อีเว้นท์ไลฟ์สไตล์

21 ตุลาคม 2565 วันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

วันที่ 21 ตุลาคม 2565 วันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จย่า ผู้ทรงเห็นความสำคัญของงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข

วงการแพทย์และสาธารณสุข เป็นอีกหนึ่งสายอาชีพที่มีความสำคัญตอการขับเคลื่อนประเทศเป็นอย่างมาก และหนึ่งในผู้ที่ให้ความสำคัญในด้านนี้มากที่สุดนั่นก็คือ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า ที่ในวันที่ 21 ตุลาคม 2565 นี้ก็จะครบรอบ 122 ปี วันคล้ายวันพระราชสมภพ ของท่านด้วยเช่นกัน

พระราชประวัติ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีพระนามเดิมว่า “สังวาลย์” เสด็จพระราชสมภพที่เมืองนนทบุรี ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2443 ตรงกับวันอาทิตย์ แรม 13 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด เป็นบุตรคนที่สามในพระชนกชื่อ ชู และพระชนนีชื่อ คำ

การศึกษา

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเรียนหนังสือเมื่อเริ่มแรกกับพระชนนี ต่อมาทรงเข้าเรียนในโรงเรียนสำหรับเด็กหญิงที่ตั้งขึ้นที่วัดอนงคาราม ได้เสด็จไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนสตรีวิทยาจนถึงปี พ.ศ.2456 ทรงจบชั้นประถมปีที่ 3 และได้ทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงพยาบาลแห่งศิริราช ซึ่งเป็นโรงเรียนพยาบาลแห่งเดียวในประเทศไทยในขณะนั้น

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเป็นนักเรียนที่มีอายุน้อยที่สุดในรุ่นของพระองค์ซึ่งมีจำนวนเพียง 14 คน พระองค์ทรงเรียนได้ดีและทรงศึกษาสำเร็จภายใน 3 ปี และทรงทำงานต่อที่โรงพยาบาลศิริราช

เสด็จประเทศสหรัฐอเมริกา

ในช่วงเวลาที่พระองค์ทรงศึกษาและฝึกหัดการพยาบาลอยู่นั้น ได้มีความพยายามปรับปรุงกิจการแพทย์และการสาธารณสุขในประเทศไทย เพื่อให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ส่วนหนึ่งคือการตระเตรียมครู ทั้งฝ่ายแพทย์และพยาบาล เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการฝึกหัดแพทย์และพยาบาลต่อไป

ในปี พ.ศ. 2460 ทรงได้รับทุนให้ไปเรียนวิชาพยาบาลเพิ่มเติมที่ประเทศสหรัฐอเมริกา พร้อมกับนางอุบล ลิปิธรรมศรีพยัตต์ (ขณะนั้น คือนางสาวอุบล ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา)

21 ตุลาคม สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
wikipedia

ทรงหมั้น อภิเษกสมรส พระราชธิดา และพระราชโอรส

ในการเสด็จไปเรียนที่สหรัฐอเมริกาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และนางสาวอุบล ได้พำนักอยู่กับครอบครัวสตรองที่เมืองฮาร์ตฟอร์ด มลรัฐคอนเน็คติกัต และเข้าเรียนภาษาอังกฤษที่โรงเรียนนอร์ธเวสเทิร์น (North Western) เพื่อฝึกฝนทักษะการพูด การอ่าน และการเขียนภาษาอังกฤษให้ชำนาญก่อนเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย

สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงห่วงใย และมักเสด็จมาเยี่ยมนักเรียนหญิงทั้งสองคนในวันอาทิตย์ และเมื่อเวลาผ่านไป สมเด็จพระบรมราชชนกทรงพอพระทัยในสมเด็จพระบรมราชชนนีมากขึ้นทั้งในพระสิริโฉมและพระอุปนิสัย ความรู้ความสามารถ ความเฉลียวฉลาด รวมทั้งพระคุณสมบัติอื่น ๆ

ในที่สุดได้ทรงมีลายพระราชหัตถ์ กราบบังคมทูลสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระราชมารดา ขอพระราชทานพระราชานุญาตหมั้น “นางสาวสังวาลย์ ตะละภัฏ” เมื่อทรงได้รับอนุญาต จึงทรงหมั้น “นางสาวสังวาลย์” อย่างเงียบ ๆ ในปีพ.ศ. 2462 ต่อมาเมื่อวันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2463 ทรงจัดพิธีอภิเษกสมรสที่วังสระปทุม ซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

