ผู้ชายผู้หญิงไลฟ์สไตล์

วิธีปฐมพยาบาล ช่วยชีวิต เมื่ออาหารติดหลอดลม เตรียมพร้อมรับมือเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง

วิธีปฐมพยาบาล ช่วยชีวิต เมื่ออาหารติดหลอดลม ถือเป็นหนึ่งเรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม เพราะเมื่อมีเหตุด่วนเหตุร้าย จะได้นำมาใช้ประโยชน์ได้ทันท่วงที วันนี้ The Thaiger จึงไม่รอช้า รีบพาทุกคนไปเรียนรู้ วิธีช่วยชีวิตเมื่ออาหารติดคอ ทั้งแบบช่วยเหลือผู้อื่น และช่วยเหลือตัวเองเมื่ออยู่คนเดียว ว่าแต่จะมีกี่ขั้นตอน และต้องทำยังไงบ้าง ไปดูพร้อมกันเลย

วิธีปฐมพยาบาล ช่วยชีวิต เมื่ออาหารติดหลอดลม ภัยเงียบจากอาหารติดคอ ใกล้ตัวกว่าที่คิด

วิธีปฐมพยาบาล ช่วยชีวิต เมื่ออาหารติดหลอดลม ภัยเงียบจากอาหารติดคอ ใกล้ตัวกว่าที่คิด

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่ออาหารติดหลอดลม มีกี่ขั้นตอน ทำยังไงอย่างไรบ้าง

การช่วยชีวิตหรือปฐมพยาบาล สำหรับผู้ที่มีอาการอาหารติดคอนั้น มีด้วยกัน 2 รูปแบบ ได้แก่ การปฐมพยาบาล ช่วยเหลือผู้อื่นที่อาหารติดหลอดลม และการปฐมพยาบาล ช่วยเหลือตัวเองกรณีอยู่คนเดียว โดยมีรายละเอียดขั้นตอนแยกย่อย ดังต่อไปนี้

1. การปฐมพยาบาล ช่วยเหลือผู้อื่นที่อาหารติดหลอดลม
หากพบเห็นความผิดปกติว่าบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดมีอาการอาหารติดคอ ให้สังเกตว่าอีกฝ่ายสามารถไอเพื่อขับอาหารออกทางปากได้เองหรือไม่ ซึ่งหากผู้ที่ประสบปัญหาอาหารติดคอ ไม่สามารถทำได้ ให้เริ่มปฏิบัติการปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยการไปยืนด้านหลังผู้ป่วย วางเท้าตรงระหว่างเท้าทั้งสองข้างของผู้ป่วย จากนั้นกำมือประสานลงที่ท้องของผู้ป่วยบริเวณเหนือสะดือ-ใต้ลิ้นปี่ แล้วให้ทำการออกแรงกระทุ้งดันขึ้นด้านบน รอบละ 5 ครั้ง หากยังไม่สำเร็จให้ทำต่อไปเรื่อย ๆ พร้อมประสานงานกับทาง 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือต่อไป

2. การปฐมพยาบาล ช่วยเหลือตัวเองกรณีอยู่คนเดียว เมื่ออาหารติดคอ
เมื่อมีอาการอาหารติดคอ สิ่งแรกที่ผู้ป่วยควรทำเมื่ออยู่คนเดียวคือ รีบกำหมัดข้างหนึ่งวางตรงเหนือสะดือ-ใต้ลิ้นปี่ จากนั้นให้ใช้มืออีกข้างจับมือที่กำหมัดไว้แล้วก้มหัวให้มือพาดขอบแข็งๆ เช่น พนักเก้าอี้ แล้วก้มตัวลงแรง ๆ ให้เกิดการกระแทกจากหมัดขึ้นด้านบนซ้ำ ๆ จนกว่าอาหารจะหลุดออกมา

การดูแลป้องกัน ไม่ให้อาหารติดหลอดลม

วิธีปฐมพยาบาล เมื่อเกิดอาการสำลัก อาหารติดหลอดลมเป็นอย่างไร ?

ข้อสังเกต สำหรับอาการเบื้องต้น ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์อาหารติดหลอดลม ผู้ป่วยมักจะแสดงอาการบางประการ ดังนี้

  • พูดคุยตอบสนองไม่ได้
  • ไม่สามารถไอออกมาแรง ๆ ได้
  • หายใจไม่สะดวก หรือหายใจเร็วและดังเกินไป
  • ผิวหนังและขอบปากเริ่มเปลี่ยนสี
  • ขาดสติ อาจไม่รับรู้สิ่งรอบตัว

การดูแลป้องกัน ไม่ให้อาหารติดหลอดลม

การดูแลป้องกัน ไม่ให้อาหารติดหลอดลม

สำหรับการป้องกัน ไม่ให้เกิดเรื่องน่าเศร้า ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากอาหารติดหลอดลมนั้น สามารถทำได้หลายวิธี เริ่มตั้งแต่ การเลี้ยงดูลูกที่อายุน้อยกว่า 12 ปีด้วยความระมัดระวังอย่างใกล้ชิด อบรมคนที่อายุน้อยกว่าไม่ให้นำสิ่งแปลกปลอมเข้าปาก ห้ามไม่ให้หัวเราะระหว่างรับประทานอาหาร ระวังเรื่องของเศษกระดูกหรือก้างปลา เมื่อทานผลไม้ต้องระวังไม่ทานเมล็ด ในกรณีเด็กเล็กหรือผู้สูงอายุที่ไม่มีฟัน ต้องระวังเรื่องของการเคี้ยวอาหารที่ไม่ละเอียดให้ดีเป็นพิเศษ

จบกันไปแล้วนะคะ สำหรับเรื่องดี ๆ อย่าง วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น ช่วยชีวิต เมื่ออาหารติดหลอดลม ที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ เชื่อว่า นี่อาจเป็นหนึ่งในเรื่องใกล้ตัว ที่ใครหลายคนมักจะมองข้ามไป ส่วนคราวหน้า The Thaiger จะมีเรื่องราวสาระดี ๆ อะไรมาฝากกันอีก ก็อย่าลืมรอติดตามกันด้วยนะ ?

อ้างอิง 1 2

Eye Chanoknun

นักเขียนประจำ Thaiger จบจากคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีประสบการณ์เขียนงานผ่านเว็บไซต์ด้านความงามและแฟชั่นชื่อดังของไทยมากกว่า 3 ปี ปัจจุบันชื่นชอบการเขียนข่าวบันเทิง ภาพยนตร์ ซีรีส์ k-pop และไลฟ์สไตล์ เพื่อนำมาบอกเล่าผ่านตัวอักษร ด้วยมุมมองใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ ชวนให้ติดตาม ช่องทางติดต่อ eye@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button