็นสินเชื่อระยะยาว 48 งวด, คิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 22% หรือลดอัตราผ่อนขั้นต่ำ, สินเชื่อส่วนบุคคลที่ผ่อนชำระเป็นงวด หรือสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ ลดค่างวดอย่างน้อย 30%
- ธนาคาร/สถาบันการเงิน ที่พักชำระหนี้ (เงินต้น+ดอกเบี้ย) 3 เดือน 9 แห่ง
- สถาบันการเงินที่พักชำระหนี้ (เงินต้น+ดอกเบี้ย) 4 เดือน 1 แห่ง
- ธนาคาร/สถาบันการเงิน ที่พักชำระหนี้ (เงินต้น+ดอกเบี้ย) 6 เดือน 2 แห่ง
- ธนาคาร/สถาบันการเงิน ที่พักชำระหนี้ (เงินต้น+ดอกเบี้ย) 12 เดือน 2 แห่ง
- ธนาคาร/สถาบันการเงิน ที่ให้สินเชื่อเพิ่ม 3 แห่ง
- ธนาคาร/สถาบันการเงิน ที่พักชำระเงินต้น 7 แห่ง
- ธนาคาร/สถาบันการเงิน ที่ขยายระยะเวลา/เปลี่ยนเป็นสินเชื่อระยะยาว 17 แห่ง
- ธนาคาร/สถาบันการเงิน ที่ลดอัตราผ่อนชำระ/ค่างวด 21 แห่ง
- ธนาคาร/สถาบันการเงิน ที่ลดดอกเบี้ย 16 แห่ง
- สินเชื่อเช่าซื้อ (คนที่กู้รถกับธนาคาร)
มาตรการขั้นต่ำ : เลื่อนชำระค่างวด (เงินต้น+ดอกเบี้ย) 3 เดือน หรือลดค่างวดโดยขยายเวลาชำระหนี้
- ธนาคารที่ทำการพักชำระหนี้ (เงินต้น+ดอกเบี้ย) 3 เดือน 8 แห่ง
- ธนาคารที่ทำการลดค่างวด 8 แห่ง
- ธนาคารที่ทำการลดดอกเบี้ย/เบี้ยปรับ 1 แห่ง
- ธนาคารที่ทำการขยายระยะเวลาในการชำระหนี้ 8 แห่ง
- สินเชื่อเช่าซื้อ (คนที่กู้รถกับสถาบันการเงินอื่น ๆ / Non-bank)
มาตรการขั้นต่ำ : เลื่อนชำระค่างวด (เงินต้น+ดอกเบี้ย) 3 เดือน หรือลดค่างวดโดยขยายเวลาชำระหนี้
- สถาบันการเงินที่ทำการพักชำระหนี้ (เงินต้น+ดอกเบี้ย) 8 แห่ง
- สถาบันการเงินที่ทำพักชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ย 3 แห่ง
- สถาบันการเงินที่ทำรีไฟแนนซ์ 1 แห่ง
- สถาบันการเงินที่ทำลดค่างวด 11 แห่ง
- สถาบันการเงินที่ทำขยายระยะเวลา 10 แห่ง
- สินเชื่อบ้าน
มาตรการขั้นต่ำ : เลื่อนชำระค่างวด (เงินต้น+ดอกเบี้ย) 3 เดือน, เลื่อนชำระเงินต้น 3 เดือน และพิจารณาลดดอกเบี้ย, ลดค่างวดโดยขยายเวลาชำระหนี้
- ธนาคารที่ทำการพักชำระหนี้ เงินต้น+ดอกเบี้ย 13 แห่ง
- ธนาคารที่ทำการลดดอกเบี้ย 9 แห่ง
- ธนาคารที่ทำการพักชำระเงินต้น จ่ายแต่ดอกเบี้ย 13 แห่ง
- ธนาคารที่ทำการ Cash Back 1 แห่ง
- ธนาคารที่ทำการไม่คิดเบี้ยปรับผิดนัด 1 แห่ง
- ธนาคารที่ทำการลดค่างวด 12 แห่ง
- ธนาคารที่ทำการขยายระยะเวลา 10 แห่ง
- สินเชื่อสำหรับ SMEs และ Micro-Nanofinance
มาตรการขั้นต่ำ : พักหนี้ (เงินต้น+ดอกเบี้ย), พักชำระเงินต้น, ลดดอกเบี้ย / ลดค่างวด, ขยายระยะเวลา, ผ่อนปรนเงื่อนไข, ให้สินเชื่อเพิ่ม
- ธนาคาร/สถาบันการเงินที่ทำการพักหนี้ (เงินต้น+ดอกเบี้ย) 9 แห่ง
- ธนาคาร/สถาบันการเงินที่ทำการพักชำระเงินต้น 10 แห่ง
- ธนาคาร/สถาบันการเงินที่ทำการลดดอกเบี้ย 5 แห่ง
- ธนาคาร/สถาบันการเงินที่ทำการลดค่างวด 8 แห่ง
- ธนาคาร/สถาบันการเงินที่ทำการขยายระยะเวลา 6 แห่ง
- ธนาคาร/สถาบันการเงินที่ทำการผ่อนปรนเงื่อนไข 6 แห่ง
- ธนาคาร/สถาบันการเงินที่ทำการให้สินเชื่อเพิ่ม 8 แห่ง
สำหรับผู้ที่มีความประสงค์ต้องการรับมาตรการช่วยเหลือเหล่านี้สามารถทำการติดต่อกับธนาคาร และสถานบันการเงินเหล่านี้ได้ตามช่องทางที่ปรากฏดังนี้
นอกจากนี้แล้วทางแบงค์ชาติเองก็ยังได้มีการออกมาตรการช่วยเหลือของตัวเองมาด้วยเช่นกัน ซึ่งก็มีด้วยกันตามแผนภาพดังนี้
สามารถศึกษาข้อมูลของมาตรการต่าง ๆ ที่ได้มีการรวบรวมไว้ได้ : ที่นี่
สามารถติดตามข่าวการเงินเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ข่าวการเงิน