21 ตุลาคม สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
wikipedia

ระหว่างนั้นสมเด็จพระบรมราชชนนี ได้ประสูติพระราชธิดาพระองค์แรก คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ พระราชธิดาได้รับพระราชทานพระนามจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “หม่อมเจ้ากัลยาณิวัฒนา มหิดล”

ต่อมาทั้งสามพระองค์เสด็จกลับประเทศไทย ในปี 2466 แต่เนื่องด้วยสมเด็จพระบรมราชชนก ทรงมีพระพลานามัยทรุดโทรม แพทย์ถวายความเห็นให้เสด็จไปรักษาพระองค์ในต่างประเทศ

ในการเสด็จยุโรปครั้งนี้ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีและพระราชธิดาได้ตามเสด็จไปประทับที่เมืองไฮเดลเบอร์ก ประเทศเยอรมัน ที่ซึ่งสมเด็จพระบรมราชชนนีได้ประสูติพระราชโอรสพระองค์แรกเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระนามว่า “หม่อมเจ้าอานันนทมหิดล”

ต่อมาในปี พ.ศ. 2469 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีพร้อมด้วยพระราชโอรสพระราชธิดาได้ตามเสด็จสมเด็จพระบรมราชชนก ไปสหรัฐอเมริกา เพื่อทรงศึกษาวิชาการแพทย์ต่อที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และที่ประเทศสหรัฐอเมริกานี้ พระโอรสพระองค์ที่สอง และได้ให้กำเนิด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 พระราชทานพระนามว่า “พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช”

21 ตุลาคม สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
wikipedia

สมเด็จพระราชชนนี

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสละราชสมบัติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงได้มีมติเห็นชอบตามกฎมณเฑียรบาลให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ซึ่งในขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา ขึ้นสืบพระราชสันตติวงศ์ต่อไป

เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ประกาศสถาปนาพระอิสริยยศพระราชชนนีเป็น สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์[31] นอกจากนั้นพระองค์ยังพระราชทานเงินส่วนพระองค์สร้างโรงพยาบาลอานันทมหิดล จังหวัดลพบุรี สร้างสุขศาลา จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2481

ระหว่างพ.ศ. 2503 – 2504 อันเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงเสด็จพระราชโดยดำเนินเยือนยุโรปและสหรัฐอเมริกาพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

นับได้ว่าสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงเป็นผู้สำเร็จราชแผ่นดินที่เป็นสตรีพระองค์ที่ 3 นับเนื่องจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

21 ตุลาคม สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
wikipedia

พระราชกรณียกิจ

ด้านการแพทย์และการสาธารณสุข

1. จัดให้มีการประชุมอาสาสมัครเหล่านี้ขึ้นเป็นครั้งแรกที่พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งผลการประชุมในครั้งนี้ได้ก่อให้เกิด “หน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์” ปัจจุบันคือหน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

2. มูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จัดตั้งเมื่อ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2535 เพื่อทำขาเทียมและพระราชทานให้แก่ผู้พิการขาขาดที่ยากจนในชนบท ทรงก่อตั้งร่วมกับสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

3. มูลนิธิถันยรักษ์ ที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2538 เพื่อใช้เป็นสถานที่ตรวจวินิจฉัยเต้านม

ด้านการศึกษา

ทรงสนพระทัยในเรื่องการศึกษาของเยาวชนในเขตชนบทเป็นอย่างมากด้วยทรงมีพระราชดำริว่าการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เยาวชนในชนบท มีความรู้ความคิดและสติปัญญาที่เฉลียวฉลาดอันจะเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาชนบท

เมื่อพระองค์ทราบว่ากองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ได้กำหนดโครงการที่จะจัดสร้างโรงเรียนชาวเขาขึ้นในเขตพื้นที่ตามแนวชายแดนที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจึงได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้แก่กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อนำไปจัดสร้างโรงเรียนจำนวน 29 แห่งภายหลังผู้มีจิตศรัทธาได้ทูลเกล้า

ยังได้ทรงรับเอาโครงการของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนไว้ในพระราชูปถัมภ์ ในปัจจุบันมีโรงเรียนเกือบ 400 โรงเรียน ซึ่งโรงเรียนเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วได้ถูกโอนเข้าไปสังกัดในส่วนงานการประถมศึกษา และในปัจจุบันทรงได้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงช่วยดูแลโครงการนี้แทน

