การเงินเศรษฐกิจ

ญี่ปุ่น เตรียมใช้ธนบัตรแบบใหม่ 3 ราคา เริ่มวันแรก 3 ก.ค. 67

ธนาคาแห่งชาติญี่ปุ่น เตรียมใช้ธนบัตรที่ออกแบบใหม่ในรอบ 20 ปี จำนวน 3 ราคา อัดฉีดเข้าสู่ระบบการเงิน พร้อมเทคโนโลยีโฮโลแกรม 3 มิติครั้งแรกของโลก คาดเริ่มใช้วันแรก 3 กรกฎาคม 2567

สำนักข่าว Nikkei Asia รายงาน กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น ประกาศ รัฐบาลจะเริ่มใช้งานธนบัตร 10,000 เยน (ประมาณ 2,454 บาท) 5,000 เยน (ประมาณ 1,227 บาท) และ 1,000 เยน (ประมาณ 245 บาท) ที่ได้รับการออกแบบใหม่ทั้งหมด ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2567 ถือว่าเป็นใช้ธนบัตรรุ่นใหม่ในรอบ 20 ปี แม้ว่าจะมีธนบัตรรุ่นใหม่เติมเข้าสู่ระบบการเงินของญี่ปุ่น แต่ธนบัตรที่เคยใช้อยู่แล้วยังคงมีมูลค่า และสามารถใช้ชำระหนี้รวมถึงใช้จ่ายได้ตามกฎหมาย

สำหรับลวดลายใหม่ของธนบัตรชุดนี้ ประกอบไปด้วย ธนบัตรชนิด 10,000 เยน ด้านหน้าจะเป็นรูปของ เออิชิ ชิบุซาวะ บิดาแห่งทุนนิยมของญี่ปุ่น ส่วนด้านหลังจะเป็นภาพของสถานีรถไฟฟ้าโตเกียว

ธนบัตรออกแบบใหม่ มูลค่า 10,000 เยน
ภาพจาก : Bank of Japan (BOJ)

ธนบัตรชนิด 5,000 เยน ด้านหน้าจะเป็นรูปของ อูเมโกะ สึดะ นักการศึกษา ผู้บุกเบิกการศึกษาระดับอุดมศึกษาของสตรี ส่วนด้านหลังจะเป็นภาพดอกวิสทีเรียญี่ปุ่น

ธนบัตรออกแบบใหม่ มูลค่า 5,000 เยน
ภาพจาก : Bank of Japan (BOJ)

ธนบัตรชนิด 1,000 เยน ด้านหน้าจะเป็นรูปของ ชิบาซาบุโระ คิตะซาโตะ นักจุลชีววิทยา ผู้พัฒนาเซรั่มรักษาโรคบาดทะยัก ส่วนด้านหลังคือภาพวาดภูเขาไฟฟูจิ โดยศิลปินผู้วาดภาพ อุคิโยเอะ คัตสึชิกะ โฮคุไซ

ธนบัตรออกแบบใหม่ มูลค่า 1,000 เยน
ภาพจาก : Bank of Japan (BOJ)

ซึ่งธนบัตรรุ่นใหม่ทั้ง 3 ชนิดนี้ จะมีการพิมพ์โฮโลแกรม 3 มิติลงในธนบัตร เพื่อป้องกันการปลอมแปลงในอนาคต ถือว่าเป็นประเทศแรก ๆ ในโลกที่นำนวัตกรรมนี้มาใช้ในธนบัตร

ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้ระบุเพิ่มเติมว่า เมื่อเดือนธันวาคมของปี 2565 มีการหมุนเวียธนบัตรจำนวน 18.59 พันล้านฉบับ ซึ่งหากวางเรียงรายเป็นแนวนอน จะยาวกว่าระยะทางจากดวงจันทร์ไปโลกถึง 8 เท่า

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Best Writer

นักเขียนบทความประจำ Thaiger จบการศึกษาจากคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย มีความเชียวชาญด้านวงการเพลงไทย ภาพยนตร์ อนิเมะ ชื่นชมติดตามข่าวสารสังคม กีฬา เทคโนโลยี แตกประเด็น สรุปเรื่องราวมาร้อยเรียงผ่านข้อความสู่สายตาผู้อ่าน ช่องทางติดต่อ best.t@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button