การเงิน

STARK จ่อยื่น “อนุญาโตตุลาการเยอรมนี” ค้าน 2 บริษัท

บริษัท สตาร์ค STARK แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ เตรียมยื่นอนุญาโตตุลาการในเยอรมนี ค้านปม LEONI AG และ LEONI Bordnetz-Systeme GmbH

วันที่ 12 มิถุนายน 2566 “บริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)” หรือ STARK แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ถึงข้อมูลเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ อ้างอิงถึงหนังสือแจ้งข่าวต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยของบริษัท เรื่องการใช้สิทธิเพิกถอนของบริษัท ในฐานะผู้ซื้อภายใต้สัญญาซื้อขายหุ้นระหว่างบริษัทกับ LEONI AG และ LEONI Bordnetz-Systeme Gmb H (สัญญาซื้อขายหุ้น) ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2565

สืบเนื่องจากการใช้สิทธิเพิกถอนสัญญาซื้อขายหุ้น เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2566 LEONI AG และ LEONI Bordnetz-Systeme GmbH (รวมเรียกว่า “ผู้เรียกร้อง” ได้ยื่นเสนอข้อพิพาทเกี่ยวกับการใช้สิทธิเพิกถอนสัญญาซื้อขายหุ้นดังกล่าวต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการแห่งประเทศเยอรมนี (German Arbitration Institute (DIS)

ทั้งนี้ ผู้เรียกร้องได้ประเมินจำนวนเงินที่เรียกร้องรวมเป็นจำนวน 608,000,000 ยูโร (หรือประมาณ 22,619 ล้านบาท) โดยภายใต้ข้อเรียกร้องดังกล่าวผู้เรียกร้องอ้างว่าบริษัทได้ละเมิดภาระผูกพันตามสัญญาซื้อขายหุ้น และเรียกร้องให้บริษัทชำระราคาซื้อขายหุ้นภายใต้สัญญาซื้อขายหุ้นเป็นจำนวนเงิน 598,000,000 ยูโร (หรือประมาณ 22,247 ล้านบาท พร้อมทั้งชำระค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นจำนวน 10,000,000 ยูโร (หรือประมาณ 372 ล้านบาท)

ในการนี้ที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัทได้มีมติเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2566 รับทราบให้บริษัทเข้าดำเนินกระบวนการพิจารณาข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการดังกล่าว เพื่อปกป้องผลประโยชน์โดยชอบของบริษัท และอนุมัติให้ดำเนินการยื่นคำคัดค้านต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการแห่งประเทศเยอรมนี (German Arbitration Institute (DIS) ซึ่งบริษัทคาดว่าจะดำเนินการยื่นคำคัดค้านดังกล่าวในวันที่ 19 มิถุนายน 2566

หากมีความคืบหน้าอันเป็นสาระสำคัญประการใดเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการข้างต้นบริษัทจะรายงานให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทราบต่อไป.

STARK ศาลอณุญาโตตุลาการเยอรมนี

ทั้งนี้ นางสาวอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เคยกล่าวถึงประเด็นการผิดนัดชำระหนี้ของบริษัท สตาร์คฯ ว่าจะไม่กระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุน บริษัทที่มีเครดิตเรตติ้งระดับสูงสะท้อนว่ามีความมั่นคงทางการเงินสูง และมีความสามารถในการชำระหนี้ให้นักลงทุนได้ จากเกณฑ์การให้เครดิตเรตติ้งของบริษัทจัดอันดับที่พิจารณาจากสถานะทางการเงินของบริษัทเป็นหลัก

อย่างไรก็ดี การผิดนัดชำระหนี้ของหุ้นกู้ STARK ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นนักลงทุนในบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่ไม่มีเครดิตเรตติ้งหรือมีเครดิตเรตติ้งต่ำ จากมีความกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการชำระหนี้ สะท้อนจากนักลงทุนให้ความสนใจลดลง จะเห็นได้จากมียอดจองซื้อหุ้นกู้ไม่คึกคักเมื่อเทียบกับอดีต

รองกรรมการผจก. สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ยังกล่าวถึงเครดิตเรตติ้งของหุ้นกู้ด้วยว่ายังเป็นองค์ประกอบสำคัญในการช่วยตัดสินใจลงทุนอยู่

แม้ว่าเหตุการณ์ล่าสุดจะเห็นว่า เคสของ STARK ก่อนหน้านี้ก็มีเครดิตเรตติ้งเป็น “Investment Grade” แต่การจัดอันดับไม่ได้เป็นส่วนทั้งหมดของการพิจารณาลงทุน เพราะไม่ได้สะท้อนถึงปัญหาของการบริหารงาน ความตรงไปตรงมา และธรรมาภิบาลของบริษัท เพราะฉะนั้น นอกจากจะดูตัวบริษัท และฐานะการเงิน รายได้ กำไร และภาพรวมอุตสาหกรรม ที่เห็นได้จากงบการเงินแล้ว ยังต้องพิจารณาจากประวัติของบริษัท การดำเนินธุรกิจ และที่มาของผู้บริหารเพิ่มเติมด้วย.

 

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button