21 ตุลาคม สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

ด้านสังคมสงเคราะห์

ทรงมีพระราชดำริว่า สตรีไทยที่เป็นแม่บ้านก็สามารถจะให้ความช่วยเหลือในกิจการสังคมสงเคราะห์ได้ เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ดังนั้นในปีพ.ศ. 2475 ขณะที่พระองค์พระประทับอยู่ ณ พระตำหนักใหม่ในวังสระปทุม ทรงตั้งคณะเย็บผ้าตามแบบสตรีอเมริกัน เริ่มด้วยการเย็บเสื้อของตัวเอง ต่อมาได้เย็บเสื้อผ้าให้เด็กอนาถาตามโรงพยาบาล

ต่อมาในปีพ.ศ. 2510 ทรงตั้งมูลนิธิสงเคราะห์ตำรวจตระเวนชายแดนและครอบครัว ได้พระราชทานทุนริเริ่มเป็นจำนวนเงินหนึ่งล้านบาท และทรงรับมูลนิธินี้ไว้ในพระอุปถัมภ์ พ.ศ. 2511 ได้ทรงรับมูลนิธิชีวิตใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ไว้ในพระอุปถัมภ์ มูลนิธินี้มีวัตถุประสงค์จะช่วยจัดตั้งหมู่บ้านตามชนบทของประเทศไทย

ในด้านการสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชูปถัมภ์และทรงจำหน่ายดอกป๊อปปี้ด้วยพระองค์เอง เพื่อเป็นรายได้สงเคราะห์แก่ทหารผ่านศึก

ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นพระราชวงศ์ที่โปรดธรรมชาติมาก ทรงสร้างพระตำหนักดอยตุง ขึ้นบริเวณดอยตุง เนื้อที่ 29 ไร่ 3 งาน ที่บ้านอีก้อป่ากล้วย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เอง

พระองค์ทรงพระราชดำริที่ว่า “ฉันจะปลูกป่าบนดอยตุง” เป็นพระราชปณิธานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีที่ทรงต้องการทอดพระเนตรเห็นความเขียวชอุ่มและความสมบูรณ์ของสภาพป่าบนดอยตุงพระราชดำรินี้รัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีจึงได้ก่อตั้งโครงการพัฒนาดอยตุงขึ้น ในปี พ.ศ. 2531

ทรงพระราชทานกล้าไม้แก่ผู้ตามเสด็จ และทรงปลูกป่าด้วยพระองค์เอง และทรงนำเมล็ดกาแฟพันธุ์อาราบิกา และไม้ดอกมาปลูก และทรงตั้งโครงการขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหน่อไม้ฝรั่ง กล้วย กล้วยไม้ เห็ดหลินจือ สตรอเบอรี่ และจัดตั้งศูนย์บำบัด และฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ที่บ้านผาหมี

จากพระราชอุตสาหดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีสภาพสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ความเป็นป่าได้เกิดชาวบ้านหันมาให้ความร่วมมือกับราชการเพื่อฟื้นฟูสภาพป่าอย่างเป็นระบบ ให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์ตามเดิม

ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงได้รับขนานนามว่า สมเด็จย่า จากชาวไทยบนพื้นราบหรือ แม่ฟ้าหลวง จากชาวไทยภูเขา

21 ตุลาคม สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

สมเด็จพระบรมราชชนนี ได้ทรงงานในชนบทมาอย่างต่อเนื่องจนถึงวาระสุดท้ายของพระชนม์ชีพ แม้ทรงพระประชวรโรคพระหทัย และเสด็จเข้ารักษาพระองค์ที่โรงพยาบาลศิริราชเมื่อ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2538 เสด็จสวรรคต เมื่อวันอังคารที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 รวมพระชนมายุ 94 พรรษา 8 เดือน 27 วัน

ขอบคุณข้อมูล 1 2

21 ตุลาคม สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

สนใจลงโฆษณา บทความ Backlink กับ Thaiger ติดต่อคุณโอ๋ orakarn@thethaiger.com

baesittichot

นักเขียนสายฮาอารมณ์ดี ไลฟ์สไตล์ เรื่องน่ารู้ทั่วไป ตามติดเทรนด์ฮิตที่ห้ามพลาด อัปเดตข่าวเศรษฐกิจ การเงิน ประสบการณ์งานเขียนมากกว่า 1 ปี ชอบเม้าท์มอย ส่งต่อเรื่องราวน่าสนใจผ่านตัวอักษร ผลงานทุกชิ้นจึงเป็นเหมือน 'เพื่อน' ที่อยากเล่าสิ่ง ๆ ต่างให้คุณได้รู้เป็นคนแรกเสมอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button